Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
"กงกฤช หิรัญกิจ" ยกโรงแรมอีสานสู่อินเตอร์             
 

   
related stories

50 ผู้จัดการ (2543)

   
search resources

กงกฤช หิรัญกิจ




กงกฤช หิรัญกิจ หนุ่มใหญ่วัย 42 ปี เพิ่งจัดงานฉลองในโอกาส ที่โรงแรมสีมาธานี ได้รับใบรับรอง ISO 9002 เมื่อเดือนพฤษภา คม ที่ผ่านมา

กงกฤช เกิดเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2501 เป็นบุตรชายของพ.อ.สมชาย หิรัญกิจ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ จากรั้วจามจุรีในปี 2522 และปริญญาโท (เกียรตินิยม) สาขาเดียวกันในปี 2529 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชีวิตการทำงานของเขาเริ่มต้นเป็นเจ้าหน้าที่เศรษฐกร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต่อมาปี 2524 ก็ได้ใช้ชีวิตเป็นข้าราชการแบบเต็มตัว ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก่อน ที่จะลาออกมาดูแล สถาบันวิชาการโรงแรม และการท่องเที่ยวนานาชาติ-ไอทิม ที่ตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2531

ความจริงแล้ว ในระหว่างทำงานกับสภาพัฒน์ กงกฤชได้รับข้อเสนอทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศแคนาดา แต่มีเงื่อนไขว่าจบออกมาแล้วต้อง ทำงานใช้ทุนเป็น 3 เท่าของค่าใช้จ่าย เมื่อชั่งใจดูแล้วว่าหากเดินหน้าเป็นข้าราชการต่อไปหน้าที่การงานคงไม่รุ่ง และเชื่อว่าคงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่นัก เพราะโอกาส ที่ข้าราชการประจำจะถูกครอบงำจากการเมืองมีสูง จึงปฏิเสธการรับทุน และยื่นใบลาออกเมื่อปี 2530

หลังจากลาออกแล้ว ได้ปรึกษากับครอบครัว และผู้ใหญ่ ที่นับถือในสภาพัฒน์ ประจวบเหมาะกับพ.อ.สมชาย หิรัญกิจ ได้เกษียนราชการจากตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. จึงนำประสบการณ์หน้าที่การงานของพ่อ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากวงการธุรกิจท่องเที่ยวอยู่แล้ว มาเปิดโครงการเปิดสถาบันวิชาการโรงแรม และการท่องเที่ยวนานาชาติไอทิม (ITIM)

ITIM จดทะเบียนครั้งแรกปี 2531 วงเงิน 2 ล้านบาท จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจากสวิตเซอร์แลนด์มาช่วยจัดทำหลักสูตร ส่วนตัวเขารับผิดชอบดูแลงานด้านธุรการเป็นหลัก เมื่อเปิดสอนแล้ว ปรากฏว่ามีคนสนใจสมัครเรียนเกินเป้า

ต่อมา เมื่อตระกูลหิรัญกิจเปิดโรงแรมสีมาธานี ในปี 2535 โดยจ้างเครือเชอราตันบริหารอยู่ระยะหนึ่ง และหลังจากเชอราตันได้ถอนตัวออกไป กงกฤชได้เข้ามารับหน้าที่ดูแล กิจการโรงแรมอย่างเต็มตัว ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

เขายอมรับว่าในช่วงเปิดบริการสีมาธานีระยะแรกนั้น ต้องทำงานอย่างหนัก เพราะต้องปรับการทำงานให้เข้าถึงคนในพื้นที่ให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างพฤติกรรมให้คนท้องถิ่นกล้า ที่จะมาใช้บริการโรงแรมให้ได้ โดยเฉพาะในส่วนของห้องอาหาร และจุดบันเทิงประเภทต่างๆ เพราะคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังคิดว่าการเข้าไปใช้บริการในโรงแรมต้องใช้เงินค่อนข้างมาก

ยิ่งในห้วงกว่า 3 ปีที่เศรษฐกิจตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ โรงแรมสีมาธานีประสบปัญหาในเรื่องรายได้ไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น เขาแก้ปัญหาด้วยการบริหารต้นทุน ตามการผันแปรของรายได้ กล้า ที่จะลดค่าการจัดการภายในทุกจุด ขณะเดียวกันก็ลดค่าบริการใน Outlet ต่างๆ ลง และหันมามุ่งขายปริมาณเป็นหลัก เพื่อสร้างกระแสเงินสดหมุนเวียนประคองกิจการให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปก่อน

อย่างไรก็ตาม ในช่วง ที่กำลังซื้อของตลาดบริการหดตัวอย่างหนักนั้น กงกฤชเล่าว่า โรงแรมสีมาธานียังถือความได้เปรียบเจ้าของกิจการรายอื่นในภาคอีสานอยู่ไม่น้อย เพราะเขาได้วางแผนกระจายความเสี่ยงไว้ก่อนหน้าหลายปี โดยไม่มุ่งเน้นการขายไว้ ที่ตลาดหน่วยงานราชการหรือเอกชนเท่านั้น แต่ได้พยายามสร้างฐานตลาดจับลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติควบคู่มาด้วยกัน

ด้วยการใช้จุดขายของจังหวัดนครราชสีมา และกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ ที่โดดเด่นในด้านแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน ร่องรอยดั้งเดิมแห่งอารยธรรมขอม ซึ่งตลาดกลุ่มนี้เป็นแหล่งรายได้ ที่เข้ามาทดแทนกำลังซื้อของลูกค้าหน่วยงานราชการที่งดการใช้โรงแรมเป็นสถานที่ประชุมสัมมนา ขณะที่บริษัทเอกชนเองก็ลดงบประมาณ เพื่อการนี้ไปจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

กงกฤชกล่าวว่า เป็นความโชคดีของเขาเช่นกัน ที่ได้มีโอกาสทำงานในหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจของชาติอย่างสภาพัฒน์นานถึง 7 ปี ประสบการณ์ ที่ถูกฝึกให้คิด และทำงานแบบมีการวิเคราะห์วางแผนล่วงหน้านั้น ทำให้เขานำมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจมาโดยตลอด โรงแรมสีมาธานีมีการวางแผน เพื่อให้ถึงเป้าหมายแต่ละระดับทุกๆ 3 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us