Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
หาโรงเรียนให้ลูก             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ผมเขียนหนังสือเล่มใหม่มาเล่มหนึ่ง ถือโอกาสแนะนำให้ท่านผู้อ่าน

"ภาพยุทธศาสตร์ใหญ่การศึกษาในต่างประเทศของสังคมไทย จะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่" นี่คือบทสรุปทางความคิดของหนังสือเล่มนี้ ที่มุ่งมองไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ในการเสริมความสามารถแข่งขันระดับโลกของสังคมไทย

- เราจะต้องสร้างคนที่สามารถทำงานกับชนเผ่าอื่นๆ ในโลกได้ โดยไม่จำกัดพื้นที่ว่าจะอยู่ในประเทศไทย Globalization ในปรากฏการณ์หนึ่งที่สำคัญคือ พื้นที่ โอกาส และการทำงานในประเทศของคนไทยแคบลง

- บุคคลที่จะส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ระดับมัธยม ควรจะเชื่อมโยงเข้ากับยุทธศาสตร์สร้างคนของสังคม มิใช่เพื่อสร้างโอกาสตนเองมากกว่าคนอื่นๆ ในสังคม หากจะต้องสร้างทรัพยากรบุคคลของสังคมไทย ในกระบวนการสร้างชาติไทย ให้มีความสามารถแข่งขันในระดับโลก เพื่อดำรงในโลกในฐานะสำคัญและคงบุคลิกของตนเอง

เนื้อหาต่อจากนี้ เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้

กระแสชาวเอเชียศึกษาตะวันตกแรงมาก

ภาพที่ชัดเจนเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา กับการรุกเข้ามาของระบบอาณานิคม โดยเฉพาะอังกฤษ ในย่านนี้ ในช่วงรัชกาลที่ 4 มานั้น ในที่สุดระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ของราชสำนักไทยก็เกิดขึ้น เป็นระบบเศรษฐกิจการค้าครั้งแรก พร้อมๆ กับการเข้ามาครอบงำอย่างสิ้นเชิงของบรรดากิจการในระบบอาณานิคม

นี่คือสถานการณ์ครั้งแรกของเมืองไทยที่สำคัญ ก่อให้เกิดการตื่นตัวอย่างสำคัญในการเรียนรู้ตะวันตก หรือระบบอาณานิคมสมัยนั้น รัชกาลที่ 5 ดำริให้พระราชโอรส ข้าราชบริพาร และขุนนาง ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นระลอกๆ

การศึกษาในตะวันตกครั้งนั้น มีผลหลายประการต่อสังคมไทยที่พัฒนาต่อเนื่องมา ไม่ว่าการดำรงฐานะประเทศอย่างอิสระพอสมควร การพัฒนาประเทศเข้าสู่การผลิตและเศรษฐกิจสมัยใหม่มากขึ้น รวมทั้งการเมือง การปกครอง และการต่างประเทศ

ขณะนั้นประเทศในย่านนี้ ที่อยู่ภายใต้อาณานิคมเป็นเช่นไรในเรื่องนี้ ผมไม่มีข้อมูลแน่ชัด แต่ก็คงคาดไม่ยากว่า มีผู้คนจำนวนไม่น้อยจากประเทศเหล่านั้น หลั่งไหลเข้าศึกษาหาความรู้จากระบบอาณานิคม เพื่อเป็นเครื่องมือของระบบในการปกครองประเทศอาณานิคมต่อไป

ภาพสะท้อนเหล่านี้กำลังหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ในศตวรรษ 21 ที่ดูตื่นตาตื่นใจอย่างมากทีเดียว

นั่นคือขบวนอันยิ่งใหญ่ของชาวเอเชีย กำลังเข้าสู่ระบบการศึกษาของตะวันตกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

เกาหลีใต้ มีกระแสการตื่นตัวไปศึกษาต่อต่างประเทศกันมากตั้งแต่มัธยม ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะผ่านวิกฤติการณ์มามากเพียง ใด BusinessWeek เดือนสิงหาคม 2544 รายงานว่าตัวเลขการเรียนต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 1998 (2541) จากระดับไม่ถึง 70,000 คน ขึ้นสู่ระดับ 200,000 คน ในปี 2000 (2543)

