Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
Italian Design weak and wide spread             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
www resources

Domus Academy Homepage

   
search resources

พันศักดิ์ วิญญรัตน์
Crafts and Design
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Domus Academy




"ผมอยากสื่อให้นักออกแบบมางานนี้ เพื่อจะได้สังเคราะห์วิธีคิด เพราะพวกเขาไม่มีสูตรสำเร็จให้ท่านว่าทำอย่างไรแต่เขาจะบอกท่านว่าออกแบบเพราะอะไร ถ้าไม่มีคำว่าเพราะอะไร ท่านจบเลย" เป็นถ้อยคำในวันแถลงข่าวของพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธาน Thailand Creative & Design Center (TCDC) ซึ่งจะเปิดอย่างเป็นทางการราวเดือนกรกฎาคมนี้

ในวันที่ 6-8 มกราคม 2548 งาน Bangkok Design Symposium ในหัวข้อ "Italian Design that changed the world" เป็นกิจกรรมแรก ซึ่งถือเป็นการ pre-pre launch TCDC ที่นำเอากระบวนทัศน์ของอิตาเลียน ดีไซเนอร์ ระดับ guru ของโลก 4 คน คือ Andrea Branzi พูดปรัชญาทฤษฎี "weak and wide spread," Giovanni Lauda และ Dante Donegani พูด เรื่อง "Italian Home" และ Francesco Morace พูดเรื่อง "Consumption and Behavior : Design and Fashion"

ทั้ง 4 ล้วนมาจากสำนักเดียวกันคือ Domus Academy อันมีชื่อเสียงในเมืองมิลาน อิตาลี ศูนย์กลาง โลกแฟชั่น และผู้กำหนด trend ดีไซน์ของโลกในศตวรรษที่ 21

Italian Design ทรงอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดแนวโน้มดีไซน์ของโลกศตวรรษที่ 21 โดยมีปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องมานานจากงานมิลานแฟร์, แฟชั่นวีคที่มิลาน ซึ่งถือเป็นสุดยอดของงานแสดงพลังสร้างสรรค์ออกแบบที่ดังระดับโลก และเป็นที่ชุมนุมเหล่ามืออาชีพด้านออกแบบสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยม

แม้ว่าปัจจุบัน Domus Academy จะไม่ดังเท่า RCA (Royal Acadamy of Art) ของอังกฤษ แต่ความหมายอันยิ่งใหญ่อยู่ที่กลุ่มผู้ก่อตั้งที่เรียกตัวเองว่า Achizoom ซึ่งเป็นนักคิดนักออกแบบของโลกในทศวรรษ 1970 เช่น Andrea Branzi, Ettore Sottsass, Alberto Meda, Paolo Deganello เป็นกลุ่มความคิด "Non Stop City" ที่กลายเป็น "Weak Urbanization" ในปัจจุบัน

เมื่อปีก่อตั้ง 1983 ที่มิลาน Domus Academy ถือเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติระดับปริญญาโทโมเดลแรกในยุโรป ที่สามารถพัฒนาศักยภาพด้านดีไซน์ ของนักคิดนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานระดับโลกได้ โดยปัจจุบันมีการเรียนการสอนระดับปริญญาโทในสาขา ต่างๆ ดังนี้ Design, Fashion, I-design, Business design, Interior & living design, Urban vision and architectural design และ Fashion design รวมทั้งมี short courses และที่สำคัญคือ DARC หรือศูนย์วิจัยและที่ปรึกษาทางธุรกิจ (www.domusacademy.com)

ในฐานะที่ Domus เป็นสถาบันนานาชาติชั้นนำในมิลาน และคุณค่าของงานวิจัยด้าน consumption and behavior ที่สามารถกำหนดแนวโน้มดีไซน์ในโลก ศตวรรษที่ 21 จึงเป็นที่สนใจของบริษัทชั้นนำของโลก เช่น 3M, ซัมซุง, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ชาร์ป, JCDecaux ที่ว่าจ้าง Domus ทำวิจัยและส่งคนของบริษัทตนศึกษาด้านดีไซน์ที่นี่ด้วย ซึ่งในซีกโลกตะวันออกจะพบกลุ่มคนเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวันเรียนที่นี่มากที่สุด

