|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.คุยฐานะของธนาคารพาณิชย์แข็งแกร่งขึ้นมาก กันสำรองเกินเกณฑ์แบงก์ชาติกว่า 34.4% ทำให้ไม่ต้องกันสำรองเพิ่มเติม พร้อมให้ความมั่นใจปี 48 แบงก์กำไรดีต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ธปท.ต้องเร่งแก้ไขในปีหน้า แม้สิ้นไตรมาสที่ 3 ลดเหลือเพียง 11.6% ส่วนคลังอนุมัติบง.เอไอจีไฟแนนซ์ และเกียรตินาคิน ยกฐานะเป็นแบงก์ภายใน 1-2 วันนี้
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 ว่า ธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(ROA) ในไตรมาส 3 ปีนี้อยู่ที่ 1.6 เทียบกับไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.3 หากเทียบกับไตรมาส 3 ปี 46 อยู่ที่ 0 ขณะที่ผลการดำเนินงานมีกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยกำไรทั้งระบบอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท
โดยเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบอยู่ที่ 12.9% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น่าพอใจเพราะเกินกว่าที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5% ส่วนสินเชื่อในไตรมาส 3 ที่พิจารณาจากงบดุลของธนาคารพาณิชย์จะโตประมาณ 9.5% หรือหากพิจารณาสินเชื่อมีการปรับมูลค่าการสำรองหนี้จัดชั้นแล้วขยายตัว 14.4%
สำหรับผลกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น และภาระการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ลดลง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในปี 2548 น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งในแง่ของการขยายสินเชื่อยังสามารถขยายตัวได้ดี ส่วนภาระในการกันสำรองหนี้มีน้อยลง และในแง่ต้นทุนด้านอื่นๆ ธนาคารพาณิชย์เองได้มีการรัดเข็มขัดมานานแล้ว เชื่อว่ายังจะดำเนินการเช่นนี้ต่อไป
"ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีการกันสำรองเกินกว่าที่ ธปท. กำหนดถึงร้อยละ 34.4 ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกันสำรองเพิ่มเติม และที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงและมีระบบการตรวจสอบภายในที่ดีขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ธปท.มองว่า ในปี 2548 ธนาคารพาณิชย์จะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำไร เพราะภาวะการแข่งขันที่รุนแรง คืออาจมีการแข่งขันด้านราคา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละธนาคาร
นางธาริษา กล่าวต่อถึงตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 ล่าสุดว่าอยู่ที่ 6 แสนกว่าล้านบาท หรือ 11.6% ถือว่าเอ็นพีแอลลดลงไปมาก เห็นได้ว่าเอ็นพีแอลมีคุณภาพดีขึ้น โดยเอ็นพีแอลที่ไหลย้อนกลับ(re-entry) ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 19,000 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 41,000 ล้านบาท และเอ็นพีแอลที่เกิดใหม่ (New NPL) อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท ซึ่งไตรมาส 2 อยู่ที่ 48,000 ล้านบาท สาเหตุที่เอ็นพีแอลมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้กู้มีความสามารถชำระหนี้มากขึ้น และธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น และมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งปรับปรุงให้ดีขึ้นในปีหน้า คือปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งเชื่อว่าการรอร่างกฎหมายแก้ไขให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) จะเป็นเครื่องมือที่ออกมาช่วยลดหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ได้
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องการยกระดับบริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) ขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาการยกระดับของ บง. 2 แห่ง คือ บง.เอไอจีไฟแนนซ์ และบง.เกียรตินาคิน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใน 1-2 วันนี้อย่างแน่นอน ส่วนรายอื่น ๆ ที่ยื่นขอยกระดับมานั้นกำลังทยอยส่งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
|
|
|
|
|