Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
Turning Numbers into Knowledge             
 





เปลี่ยนตัวเลขให้เป็นความรู้

ใครที่เคยเช็กอีเมลของตัวเองตอนเช้าวันจันทร์ แล้วเจออีเมล 35 เรื่องรออยู่ คงจะซาบซึ้งกับความหมายของการล้นเกินของข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้มาจากเพื่อน เพื่อนร่วมงาน พนักงาน ลูกค้า หรือ supplier เหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของตัวเลขทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในตาราง แผนภูมิ และกราฟ หรือเป็นข้อมูลดิบและสถิติ

ในหนังสือความยาว 38 บทสั้นๆ เล่มนี้ Jonathan Koomey ได้สร้างเครื่องมือที่จะทำให้คุณสามารถจัดการกับตัวเลขได้โดยเฉพาะ ทำให้คุณสามารถอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข และนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับการเตรียมและวิเคราะห์สถิติแต่อย่างใด นั่นเป็นเพียงหัวข้อหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เท่านั้น แต่หนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายที่กว้างกว่านั้นมาก Koomey ต้องการให้ผู้อ่านของเขา มีเครื่องมือที่จะใช้รวบรวมข้อมูลความรู้ที่ได้จากตัวเลข และนำข้อมูลความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

คุณควรเชื่อตัวเลขหรือไม่

หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 5 ส่วน

ส่วนที่ 1 สิ่งที่ควรรู้
ส่วนที่ 2 เตรียมพร้อม
ส่วนที่ 3 ประเมินสิ่งที่คนอื่นวิเคราะห์ไว้
ส่วนที่ 4 วิเคราะห์ด้วยตนเอง
ส่วนที่ 5 แสดงผลการวิเคราะห์ของคุณ

แต่ละส่วนแบ่งเป็นหลายบท แต่ละบทมีความยาวเพียง 7-10 หน้าเท่านั้น อย่างเช่นในส่วนที่ 3 'ประเมินสิ่งที่คนอื่นวิเคราะห์ไว้' ประกอบด้วยบทต่างๆ ดังนี้

- ตรวจสอบที่มาของตัวเลข Koomey เตือนว่า แม้แต่ตัวเลขที่มาจากผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนั้นโดยตรง ก็อาจจะเชื่อถือไม่ได้ เขาแนะให้ผู้อ่านตรวจสอบผู้ที่ให้ข้อมูลตัวเลขนั้นอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบที่มาของตัวเลขนั้นด้วย

- กลั่นกรองข้อเท็จจริง เพื่อค้นหาความจริงออกมาให้ได้จากตัวเลข Koomey แนะให้เราประเมินตัวเลขนั้นด้วยสามัญสำนึกและประสบการณ์ของเราเอง รวมทั้งขอให้ผู้รู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียช่วยประเมินให้ด้วย

- แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความเห็น Koomey ชี้ว่ากลเม็ดในการเขียนโน้มน้าวใจอย่างง่ายๆ วิธีหนึ่งที่มักจะพบเสมอ คือ การเสนอข้อเท็จจริงที่มีการเพิ่มความคิดเห็นในเชิงโน้มน้าวใจเข้าไปอย่างแนบเนียน ดังนั้น หากคุณพบข้อความที่เขียนในโครงสร้างดังนี้ "ข้อเท็จจริงนี้เป็นความจริง ดังนั้น คุณควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้" ขอให้ระวังสารโน้มน้าวใจที่แฝงอยู่นั้นให้ดี ผู้ประพันธ์กล่าวต่อไปว่า เมื่อพบกับข้อความในลักษณะนี้ จะต้องตัดส่วนที่เป็นความเห็นทิ้งไปเสียก่อน จึงจะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย หรือประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

หัดวิเคราะห์ด้วยตนเอง

ส่วนที่ 4 ของหนังสือเป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง การแก้ปัญหาใดๆ ก็ตาม เริ่มต้นด้วยการรู้จักใช้เทคนิคใดๆ ก็ได้ ที่สามารถจะทำให้เห็นธรรมชาติของปัญหา รวมถึงมองเห็นทางออกต่างๆ ที่เป็นไปได้ เทคนิคที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการมองปัญหาคือ การใช้เวลาอย่างเงียบๆ สำหรับการพินิจพิจารณา "แล้วปล่อยให้ทางแก้ผุดลอยขึ้นมาเองในหัวของเรา" เราอาจใช้เวลาเงียบๆ เพื่อจดทางแก้ไขปัญหาทุกทางที่เป็นไปได้ เพื่อลองคิดว่าถ้าทำตามวิธีแก้ปัญหาแต่ละวิธีนั้นจะได้ผลเป็นอย่างไร เพื่อพิจารณาว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่ หรือเพื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดเท่าที่หาได้

เนื้อหาในส่วนนี้ยังครอบคลุมถึงวิธีเผชิญกับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น และอาจทำให้คุณล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา ประโยชน์ของการใช้หนังสืออ้างอิง แหล่งค้นคว้า และบรรณารักษ์ ประโยชน์ของการหมั่นคิดเปรียบเทียบและเขียนสิ่งที่อาจเป็นไปได้ออกมา ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงแก่นของปัญหา ข้อมูลดิบจะมีประโยชน์มากในขั้นตอนนี้ และจะมีประโยชน์มากที่สุดหากได้รับการตรวจสอบซ้ำๆ เพื่อคัดแยกส่วนที่ผิดพลาดออกไป

การสร้างแบบจำลองทำให้สามารถพินิจพิจารณาปัญหาได้อย่างใกล้ชิด และมองเห็นทางออกของปัญหาได้ง่ายขึ้น การคาดการณ์และข้อมูลเพิ่มเติมจากคนอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ที่ให้ตัวเลข จะช่วยยืนยันความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ของคุณ และทำให้คนอื่นๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us