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ TCDC ของไทยร่วมกับสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แนวดีไซน์ได้เชิญปรมาจารย์นักออกแบบของโลก มาพูดให้เห็นถึงกระบวนทัศน์แท้ จริงที่มาจากพลังความคิดสร้างสรรค์ โดยแต่ละคนก็เตรียมพูดในหัวข้อสำคัญๆ เช่น Andrea Branzi ซึ่งเป็นสถาปนิกนักออกแบบแนวธรรมชาตินิยมและนักคิดเกี่ยวกับเมือง อนาคตคนสำคัญของโลก เขาเป็นหนึ่งใน กลุ่มผู้ก่อตั้งสถาบัน Domus และเป็นเจ้าของทฤษฎี "weak and wide spread" นั่นคือการดีไซน์ของโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งถูกบางคนมองว่าเป็น over design society

ความเป็นปรัชญาของแนวคิดของ weak and wide spread นั้นตีความได้กว้างขวางในโลกการออกแบบในโลกศตวรรษที่ 21 นี้

ผู้รู้บางคนตีความหมายว่า ยุคใหม่การออกแบบดู อ่อนแอและไร้รากทั้งทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่ครั้งหนึ่งยุโรปเคยครองความอหังการอันยิ่งใหญ่ในฐานะผู้นำของโลก ที่เต็มไปด้วยความมั่นคงชัดเจนและเย่อหยิ่งในปัญญาที่เคยมีมาจนไม่เปิดรับความคิดอื่น ทำให้ปัญญาเดิมกลายเป็นสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์ที่ต้องประสบความล้มเหลวในศตวรรษใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงไปเข้ามาแทนที่

ในปรากฏการณ์ที่อ่อนแอเช่นนี้ ก็ยังมีนักคิดนักออกแบบบางคนที่สามารถส่งประกายเป็นจุดๆ ประดุจดวงดาวในจักรภพที่ยังคงเป็นระบบได้เพราะ weak force ที่แม้จะอ่อนแรง แต่ก็มีแรงเหวี่ยงที่กระทบกัน ดึงกัน ดันกัน ให้ยังคงเป็นระบบจักรภพได้คงที่ เป็นภาวะ ที่เรียกว่า weak and wide spread ที่นักคิดอย่าง Branzi มองว่าเป็นความคิดใหม่ๆ ที่ weak น่าสนใจ แต่ไม่มีอะไรลึกซึ้ง นั่นคือการดีไซน์ของยุโรปและของในโลกปัจจุบัน

คำว่า น่าสนใจแต่ไม่ลึกซึ้งนั้น ย่อมหมายถึงว่าของที่ลึกซึ้งต้องมีพื้นฐานของ dynamic สังคม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจที่มีความชัดเจน ซึ่งสามารถเสนอแก่มวลมนุษยชาติให้กับโลก เหมือนครั้งหนึ่งที่ยุโรปเคยทำ ปัจจุบันไม่ได้ทำเพราะสิ่งที่เคยเสนอมันล้มเหลวหมด

นี่คือทัศนะหนึ่งของการตีความ Andrea Branzižs Paradigm แต่สำหรับศิษย์เอกของ Domus รุ่นที่ 2 เช่น บรรณนาท ไชยพาน และทินกร รุจิณรงค์ ที่อยู่ในวงการ ออกแบบให้ความเห็นว่า ทฤษฎีของอาจารย์ Branzi ให้ ความหมายของคำว่า weak มิใช่อ่อนแอ แต่เป็นความ อ่อนโยนและยืดหยุ่นที่ Branzi พยายามจะบอกโลกว่า โลกได้เจริญทางวัตถุสูงสุดแล้ว ทำไมไม่กลับมามองแบบ humanize เขายกตัวอย่างว่า

"ในทฤษฎี weak and wide spread อาจารย์ เปรียบเทียบกับพลังดวงดาวที่กระจายไปทั่วจักรวาล แล้วอาศัยซึ่งกันและกัน เคลื่อนตัวอย่างมีพลังเงียบอันมหาศาล สามารถยกน้ำได้เป็นเมตร เป็นความงดงาม"