ชาวเกาหลีใต้ระดับชนชั้นกลาง ทุ่มเทเงินทองประมาณ 70% ของรายได้ทั้งหมด เพื่อการศึกษาของบุตรหลานในต่างประเทศ นิตยสารฝรั่งเล่มนี้ เชื่อว่า เป็นแรงบันดาลใจอย่างสูง กับการต้องการเรียนมหาวิทยาลัยที่ดีระดับโลก เพื่อเพิ่มโอกาสที่ดีของพวกเขาในโลกยุคใหม่

ในปี 2000 ชาวเกาหลีใต้ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นระบบการศึกษาแบบตะวันตกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 20% สำหรับนิวซีแลนด์ ชาวเกาหลีใต้ เป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดที่สนใจเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา

นี่คือประเทศที่เผชิญวิกฤติการณ์จาก Globali-zation อย่างจัง มิตินี้มีความหมายมากกว่าที่กล่าวกันว่าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีของตะวันตก หากผมเชื่อว่า จิตสำนึกของพวกเขากำลังต่อสู้กับการคุกคามของโลกยุคใหม่ที่เข้มข้นและดุเดือดมากขึ้น

จีนเป็นประเทศที่กระโจนเข้าสู่การศึกษาแบบตะวันตกอย่างรวดเร็ว รุนแรงที่สุดในขณะนี้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ที่กำลังเผชิญหน้ากับระบบใหญ่ของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก หรือมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก จีนส่งนักเรียนเข้าเรียนระดับมัธยมที่นิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ จนกลายเป็นชนชาติที่มีนักเรียนระดับมัธยมมากที่สุดในประเทศนั้น เป็นครั้งแรกในปี 2000 นี้เอง ส่วนประเทศออสเตรเลีย การเข้าเรียนของชาวจีนก็พุ่งพรวดพราดเพิ่มขึ้นถึง 69% เป็นประมาณ 15,000 คนแล้ว

สำหรับโรงเรียนประจำหรือโรงเรียนที่มิใช่ของรัฐบาลอังกฤษ จำนวนนักเรียนจากจีนก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวเช่นเดียวกัน จากประมาณ 500 คนในปี 1999 ทะลุ 1,000 คนในปี 2000 (รายงานของ Independent School Council)

ข้อมูลโดยรวมของผู้ศึกษาในสหราชอาณาจักรในปี 1998 พบว่ามาเลเซียครองอันดับสอง มากถึงเกือบ 20,000 คน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย รวมๆ กันแล้วมากกว่า 5 หมื่นคน

สำหรับสหรัฐอเมริกา ผมไม่สามารถหาตัวเลขที่ชัดเจน แต่เท่าที่ศึกษา Profile โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ จะพบว่ารับนักเรียนต่างชาติในระดับเดียวกับอังกฤษประมาณ 10% ของนักเรียนทั้งหมด ในส่วนของความหลากหลายของนักเรียน โรงเรียนในสหรัฐฯ มักจะระบุว่านักเรียนผิวสีโดยเฉลี่ยเกือบๆ 30% โดยในจำนวนนี้จะมีสิ่งที่เขาเรียกว่า Asian/Asian-American ในสัดส่วนที่มากที่สุด หรือประมาณ 1 ใน 3 ของบรรดาผิวสี

ส่วนในแคนาดา เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ชาวเอเชียมีสัดส่วนเข้าเรียนตั้งแต่มัธยมมากที่สุด ทั้งนี้ ตัวเลขโรงเรียนชั้นนำ โดยเฉพาะเอกชนในประเทศนี้รับนักเรียนต่างชาติในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บางโรงเรียนสูงถึง 30% เลยทีเดียว

โดยภาพรวมแล้วทั้งอังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จนถึงสหรัฐอเมริกา นักเรียนจากเอเชียครองที่นั่งนักเรียนต่างชาติมากที่สุด ในอังกฤษมากกว่า 40% ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทุกระดับมีมากกว่า 70% (ในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นจาก 110,000 ในปี 1998 มาเป็น 140,000 ในปี 2000) ในสหรัฐฯ และแคนาดา ผมไม่สามารถหาตัวเลขได้แน่นอน แต่เข้าใจว่ามากกว่า 50% มาจากชาวเอเชีย โดยเฉพาะแคนาดาน่าจะมีตัวเลขสูงกว่านี้ เพราะโรงเรียนมัธยมในแคนาดา สัดส่วนรับนักเรียนต่างชาติในจำนวนที่สูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงไม่ถึง 5 ปีมานี้เอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us