Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
"Prime Nature Villa"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Social & Double Security จาก QH
Living Style by Sansiri

   
search resources

Real Estate
สุนัทที เนื่องจำนงค์
ไพร์ม เนเจอร์ วิลล่า, บจก.
ปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์




ข้อมูลจากบริษัทมาร์เก็ตเซอร์เวย์ ที่สุนัทที เนื่องจำนงค์ ได้มาก็คือในย่านนี้ต้องทำบ้านเดี่ยวพื้นที่ 80-100 ตารางวา ราคา 5-7 ล้านบาทเท่านั้นถึงจะขายได้ แต่เธอไม่เชื่อ คฤหาสน์ริมทะเลสาบราคา 10 กว่าล้านจนถึง 100 ล้าน ในโครงการไพร์มเนเจอร์ วิลล่า จึงเกิดขึ้น

พื้นที่เบื้องหน้าคือบึงน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่เกือบ 100 ไร่ โอบล้อมด้วยที่ดินอีกเกือบ 200 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินสโลปลงมาจรดผืนน้ำ คือที่ตั้งของ โครงการไพร์มเนเจอร์ ในย่านลาดกระบัง

"ตอนคิดจะทำโครงการ เราก็จ้างบริษัทมาทำมาร์เก็ตเซอร์เวย์ถึง 3 รอบ ตัวเลขก็ออกมาตรงกันว่าความต้องการซื้ออยู่ที่บ้านหลังเล็กๆ ราคาประมาณ 5-7 ล้านบาท ก็สงสัยนะ เพราะเวลาเรารีเสิร์ชเองกับกลุ่มเพื่อนฝูง เขาต้องการแปลงละ 2-3 ไร่กันทั้งนั้น เลยตัดสินใจทำแปลงละ 1-2 ไร่ แล้วใครอยากรวมแปลงก็รวม"

สุนัททีเริ่มต้นเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง เพื่อความ มั่นใจเธอได้ปรึกษาร่วมกับปรีดาพนธ์ บัณฑิตยานนท์ แห่งบริษัทแลนด์สเคป อาร์คิเทค จำกัด (L49) ซึ่งเป็นบริษัท ที่เลือกให้เป็นผู้ดูแลทางด้านภูมิสถาปัตย์

"ในตอนแรกที่ผมยังไม่เห็นทะเลสาบ ก็คิดว่าคงเหมือนโครงการอื่นๆ โอเค บอกว่า 100 ไร่ก็ใหญ่อยู่หรอก แต่คงแบนราบปกติเหมือนเลคทั่วไปของโครงการในกรุงเทพฯ แต่พอวันที่นัดมาคุยกันที่โครงการ ยอมรับว่าไม่เคยเห็น และไม่คิดว่าจะมีในกรุงเทพฯ เป็นภาพที่เมื่อ เห็นแล้วดีไซเนอร์ทุกคนอยากทำให้มันยูนีคไม่เหมือนใคร"

ปรีดาพลผู้เป็นที่ปรึกษาโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้นกล่าวเพิ่มเติม เขาบอกว่าโครงการนี้หากพัฒนาตามตัวเลข ของบริษัทที่ทำรีเสิร์ช จะไม่มีโอกาสมีที่ดินแปลงสวยๆ ริมน้ำที่สโลปสวยๆ ลงมาเลย เพราะถูกแบ่งเป็นแปลงย่อย บางส่วนต้องทำเป็นที่ราบ แล้วตัดถนนเชื่อมโยงเต็มไปหมด ในแง่การลงทุนเองอาจจะไม่คุ้ม เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และที่ดินดีๆ ก็ต้องเสียรูปไป ถ้าจะเก็บความสวยของสโลปไว้ มันน่าจะเป็นแปลงใหญ่แต่จะขายได้หรือไม่ได้ สุนัททีต้องตัดสินใจเอง

บังเอิญสุนัททีกล้าที่จะทำ พื้นที่โครงการทั้งหมด 281 ไร่ โดยตัดแบ่งที่ดินออกประมาณ 100 แปลง เริ่มต้นที่แปลงละ 100 ตารางวา ที่ดินไกลจากบึงน้ำที่สุด ตารางวาละประมาณ 5.8 หมื่นบาท ที่ดินบนเนินราคาต่อตารางวาประมาณ 6.8 หมื่นบาท ส่วนที่ดินริมน้ำตารางวาละ 7.7 หมื่นบาท เธอบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าราคาบ้านพร้อมที่ดินที่คนต้องการซื้อและมาใส่ชื่อรอมากกว่าจำนวนแปลงที่มีไว้ขายอยู่ที่ระดับราคา 10-20 ล้านบาท ซึ่งทางโครงการมีทั้งหมดประมาณ 50 แปลง และในโครงการนี้มีทั้งการขายที่ดินเปล่า บ้านสั่งสร้าง และบ้านสร้างก่อนขาย

"แปลงใหญ่สุดเฉพาะที่ดินประมาณ 60 ล้านบาท รวมบ้านด้วยก็ประมาณ 80 ล้านบาท แต่หากลูกค้ารวม 2 แปลงราคาก็จะเพิ่มขึ้นอีก อย่างคุณตี๋เจ้าของบริษัท แมทชิ่ง รวมที่ดิน 4 แปลงไว้ด้วยกันราคาก็ 100 กว่า ล้านบาทเข้าไปแล้วยังไม่รวมราคาบ้านเลย ได้ที่ดีด้วย นะตามหลักฮวงจุ้ยเลย ด้านหน้าเป็นน้ำหลังเป็นเขา"

