Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
ออทิสติคช็อก Silicon Valley ระบาดเป็นไฟลามทุ่ง             
 





สำหรับคนเป็นพ่อแม่แล้ว การได้รู้ว่าลูกน้อยเป็นออทิสติค (autistic) เป็นความทารุณของจิตใจชนิดสุดจะบรรยายได้

ออทิสติคเป็นอาการผิดปกติที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก คือ การหมกมุ่นแต่กับตัวเอง ขาดการตอบสนองกับผู้คน และขาดการ ตอบสนองต่อการกระทำต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารจำกัดมาก เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้มักไม่สามารถเรียนรู้ทักษะการพูด

เพราะตลอด 2 ปีแรกที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกและเติบโตขึ้นมานั้น ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดีลูกน้อยมีพัฒนาการตามปกติ มีการตอบสนองกับโลกรอบตัวเหมือนเด็กทั่วไป และเริ่มหัดพูดได้แล้ว

แต่จู่ๆ ลูกน้อยก็เกิดปัญหาทางระบบประสาทขึ้นมาแบบปัจจุบันทันด่วนโดยไม่รู้สาเหตุ แล้วหยุดพูดไปเสียเฉยๆ

พ่อของเด็กน้อยที่ป่วยเป็นออทิสติครายหนึ่ง เล่าถึงเหตุการณ์ร้าวรานใจที่เกิดกับลูกน้อย เสมือนมีสายฟ้าฟาดกลางดวงใจของเป็นผู้เป็นพ่อแม่ว่า "เหมือนเรายืนดูลูกชายสุดแสนจะน่ารักหายตัวไปต่อหน้าต่อตา"

เพราะเมื่อลูกชายตัวน้อยอายุได้ 2 ขวบ กำลังหัดพูดเหมือนเด็กทั่วไปที่เริ่มต้นจากคำง่ายๆ ว่า พ่อ หรือแม่นั้น จู่ๆ เสียงพูดนั้นก็เงียบหายไป กลายเป็นเด็กน้อยที่ตกอยู่ในความเงียบ โดยไม่รู้สาเหตุอีก 6 เดือนต่อมา เด็กน้อยผู้น่าสงสารก็จำชื่อตัวเองไม่ได้ จำหน้าพ่อแม่ไม่ได้ การจะทำให้เขาเรียนรู้วิธีชี้นิ้วมือได้นั้น ต้องเข้าคอร์สการบำบัดรักษาด้วยภาษาท่าทางอย่างจริงจังต่อเนื่องนานถึง 1 ปีเต็ม

และเมื่อเด็กน้อยคนนี้อายุได้ 9 ขวบ หลังจากเข้ารับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง เขาพูดได้เพียง 20 คำ !

นิตยสาร Wired ฉบับเดือนธันวาคม 2001 พูดถึงสถานการณ์อันน่าวิตกเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วย ออทิสติคในสหรัฐอเมริกาว่า ขณะนี้มีจำนวนสูงมากราว 450,000 คน โดยเฉพาะในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เฉพาะแคลิฟอร์เนียรัฐเดียว มีสถิติเด็กเป็นออทิสติคทวีจำนวนขึ้นจนน่าตกใจเห็นได้จากการที่ Department of Developmental Services ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐให้ตัวเลขว่า เดือนสิงหาคม 1993 มีรายชื่อ เด็กออทิสติคขั้นที่หนึ่ง (level-one autism) 4,911 ราย อยู่ในระบบฐานข้อมูลของผู้รับการสงเคราะห์

ล่วงเข้ากลางทศวรรษ 1990 ตัวเลขการเพิ่มจำนวนยิ่งถีบตัวสูงขึ้น พอถึงปี 1999 ผู้เข้ารับการสงเคราะห์เพิ่มจากปี 1993 กว่า 2 เท่าตัว ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2001 มีผู้เข้ารับการสงเคราะห์ถึง 15,441 ราย และปัจจุบันมีคนไข้ที่เป็นออทิสติคขั้นที่หนึ่ง (85% เป็นเด็ก) เข้ารับการสงเคราะห์เฉลี่ยวันละกว่า 7 ราย

ไม่ใช่เฉพาะแคลิฟอร์เนียที่กำลังช็อกกับการแพร่ระบาดเป็นไฟลามทุ่งของโรคออทิสติค แต่ทั่วโลกก็กำลังสะท้านสะเทือนกับการทวีจำนวนของคนไข้ออทิสติคและ Asperger's Syndrome (เป็นอาการผิดปกติที่เบากว่าออทิสติค เด็กที่เป็นจะมีลักษณะบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวและการเข้าสังคมพื้นฐานลักษณะเด่นคือ ไม่สามารถอ่านภาษาท่าทาง ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการสบตา และบ่อยครั้งจะง่วนอยู่กับการพูดกับตัวเองเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคขั้นสูง) จนต้องระดมกำลังกันทำงานวิจัยอย่างขนานใหญ่และเร่งด่วน

ออทิสติคเคยได้ชื่อว่าเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก คือในทารกเกิดใหม่ทุก 10,000 คน จะเป็นออทิสติคเพียงคนเดียว แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นโรคที่พบได้มากขึ้นคือ ราว 20 เท่าของสถิติเดิมเลยทีเดียว

สำหรับที่แคลิฟอร์เนียนั้น ปรากฏว่าสถิติการพบเด็กออทิสติคจำนวนมากจนน่าใจหายอยู่ที่ Santa Clara County ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Silicon Valley ศูนย์กลางอุตสาหกรรม IT ของสหรัฐอเมริกาและของโลก

