|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2548
|
 |

- การขยายธุรกิจเป็นโลว์คอสซีนีม่า
เรื่องนี้ผมตั้งคำถามมานานแล้ว ในอเมริการะบบโรงหนังไม่เหมือนกับเราตีตั๋วเป็นแบบไม่ระบุที่นั่ง (free seating) แต่เมืองไทยต้องระบุ (fixed seating) ผมก็มองว่า ถ้าเราไม่ต้องใช้คนขายตั๋ว 15 คน ลดเหลือ 10 คน แค่ 10 จุด เราลดได้ 50 คนแล้ว แล้ววันธรรมดาคนดูก็ไม่เต็ม ผู้บริโภคไม่ต้องการตั๋วระบุที่นั่งในวันธรรมดาหรอก เขาอยากเลือกที่นั่งได้ไปนั่งแล้วไม่ชอบก็เปลี่ยนได้ เราก็ถามตัวเองมาตลอดว่าทำไมไม่มีคนทำ นั่นคือโจทย์อันที่หนึ่ง
สองก็คือ ในถนนสายหนึ่งถ้าต้องมีทั้งเมเจอร์และอีจีวีจะทำอย่างไร ก็ต้องสร้าง brand positioning กันใหม่ ถามว่าลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าต้องการดูหนัง เดี๋ยวนี้หนังออกเร็วดูไม่ทัน ก็ต้องมีอยู่โรงหนึ่งที่หนังออกช้า หรือลูกค้าบอกว่า ค่าตั๋วแพง ไม่อยากดู อยากจ่ายถูกหน่อย เราก็คิดโมเดลขึ้นมา เรียกว่า E Cinema หรือ Economic Cinema ไม่ระบุที่นั่ง เพราะฉะนั้นจะขายตั๋วได้เร็ว ลูกค้าไม่ต้องมาเลือกที่นั่ง หนังที่นี่จะฉายเวลานานกว่าที่อื่น แต่จะไม่มีเซอร์วิสมาก ไม่มีหนังเข้าทุก 15 นาที ต้องเช็กเวลาดีๆ ก็จะสนองความต้องการของคนอีกกลุ่มหนึ่ง เด็กนักศึกษาน่าจะชอบมาก เพราะเบากระเป๋า
ตรงนี้ดูเทียบกับธุรกิจโรงแรม แถวราชดำริมีโรงแรมอยู่เต็มไปหมด แต่หลายแห่งเป็นเชนของกลุ่มเดียวกัน เขาวาง positioning แตกต่างกัน อย่างสตาร์วูด มีเชอราตันแกรนด์ แมริออท และฮอลิเดย์อินน์ ลูกค้าก็คนละแบบ เราก็จะวาง positioning ของเราแบบนั้น เพราะเราเจอปัญหาคล้ายๆ กัน เราไปเจอกับอีจีวีในบางจุด ก็ต้องวาง positioning ให้ดี ก็จะเอาในกรุงเทพฯ 3-4 จุดมาทดลองตลาดดูก่อนว่าเป็นอย่างไร
- ระหว่างเมเจอร์ฯ กับอีจีวี ใครจะเป็นคนปรับ
ดูทำเลเป็นหลัก บางจุดจะเป็นเมเจอร์ฯ บางจุดจะเป็นอีจีวี เพราะ E Cinema ก็คือตลาด C หรือ B ถ้าศูนย์ที่อยู่จับกลุ่มลูกค้า C แล้วเราเอาโรงหนัง 5 ดาวไปอยู่มันก็ไม่ใช่ อย่างออกต่างจังหวัด ถ้าเป็นในเมืองเชียงใหม่อาจจะ 5 ดาว แต่ถ้าพื้นที่รอบนอกก็ไม่จำเป็นต้อง 5 ดาว
โมเดลนี้ถ้าเวิร์กขึ้นมาจะเหมาะกับต่างจังหวัดมากเลย อย่างโบว์ลิ่งลงทุนปกติเลนละ 2 ล้านบาท ถ้าทำให้ลงมาเหลือ 5 แสนบาทได้ก็ขยายได้ง่ายขึ้น ความเสี่ยงก็ต่ำลง ธุรกิจก็จะโตได้ ถ้าเทียบเมเจอร์ฯ เป็นสุกี้เอ็มเค ส่วน E Cinema ถ้ามันเวิร์กก็น่าจะน้องๆ 7-11 ได้
ถ้าหากเราทำได้ อุตสาหกรรมหนังก็จะโต เพราะหนังจะโตได้โรงต้องโตก่อน ถ้าหนังโตมันจะเกี่ยวเนื่องกับหนังไทยเยอะแยะไปหมด ครั้งหนึ่งหนังไทยมีปีหนึ่งเป็น 100 เรื่อง คุณลองนึกภาพถ้าวันนี้หนังไทยมีปีละ 100 เรื่องก็เป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่นะ
|
|
 |
|
|