Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 ธันวาคม 2547
เดลต้าทุ่ม300ล.ผุดโรงงาน             
 


   
search resources

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์, บมจ.
เดลต้า เอนเนอร์จี้ ซิสเต็มส์
Electronic Components




DELTA เตรียมผุดโรงงานแห่งใหม่ที่ภาคตะวันออก มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท รองรับการขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะการย้ายไลน์การผลิตของโรงงาน DES จากยุโรปมาที่ไทยตามแผนลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างได้ผล อันจะทำให้รายได้ของบริษัทฯเติบโตต่อเนื่อง

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะโชว์ตัวเลขออกมาดีขึ้นมากกว่าทุกไตรมาสที่ผ่านมาเพราะบริษัทได้ตัดขาดทุนของบริษัท เดลต้า เอนเนอจี ซีสเต็ม จำกัด (DES) จากการดำเนินงานออกหมดแล้วตั้งแต่ต้นปี และไตรมาสสุดท้ายถือเป็นช่วงไฮซีซันที่ DELTA จะมีผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง

ผลจากบริษัทฯได้ย้ายไลน์การผลิตส่วนใหญ่ มาไว้ที่โรงงานเดลต้าในไทย เพราะต้นทุนถูกกว่า โดยเฉพาะค่าแรงที่ไทยถูกกว่าที่ยุโรปมาก จะทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก แต่อาจมีเพียงบางสายงานเท่านั้นที่ยังคงไว้ที่ยุโรป เพราะจะเกื้อหนุนในการทำงานให้กับบริษัท เนื่องจาก DELTA ยังส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในยุโรปด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของด้านการตลาดให้กับบริษัทด้วย

นายอนุสรณ์กล่าวถึงการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ก่อนหน้านี้มีแผนว่าจะสร้างที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง แต่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทบทวน และตัดสินใจอีกครั้งว่าจะก่อสร้างที่ใด ซึ่งยังยืนยันว่าอยู่ในภาคตะวันออกเพราะจะเน้นการลงทุนในแถบนี้ โดยคาดว่าจะลงทุนประมาณ 300-400 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินการนี้ การสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อรองรับการขยายงานในอนาคต ที่บริษัทเตรียมจะผลิตสินค้าตัวใหม่ๆ ออกสู่ตลาดในเกือบทุกตัวไลน์การผลิต ซึ่งเริ่มวางแผนแล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ต้นปี'48 โดยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่คอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์และโทรคมนาคมที่ตลาดเติบโต ขึ้นต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ตามการเติบโตของธุรกิจทั้งสองประเภท

ขณะที่การซื้อกิจการของ DES มานั้น เพื่อจะหนุนในการผลิตและพัฒนาสินค้า สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัปพลาย (SPS) ที่เป็นสินค้าที่ทำรายได้หลักให้กับ DELTA มาตลอดนั่นเอง แต่การผลิตของ DELTA ไม่ใช่เทคโนโลยีระดับสูง และการที่ซื้อ DES มานั้นเพื่อหวังที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิต SPS ในระดับสูงได้มาตรฐานอีกขั้นหนึ่งตามแบบสากล

สำหรับการผลิตที่ไม่ต้องเน้นการใช้เทคโนโลยี แต่ใช้แรงงานทำบางอย่าง DELTA ได้ว่าจ้างให้ผู้ผลิตรายย่อยในประเทศตามต่างจังหวัดผลิตให้ แทนการผลิตเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ หลังจากนั้นบริษัทจึงจะนำมาผลิตอีกขั้นเพื่อให้เป็นรูปแบบสินค้าที่สำเร็จและส่งให้ลูกค้าเป็นลำดับต่อไป ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้

หลังจากก่อนหน้านี้ที่ DELTA ไปซื้อกิจการของ DES มาจากกลุ่ม ASCOM ซึ่ง DES มีผลการดำเนินงานขาดทุน แต่ DELTA กล้ากระโดดเข้าไปซื้อ เพราะมองถึงอนาคตมากกว่า แม้ว่าปีแรกที่ซื้อบริษัทดังกล่าวมาทำให้ต้องรับรู้ผลขาดทุน เข้ามาในงบการเงินมาตลอดตั้งแต่ปีก่อน แต่เมื่อมองระยะยาวแล้วจะหนุนการทำธุรกิจในอนาคตได้อย่างดี และเริ่มจะเห็นผลสะท้อนกลับมาแล้ว

ปัจจุบัน DELTA หันมาเน้นผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ให้กับธุรกิจโทรคมนาคมและรถยนต์มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเอื้อประโยชน์ได้มาก อีกทั้งรายได้หลักมาจากการจำหน่าย SPS เช่นกัน โดยจะเห็นได้ชัดจากการที่บริษัทได้ผลิตชาร์จเจอร์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอื่นๆ ในรถยนต์ที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบริษัทได้เน้นมากขึ้นในช่วงที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตกต่ำเมื่อหลายปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นการเน้นไปที่ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตย่อมได้เปรียบ

นายอนุสรณ์กล่าวถึงการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา ซึ่งถูกมองว่าจะทำให้ผู้ประกอบการที่ส่งออก ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ผู้บริหารของ DELTA ก็ยืนยันว่าบริษัทได้ทำการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องค่าเงินไว้แล้วด้วยการทำ hedging แต่อาจส่งผลต่อกำไรที่ลดลงกว่าเดิมบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของ DELTA ไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 บริษัทมีกำไรสุทธิ 675.11 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 57 สตางค์ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 312.88 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 26 สตางค์ หรือเพิ่มขึ้น 116% ผลจากกำไรขั้นต้นในการดำเนินงานสูงขึ้น อันเป็นผลจากส่วนผสมทางการตลาดของ DELTA ซึ่งไม่รวมกับ DES ที่ซื้อมา และยอดขายของ SPS ที่เป็นตัวหลักในการทำเงินและมีกำไรขั้นต้นสูงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานสำหรับการที่รวมกิจการของ DES ลดลงจาก 354 ล้านบาทเหลือ 18 ล้านบาท ซึ่งเป็น ไปตามเป้าหมายของบริษัทที่กล่าวไว้ว่าปีนี้ DELTA จะปรับลดส่วนต่างการปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานของบริษัทย่อยที่ซื้อมา เพราะไม่ต้องการแบกรับภาระนานเกินไป อันจะส่งผลให้งบการเงินรวมดูไม่สวย และในปี 48 ทุกอย่างจะลงตัวหลังจาก ผนึกกำลังและหนุนการทำงานต่อกันได้ต่อเนื่องมากขึ้นทั้งตัวแม่และบริษัทลูก

สำหรับผลการดำเนินงานปี 48 บริษัทยังคงตั้งเป้าการเติบโตไว้ปีละประมาณ 20% แม้ว่าผลดีจากการย้ายการผลิตและการปรับโครงสร้างของบริษัทแม่กับลูกแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อต้นทุนการดำเนินงานลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้รายได้ของบริษัทก้าวกระโดดต่อเนื่องเหมือนที่ผ่านมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us