Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
Lifestyle ของ Lifestyle Setter             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

The Lifestyle Setter
Metropolitan Lifestyle Business
โรงหนังในต่างแดน

   
search resources

วิชา พูลวรลักษณ์




วิชา พูลวรลักษณ์ ดูเป็นคนมีความสุขกับการทำงาน อาจเป็นเพราะธุรกิจที่เขาทำอยู่ในกลุ่มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นเรื่องที่บันเทิง เกี่ยวข้องกับการสร้างความสุขให้ลูกค้า แต่ธุรกิจของเมเจอร์ฯ ก็สะท้อนบุคลิกของตัวเขาออกมาไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายออกมาเป็นธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาสนใจ

เขาเป็นคนนอนดึกตื่นเช้า มักเข้านอนหลังเที่ยงคืนไปแล้ว เนื่องจากติดดูรายการสรุปข่าวช่วงเที่ยงคืนจากช่องยูบีซี 7 รวมทั้งเช็กข่าวสถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลก และดัชนีดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กจาก CNN และ CNBC

วิชาตื่นนอนเวลา 6 โมงเช้าเป็นประจำ ด้วยเหตุผลที่ว่า "ถ้าตื่นสายกว่านี้ผมจะปวดหัว ยิ่งตื่นสายยิ่งง่วง" เขาบอก

จากนั้นจะเป็นช่วงจิบกาแฟ กินอาหารเช้าไปพร้อมๆ กับการอ่านหนังสือพิมพ์ "ผมเป็นคนที่จะอ่านข่าวทุกข่าว"

เสร็จแล้วก็ออกกำลังกายอีกราว 20 นาที อาบน้ำ ออกจากบ้านราว 8 โมงเช้า ถึงออฟฟิศประมาณ 9 โมงเช้าก็เริ่มงานทันที

ระหว่างการสนทนากับ "ผู้จัดการ" คำหนึ่งที่เขาพูดติดปากก็คือ "ง่ายๆ" ซึ่งเขาใช้คำนี้อธิบายทั้งในด้านการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตของตัวเขาเอง

"ไลฟ์สไตล์ผมก็งาน ครอบครัว ส่วนตัว และสังคม ผมทำงาน 7 วัน เสาร์-อาทิตย์ผมพาลูกไปดูหนังก็เหมือนทำงาน ไปกินข้าวก็เหมือนทำงาน ผมไม่คิดว่าผมหยุดและก็ไม่คิดว่าทำงาน ผมไม่ใช่ลูกจ้าง ไม่ใช่ มืออาชีพที่ทำงานจันทร์ถึงศุกร์แล้วปิด สวิตช์เปลี่ยนไปช่องอื่น งานมันจะลิงก์กับผมตลอดเวลาแล้วผมก็บริหารให้ดี อย่างผมทำงานอยู่แล้วออกไปออกกำลังกายสัก 2 ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่าหยุดหรือเปล่า"

แม้แต่ยามว่างที่ไปเดินร้านหนังสือ เขาก็มักจะเลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับการตกแต่งร้านค้าและธุรกิจประเภทต่างๆ ทั้งที่ เป็นร้านอาหาร บาร์ หรือแม้แต่ฟิตเนส เพราะนอกจากความสนใจส่วนตัวแล้ว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานที่ทำอีกด้วย เมื่อพลิก ดูแล้วเจอรูปแบบการตกแต่งที่ชอบ เขาจะทำเครื่องหมายเอาไว้และส่งหนังสือเหล่านี้ไปไว้ที่ทีมงานตกแต่งของบริษัท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไป

วิชาเป็นคนที่คบหาสมาคมกับผู้คนในแวดวงธุรกิจอยู่เสมอ แค่เพียงช่วงเวลา 4-5 วัน ที่ "ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสติดตามและสนทนาถึงกิจวัตรประจำวันของเขา สิ่งที่ปรากฏออกมาคือเขามีตารางเวลานัดหมายกับผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหลายธุรกิจทีเดียว

ค่ำวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม เขาไปร่วมงานเลี้ยง ฉลองครบรอบ 72 ปีของบริษัทยูนิลีเวอร์ เย็นวันพุธที่ 16 ธันวาคม มีนัดกับผู้บริหารจากเป๊ปซี่ ที่มาสังสรรค์และเล่นโบว์ลิ่งที่เมเจอร์โบวล์รัชโยธิน ส่วนเช้าวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม ไปตีกอล์ฟร่วมกับกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเหล่าผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ในงานสังสรรค์ประจำปีของสมาคมบริษัทจดทะเบียน

เสร็จจากการตีกอล์ฟช่วงเย็นเขาไปเข้าร่วมงาน เลี้ยงของกลุ่ม Young President Organization หรือ YPO ที่มีเหล่าสมาชิกเป็นนักธุรกิจวัย 40 ปีกว่าไล่ลงมาจนถึง 30 ปี ภายในงานที่จัดขึ้นที่บ้านของธีระ ณ วังขนาย แห่งกลุ่มน้ำตาลวังขนาย มีนักธุรกิจรุ่นใหม่ของไทยหลายสิบคนมาร่วมงานพร้อมด้วยครอบครัว เท่าที่สังเกตเห็น อาทิ ธีรพงศ์ จันศิริ CEO ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF ผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ของโลก หรือนาถ ลิ่วเจริญ แห่งซีดีจี กรุ๊ป ผู้กว้างขวางในแวดวงไอทีของไทย เป็นต้น

จึงไม่น่าเป็นการกล่าวเกินเลย เมื่อวิชาบอกว่าเขามี good relationship กับพันธมิตรส่วนมาก เขาขยายความตรงนี้ให้เราฟังว่า

"ตอนที่ผมมาสร้างที่เอกมัย เจอวิกฤติพอดี รัฐบาลลอยตัวค่าเงิน แล้วเราใช้สินเชื่อจากฟินวัน (บง.เอกธนกิจ) พอฟินวันเจ๊งจะเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ก็ต้องหามาจากไฟแนนซ์ที่อื่นบ้าง แล้วก็จากร้านค้าบางส่วนที่เชื่อฝีมือผม ผมโชคดีที่มีร้านค้ารักผม อย่างผมจะได้เงินค่าเซ้งจากเขา 20 ล้าน เขาให้มาก่อน 15 ล้าน เขาเชื่อผมขนาดนั้น มีตั้งหลายแบรนด์ที่มาช่วยผม คนนี้ให้มา 30 ล้าน คนนี้ให้ 18 ล้าน จำได้แม่นเลย นี่คือ สิ่งที่ช่วยให้เราสำเร็จ ผมว่าคู่ค้านี่สำคัญมากๆ ถ้าเขาพูดถึงคุณกับคนอื่นว่า คุณเป็นคน ใช้ได้นะ คบได้ อย่างนี้คุณชนะเลิศ แต่ถ้าบอกว่า ระวังนะ ไอ้นี่ร้ายนะ ก็คงไม่มีใครคบกับคุณแน่ ผมคนหนึ่งล่ะ"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us