|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ไทยโอเลฟินส์" ศึกษาขยายไลน์ธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หวังรองรับยามอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตกต่ำ ด้านบล.นครหลวงไทย มองปีหน้าธุรกิจปิโตรฯยังรุ่ง คาดกำลังการผลิต TOC โตเป็น 8.9 แสนตันในปี 48 และ 1.1 ล้านตันในปี 49 แนะลงทุน ด้าน "กิมเอ็ง" ให้ราคา 98 บาทปี48 คาดกำไรโต 23% พร้อมจ่ายเงินปันผล 2 บาทต่อหุ้น
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) TOC เปิดเผยความคืบหน้าการศึกษาการลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องว่า ขณะนี้ได้สรุปในระดับหนึ่งแล้วว่า TOC จะมีการขยายไลน์ธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หลังจากที่ได้มีการศึกษาการลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องหลายธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งล่าสุดหนึ่งในธุรกิจที่ TOC คาดว่าจะตัดสินใจเข้าลงทุนคือ การลงทุนในธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรวมทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่ ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโครงการผลิตเอธาลีนไกคอล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยร่วมกับกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศจากประเทศอิตาลี
"การขยายไลน์ธุรกิจดังกล่าวของ TOC เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตเมื่อถึงเวลา ที่วัฏจักรของธุรกิจปิโตรเคมีเปลี่ยนเป็นขาลง หรือเมื่อถึงไซเคิลอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตกต่ำลงจากที่ในขณะนี้ธุรกิจปิโตรเคมีกำลังเป็นขาขึ้นอยู่" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม นายวุฒิชัย สัตยพานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการบริหาร บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯว่า บริษัทได้ทำการศึกษาการลงทุนในธุรกิจต่อเนื่องในหลายธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งธุรกิจ PVC เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทำการศึกษาทั้งความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และอนาคตของธุรกิจตลอดจนวิธีการเข้าสู่ธุรกิจที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท แต่ยังไม่มีข้อสรุปผลการศึกษาที่ชัดเจน
ด้านนางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย ระบุไว้ว่า กลุ่มปิโตรเคมีเป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนในปี 2548 เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตที่ต่อเนื่อง โดยคาดว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปี 48 จะเป็น 8.9 แสนตัน จากปัจจุบันที่กำลังการผลิตอยู่ที่ 5 แสนตัน และในปี 49 ที่จะเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านตัน โดยกลุ่มที่แนะนำลงทุนคือบริษัทไทยโอเลฟินส์ (TOC)
บทวิเคราะห์บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยไว้ว่า ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำในหุ้นของบมจ. ไทยโอเลฟินส์ (TOC) จากซื้อลงทุนเป็นซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมายในปี 2548 ที่ ราคา 98 บาท ด้วยวิธีคิดลดกระแส เงินสด (DCF) โดยเชื่อว่าราคาโอเลฟินส์จะยังคงสูงอยู่ในปีหน้า เนื่องจากความต้องการที่ยังคงสูงอยู่และอุปทานที่ขาดแคลนในภูมิภาค นอกเหนือไปจากปัจจัยบวกในเรื่องของราคาน้ำมันที่ยังคงสูงอยู่บวกกับคาดการณ์ว่าทางบริษัทจะมีอัตราการเติบโตของผลกำไรที่โดดเด่นถึง 23% ในปีหน้า จากการที่ราคาส่วนต่างจำหน่าย โอเลฟินส์กับวัตถุดิบ (Spread margin) ยังรักษาระดับสูงได้ที่เฉลี่ย 400 เหรียญ/ตันจากระดับปกติที่ประมาณ 200-300 เหรียญ/ตัน และจะยังมีกำลังการผลิตเอทิลีนส่วนขยายอีก 300,000 ตัน ที่จะเริ่มผลิตได้ในเดือนมกราคมนี้มาช่วยผลักดันผลกำไรอีกด้วย
"เราคาดว่า TOC จะบันทึกกำไรพิเศษจำนวน 1,339 ล้านบาท จากการถือหุ้นในสัดส่วน 50% ใน บริษัทบางกอกโพลีเอธิลีน (BPE) ในไตรมาส 4/47 โดยทาง BPE ได้ขายหุ้นของ TOC ที่ทาง BPE ถืออยู่ในสัดส่วน 4.05% หรือ 33.25 ล้านหุ้น ให้แก่ PTT ที่ราคา 46 บาท/หุ้น และได้ขายส่วนที่เหลืออีก 3.06% หรือ25.11 ล้านหุ้น ให้แก่บริษัท Oman Oil S.A.O.L. (OOC) ที่ราคาเฉลี่ย 69 บาท/หุ้น เมื่อตอนสิ้น เดือน พ.ย. ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาต้นทุนเฉลี่ยของหุ้นที่ขายไปนั้นอยู่แค่เพียง 10 บาท/หุ้น เรา จึงคาดว่า BPE จะบันทึกกำไรจากการขายหุ้นส่วนนี้ประมาณ 2,679 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4/47 ซึ่งเร็วกว่าที่เราได้เคยคาดไว้ว่าทาง BPE จะขายหุ้นที่เหลือจำนวน 3.06% ให้แก่นักลงทุนเฉพาะเจาะจงในปีหน้านี้"
จากผลดังกล่าวจึงทำการปรับการคาดการณ์ผลกำไรในปี 2547 เพิ่มขึ้น 13% เป็น 6,807 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้นที่ 8.29 บาท เพิ่มขึ้นถึง 384% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกันเราได้ปรับการคาดการณ์ผลกำไรปี 2548 ลง 7% เป็น 8,375 ล้านบาท เนื่องจากกจะมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรพิเศษจำนวน 741 ล้านบาท (ส่วนของหุ้น TOC ที่ขายไป 3.06% ให้ OOC) จาก BPE ในไตรมาส 4/47 จากก่อนหน้านี้ที่มีการคาดว่าจะบันทึกในปีหน้า
หุ้น TOC ยังคงมีราคาที่ถูกอยู่ โดยซื้อขายที่ PER ปี2548 อยู่เพียง 6.6 เท่า ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มี PER เฉลี่ยอยู่ที่ 10 เท่า และมีส่วนต่างจากราคาเป้าหมาย (Upside) ที่ 98 บาท อยู่สูงถึง 44% เราคาดว่าทางบริษัทจะจ่ายเงินปันผลที่ 2 บาท/หุ้น หรือคิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทนที่ 2.9% ณ ราคาหุ้นในปัจจุบัน
ส่วนความเคลื่อนไหวราคาหุ้น TOC ล่าสุด (17 ธ.ค.) ราคาปิดที่ 68 บาท มูลค่าการซื้อขาย 198.96 ล้านบาท
|
|
|
|
|