อย่างไรก็ตาม แนวความคิด weak and wide spread ของ Branzi ถูกนำไปใช้ปลุกงานโคโลญแฟร์ให้ฟื้นคืนขึ้นมาได้ หลังจากเดิมที่โคโลญแฟร์นึกว่า ตัวเองยิ่งใหญ่ด้านการผลิต มีท่าทีแข็งกร้าว ไม่เปิดให้ความคิดอื่นเข้าไปแสดง ปรากฏว่าต่อมาประสบความล้มเหลว จนต้องใช้แนวคิดของ Branzi ไปใช้ใหม่และเริ่มรับความคิดจากทั่วโลก กลายเป็นโอกาสใหม่และกระจายเป็นพลังไปทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม พันศักดิ์ได้ให้ทัศนะน่าคิดไว้ว่า "แหล่งกำเนิด source of influence ที่ทรงอิทธิพลมีเพียง 1-2 แห่งในโลก และมีพลังที่มีอิทธิพลมากทางปัญญา ทำให้ของในปัจจุบัน overdesign กันไปหมด โดยไม่มี new concept of design originality ออกมา เหมือนเอาดินน้ำมันมาบี้ด้วยมือ เป็นลักษณะดีไซน์รุ่นใหม่ที่ทำเป็นของเหลว ทำเหมือน semi liquid เหมือนกันหมด นี่คืออันตรายของ one influence concept"

นอกจาก Andrea Branzi แล้ว ในงานยังมีคนพิเศษอีกคนที่น่าสนใจมากๆ คือ Francesco Morace ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในฐานะ Trend-Spotter ชั้นนำของยุโรป และเขายังเป็นประธาน Future Concept Lab ซึ่งเป็น ศูนย์วิจัยที่ก้าวหน้าที่สุด เชี่ยวชาญพิเศษด้านการตลาดและแนวโน้มการบริโภค

ในฐานะ Trend-Spotter ของ Morace คือคนคอยดูปรากฏการณ์ของการใช้ชีวิตประจำวันของคนยุโรปว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร เอามาจับเป็นแก่นเอามาวิเคราะห์ได้ถูกต้อง และคนที่สามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้องก็สามารถออกแบบและผลิตสินค้าตามแนวโน้มของการบริโภคที่มาจากจิตวิญญาณ

จากพื้นฐานที่เป็นนักสังคมวิทยา (sociologist) นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ Morace สามารถให้คำอธิบายที่วิจัยอย่างถ่องแท้ได้ว่า why? เช่น ทำไม T-shirt ตัวนี้จึงขายดี เพราะว่าเขาเป็น sociologist, the writer และ the journalist ด้วย เขามีชื่อเสียงในฐานะที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ให้กับบริษัทชั้นนำของอิตาลีและประเทศอื่นๆ ด้วย

นอกจากนั้นงานสัมมนานี้ยังมีคณบดีของ Domus คือ Giovanni Lauda และ Dante Donegani เป็นสองสถาปนิกที่จะมาเปิดกระบวนทัศน์เกี่ยวกับโมเดลวิถีการดีไซน์ของบ้านเมืองอิตาลีในหัวข้อ "The Italian Home"

ความเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่าง Domus Academy กับคนไทยซึ่งเป็นศิษย์เก่ายุคแรกของ Domus คือ บรรณนาท ไชยพาน หรือเพื่อนพ้องน้องพี่เรียก "กล้วย" ปัจจุบันเป็น Creative Director ของเอเยนซี่ โฆษณา J.Walter Thompson และถือว่ามีความสัมพันธ์ ส่วนตัวที่ดีมาก ที่สามารถเชิญปรมาจารย์จาก Domus ทั้งหมดมาบรรยายที่เมืองไทยได้ โดยร่วมกับทินกร รุจิณรงค์ เพื่อนร่วมรุ่นซึ่งปัจจุบันเป็นนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ผู้มีผลงานการออกแบบโมเดิร์นดีไซน์มาสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง และเป็นเพื่อน สนิทกับ Giovanni Lauda ซึ่งเคยดีไซน์เครื่องทำกาแฟ แล้วตั้งชื่อว่า "Tina" หรือย่อมาจากชื่อทินกรนั่นเอง