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี 2537 ที่ดินผืนนี้เดิมเป็นที่ตั้งของสนามเจ็ตสกีซันดาวน์ ที่มีบึงใหญ่เต็มด้วย น้ำตลอดทั้งปี และครอบครัวสุนัททีได้ใช้เล่นกีฬากับเพื่อนฝูงใกล้ชิด ความกว้างของบึงและธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้กลุ่มเพื่อนฝูงนิยมเข้ามาเล่นมากขึ้น กลายเป็นที่รู้จักของกลุ่มคนในสังคมไฮโซในช่วงเวลานั้น ทั้งๆ ที่การเดินทางค่อนข้างยาก ทางด่วนพระราม 9 และเส้นมอเตอร์เวย์ยังไม่แล้วเสร็จ ด้านหน้าโครงการ ถนนยังเป็นลูกรังเป็นหลุมเป็นบ่อ

"น้องๆ หลายคนขับรถเบนซ์สปอร์ต ขับรถสวยๆ มาเล่นเจ็ตสกีกัน เลยต้องทำห้องอาหาร และโรงฝากเรือ ตอนนั้นก็เริ่มอยากทำบ้านพักไว้อยู่เองสักหลังแล้วล่ะ แต่อยู่หลังเดียวคงเหงาก็คิดจะสร้างบ้านขายด้วย แต่ยังไม่ได้ทำก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เสียก่อน แผนการทั้งหมดเลยล้มเลิกไป"

เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงนั้นส่งผลให้คนเข้ามาเล่นเจ็ตสกีน้อยลง จนต้องเลิกไปในที่สุด ความคิด ที่จะพัฒนาที่ตรงนี้เริ่มขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการคมนาคมสะดวกขึ้น รวมทั้งมีแผนการขนส่งมวลชนต่างๆ เข้ามารองรับสนามบินสุวรรณภูมิที่ห่าง จากโครงการประมาณ 7 กิโลเมตร

ไพร์มเนเจอร์มีจุดเด่นของทำเลที่ตั้งโครงการ ก็จริงแต่ในขณะเดียวกันตัวผู้ประกอบการเองเพิ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในลักษณะนี้เป็นโครงการแรก ดังนั้น วิธีคิดของสุนัททีที่ยืนยันกับ "ผู้จัดการ" และสื่อต่างๆ ในช่วงนั้นก็คือ

"ยอมรับว่าเราเองยังโนเนม แต่ตั้งใจว่าจะทำโครงการนี้ให้ดี เพื่อทำให้คนมั่นใจว่าหากมีแบรนด์ ไพร์มเนเจอร์เกิดขึ้นที่ไหนต้องตามไปซื้อ และต้องเป็น แบรนด์ที่สร้างแต่ของพรีเมียมเท่านั้น"

ดังนั้นเธอจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่สนามการแข่งขันอย่างรัดกุม โดยเลือกใช้วิธีการเรียนลัดด้วยการซื้อประสบการณ์จากทีมงานบริหารมืออาชีพจากบริษัทต่างๆ เช่น การดึงบริษัทนันทวันเข้ามาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานสาธารณูป โภคหลัก บริษัท E.49 Engineering Consultants รับผิดชอบในเรื่องวิศวกรรมอย่างครบวงจร ทั้งด้านโยธาและสิ่งแวดล้อม บริษัท Zenith Poewr & Engineering รับผิดชอบเรื่องประปา ระบบระบายน้ำและโทรศัพท์ บริษัทอินโฟเน็ทเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ งานวางระบบรักษาความปลอดภัยทั้งในบ้านและส่วนของพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในบ้าน

บริษัทเทวา สตูดิโอ ของ ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบบ้านจำนวน 5 แบบและคลับเฮาส์ บริษัท L49 ออกแบบภูมิสถาปัตย์ บริษัทเอเอ็ม เอ ดีไซน์ สตูดิโอ จำกัด ออกแบบบ้าน 5 แบบ โดย มี Prisma Design ผู้ออกแบบตกแต่งภายในบ้านที่กรุงเทพฯ หัวหิน และพัทยา ของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ตกแต่งบ้านตัวอย่าง บริษัทเซ็นทรัลการ์เด้น ออกแบบและก่อสร้างสวนครบวงจร และบริหารโครงการการขาย โดยบริษัท Jones Lang LaSalle สนับสนุนสินเชื่อโครงการโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน

ความสามารถในการบริหารงานร่วมกันกับบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหมด เพื่อให้ความคิดตกผลึกเป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งการประสานงานด้านต่างๆ การติดตามงานให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดคือสิ่งท้าทาย สุนัทที ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยเช่นกัน

การดึงบริษัทหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นเรื่องที่เธอเน้นมาก เช่น การเชิญ ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งออกแบบบ้าน โดยแลกเปลี่ยนค่าออกแบบกับที่ดินและบ้านในโครงการ พร้อมๆ กับดึงโรงเรียน นานาชาติเปรม ติณสูลานนท์ จากเชียงใหม่ มาเปิด สาขา 2 ที่นี่ในพื้นที่ 5 ไร่ ใกล้กับบริเวณทางเข้าหลัก ของโครงการ โดยจะรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 5

เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ผู้ประกอบการมุ่งมั่นในการสร้างแบรนด์จากโครงการแรก เพื่อก้าวต่อไปบนถนนสายเรียลเอสเตทจะได้ง่ายขึ้น แต่จะสำเร็จหรือไม่คงต้องติดตามดู ซึ่งก็คงอีกไม่นาน เพราะสุนัททีหวังไว้ว่า การขายกลางปีนี้คงเสร็จสิ้นเริ่มทยอยการโอนได้ และทั้งโครงการน่าจะเสร็จสมบูรณ์ได้ในปลายปีนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us