ประเด็นน่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ ข้อมูลที่ได้ทั้งจากคลินิกและโรงเรียนใน Silicon Valley ระบุว่า พ่อแม่ของเด็กออทิสติคส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ ซึ่งพวกเขาเองก็มีพฤติกรรมของออทิสติค จนเป็นเรื่องปกติทั้งสำหรับครอบครัวและชุมชนด้วยซ้ำ

จึงมีเรื่องโจ๊กที่แซวกันเล่นจนชินชาในชุมชนศูนย์กลาง IT อย่าง Silicon Valley ว่า บรรดาโปรแกรมเมอร์คนสำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel, Adobe และ Silicon Graphics ที่มีพฤติกรรมการทำงานแบบเข้างานแต่เช้าแล้วกลับบ้านเอาตอนดึก รวมทั้งต้องกินอาหารหน้าจอคอมพิวเตอร์ระหว่างติดพันการใส่รหัสหลายชั่วโมงติดต่อกันนั้น ล้วนมีชีวิตอยู่ในกรอบของ Asperger's Syndrome ทั้งนั้น จนกระทั่งถึงขนาดขนานนาม Asperger's Syndrome ว่าเป็น "โรคของวิศวกร"

แม้กระทั่ง Bill Gates ผู้ก่อตั้ง Microsoft และอภิมหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกก็ยังได้รับการกล่าวขวัญถึงจากสื่อมวลชนอยู่เสมอว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอาการของโรคออทิสติค!

จากบุคลิกที่ Bill Gates มีความสนใจจดจ่อ แต่กับรายละเอียดทางเทคนิคเรื่องเดียวเคลื่อนไหวแบบเขย่าตัวตลอดเวลา (rocking motions) และน้ำเสียงที่พูดก็ราบเรียบด้วยโทนเสียงเดียว ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น!

2 ทวีปพบออทิสติคไล่เลี่ยกัน

การค้นพบโรคออทิสติครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นใน 2 ทวีปเกือบจะพร้อมๆ กัน คือ ทั้งในอเมริกาและยุโรป ปี 1943 Leo Kanner จิตแพทย์เด็กชาวอเมริกันตีพิมพ์ผลงานน่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ที่เขาสังเกตพบในเด็ก 11 คนที่โรงพยาบาล John Hopkins

ปีต่อมาคือ 1944 Hans Asperger กุมารแพทย์ในกรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย ซึ่งไม่เคยเห็นหรืออ่านผลงานของหมอ Kanner เลย ก็ตีพิมพ์ผลงานของตัวเองที่บรรยายถึงพฤติกรรมผิดปกติของเด็ก 4 คน

น่าแปลกคือทั้งหมอ Kanner และ Asperger ต่างก็ตั้งชื่อโรคประหลาดในคนไข้เด็กของพวกเขาเหมือนกันว่า autism ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ autos แปลว่าตัวเอง เพราะเด็กในความดูแลของพวกเขาต่างมีลักษณะร่วมเหมือนกันคือ ปฏิเสธโลกภายนอกแล้วขังตัวเองอยู่ในโลกของตัวเอง

ปี 1981 หลังจาก Asperger เสียชีวิตไปแล้ว 1 ปี Lorna Wing จิตแพทย์ชาวอังกฤษจึงนำชื่อของเขามาตั้งเป็น ชื่อโรคว่า Asperger's Syndrome ส่วนผลงานดั้งเดิมของเขาเพิ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1991

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาความก้าวหน้าขึ้นมากมายเพื่อฝึกพฤติกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้เด็กออทิสติคสามารถหาหนทางสื่อสารได้ อย่างไรก็ตาม เทคนิคเหล่านี้ต้องการปัจจัยเกื้อหนุนมหาศาลไม่ว่าจะเป็นจิตใจที่ยืนหยัดอดทน เวลา เงิน และความรัก แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว นับจากที่มีการค้นพบออทิสติคและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกว่า autism แต่วงการก็ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุของโรค ไม่มียามหัศจรรย์สำหรับการเยียวยารักษา และไม่มีหนทางรักษาที่แน่ชัดใดๆ ทั้งสิ้น

งบรักษาพยาบาลมหาศาล

เมื่อเด็กน้อยเป็นออทิสติค คนที่ต้องดิ้นรนหนักหน่วงที่สุดคือ พ่อแม่นั่นเอง เฉพาะการบำบัดรักษาที่บ้านเพียงอย่างเดียวต้องใช้งบถึงปีละ 60,000 ดอลลาร์หรือมากกว่า และต้องการการทุ่มเทจากพ่อแม่มากถึงขนาดต้องออกจากงาน (โดยเฉพาะผู้เป็นแม่) และติดต่อจัดทีมผู้เชี่ยวชาญร่วมกันทำงานนี้ ซึ่งต้องการเวลามากถึงสัปดาห์ละ 80 ชั่วโมง

ก่อนที่ลูกของพวกเขาจะได้รับการสงเคราะห์ในรูปของเงินช่วยเหลือจากรัฐ พ่อแม่ต้องวิ่งเต้นหาใบรับรองจากแพทย์ให้ได้ ซึ่งนั่นหมายถึงการต้องเข้ารับการทดสอบและสังเกตการณ์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง แม้คลินิกที่ได้ชื่อว่ามีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะก็ยังต้องใช้เวลานานมาก และสามารถวินิจฉัยให้ได้เพียงสัปดาห์ละ 2-3 รายเท่านั้น จึงมีรายชื่อคนไข้เข้าคิวรอเข้ารับการตรวจนานถึง 2-6 เดือนเลยทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us