"ผมและเปิ้ลเป็นสองคนไทยแรกที่ทำให้อิตาลีรู้จัก ประเทศไทย เพราะผมได้รางวัลที่ 1 จากการออกแบบ โคมไฟ ในระดับ professional ที่โรงงาน Frost ยังแพ้ผม Achille เป็นคนตัดสิน และ Mario Bellini เป็นคนมอบ รางวัลให้ผม เขารู้จักประเทศไทยเพราะพวกผม ผมเคย present thesis คนทั้งโดมุสวิ่งเข้ามาดูผมเต็มหอประชุม ผมได้คะแนน 100 เต็ม 100 Gactano Pesce และดีไซเนอร์ชื่อดังนับสิบคน ให้เกียรติโดยยืนปรบมือบราโว ให้ผมทั้งหอประชุม" บรรณนาทเล่าให้ฟังด้วยความภูมิใจ

ประสบการณ์ชีวิตที่ศิษย์เก่า Domus ทั้งสองได้รับในยุคต้นๆ ที่ Domus รุ่งเรืองด้วยบรรดาปรมาจารย์ ดีไซน์ระดับโลก อย่าง Sottsass, Alberto Meda, Paolo Deganello, Gactano Pesce, Phillippe Starck, Andrea Branzi ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของทินกร ซึ่งกระตุ้นแนวความคิดวิเคราะห์วิจัยเรื่องการดีไซน์เมืองแม่แบบแห่งอนาคต

"ครูของผมคือ Achille Castiglione ผมรักเป็น ชีวิตจิตใจ ถือว่าเป็นบิดาของอิตาเลียนดีไซน์ ออกแบบไฟให้ Frost ขายอันละแสน เขาอายุ 90 ยังออกแบบเจ๋ง ตอนผมเรียนกับเขา เขาอายุ 70 แล้ว แต่ผมอายุ 30 ยังงี่เง่าอยู่เลย" นี่คือ Role Model ตัวจริงของเขา

ขณะที่ทินกร รุจิณรงค์ ซึ่งมี Andrea Branzi เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ก็มีผลงานการสร้างโมเดลเมืองแห่งอนาคต โดยตอบโจทย์ที่อาจารย์ให้คิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับถนนสายหนึ่งในมิลานได้อย่างลงตัว

"ตอนเรียนกลุ่มเรา 7 คน ทำวิทยานิพนธ์เรื่องเมืองในอนาคต โดยสมมุติถนนสายหนึ่งในมิลาน เราก็คิดว่าจะทำอะไรบนถนนทั้งสาย บางคนก็คิด platform เป็นสวน แต่ในปี 1986 นั้น ผมคิดเรื่องถนนในแง่ของ framing ของถนนเป็นไม้ ในเฟรมมีสวน มีคาเฟ่ และกิจกรรมหลายแห่ง แต่ของ Lauda เพื่อนผมทำถนนในแนว entertainment street ขับรถดูหนังดูละคร เพื่อนๆ ในรุ่น เช่น Christops Pillet มีชื่อเสียงเป็น Designer of the year" ทินกร รุจิณรงค์เล่าให้ฟัง

นับเนื่องมาถึงศิษย์เก่ารุ่นใหม่ อย่างเช่น คัทลียา องคสิงห์ ซึ่งจบสถาปัตย์ฯ จากจุฬาฯ แล้วไปศึกษาต่อที่ Domus Academy ซึ่งปีนั้นรับคนไทยมากที่สุดถึง 4 คน เธอได้เล่าให้ฟังถึงการเรียนการสอนในหลักสูตรที่นั่นว่า เป็นการสอนให้คิดเป็นหลัก รู้จักดึงปัญญาตัวเองมาใช้สร้างสรรค์ โดยมีดีไซเนอร์ชั้นนำของโลกเป็นครูที่มีสไตล์หลากหลายให้ศิษย์เลือกศึกษาได้ รวมทั้งเพื่อนมาจากนานาชาติ ร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ท่ามกลางบรรยากาศสร้างสรรค์ที่มิลาน ซึ่งเต็มไปด้วยแรงบันดาล ใจทุกย่างก้าว

หนึ่งปีเต็มที่เธอพัฒนาความคิดจากเด็กสถาปัตย์ฯ ที่เรียนรู้แบบเดิมๆ how to ที่สอนปี 2 ออกแบบบ้านสองชั้น ปี 3 ออกแบบพิพิธภัณฑ์ ก็ก้าวไปสู่การเรียนรู้กระบวนทัศน์ความคิดสร้างสรรค์การออกแบบของมืออาชีพ ได้เรียนประวัติศาสตร์พัฒนาการของโปรดักส์ จากคณบดี อ.Lauda และสนุกกับแนวงานวิจัยเจาะลึก Consumption and Behavior ของ อ.Francesco Morace ซึ่งมีกรณีศึกษาน่าสนใจเกี่ยวกับงานวิจัย trend ของโลกแห่งแฟชั่นและดีไซน์ ซึ่งเมืองไทยไม่เคยมีศูนย์ศึกษาวิจัยจริงจังเช่นนี้มาก่อน

ผลงานของนักศึกษา domus ก็มีพื้นที่จัดแสดงไว้ในงานมิลานแฟร์ ซึ่งจะจัดราวเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นการให้ความสำคัญกับงานความคิด ที่แม้รอการพัฒนาอย่างเป็นจริงในภายหลัง ผลงานความคิดที่เป็น thesis ถูกนำเสนอด้วย format หนังสั้นที่อธิบายที่มาว่า ทำไม? และตามด้วยคำวิจารณ์ของเพื่อนและอาจารย์ต่อชิ้นงานของทุกคน

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของสถาบันชั้นนำที่เน้นสอนงานความคิดด้านออกแบบ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางดีไซน์ชั้นนำที่เก่าแก่ของยุโรปแห่งหนึ่ง เป็นภูมิปัญญาที่คนทั่วโลกต้องมาศึกษาทฤษฎีใหม่ๆ ที่สามารถบ่งบอกแนวโน้มของดีไซน์โลกได้

อ.วิทวัชช์ เจริญพงศ์ ซึ่งเป็นสถาปนิกมืออาชีพ และเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยรังสิต จบปริญญา ตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์จาก Syracuse นิวยอร์กและปริญญาโทจาก Syracuse University Center ที่ฟลอเรนซ์ ใช้ชีวิตการเรียนที่อิตาลี 3 ปี

ในฐานะ "คนนอก" วิทวัชช์ได้พูดถึงสถาบันแห่ง ปัญญาของ Italian Designer อย่าง Domus ไว้อย่างน่าคิดทิ้งท้ายไว้ว่า

"ผมคิดว่าวิธีสอนของ Domus เข้าถึงจิตวิญญาณ และแก่นแท้ของศิลปะการออกแบบ ผู้ที่จะสอนเช่นนี้ได้ ต้องเป็นปรมาจารย์อย่างแท้จริง ส่วนผู้ที่จะเรียนได้อย่าง เข้าใจและประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องมีความรู้ เชิงศิลปะที่ดีเป็นพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีความกล้า ไหวพริบ และศรัทธาที่จะผลักดันจินตนาการและความคิดสร้าง สรรค์จนสุดขอบเขต"

Domus มาแล้วก็ไป ถือเป็นการเรียนรู้ปัญญาฝรั่งที่ TCDC น่าจัดบ่อยๆ ในราคาที่ให้นักศึกษาและคนสนใจเข้าถึงได้มากกว่านี้ เพราะนี่คือโอกาสฟังกระบวนทัศน์ของปัญญามืออาชีพระดับโลก ที่เป็นประโยชน์กับสังคมไทย ที่ค่อยๆ รู้จักพัฒนาศักยภาพปัญญาตัวเองให้พ้นจากความรู้พื้นฐานในสังคมอุตสาหกรรมสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ต่ออายุขัยธุรกิจไทยต่อไป ทั้งนี้เพราะว่า

"Business relate to sustainable business. Sustainable business relate to sustainable design which make your productsžre in sustainable market place longer."   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us