Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
วัยรุ่นเกาหลียุคเจเนอเรชั่น             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 





ทุกวันนี้ วัยรุ่นเกาหลีใต้มีความคิดกาวกระโดด เพื่อแสวงหาแนวทางการใช้ชีวิตสมัยนิยมตามแบบฉบับโลกตะวันตก

โซ แจ อุน และคิม ฮุน จุง มีความคิดที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการใช้ชีวิตท่ามกลางกระแสนิยม ทั้งคู่กำลังเป็นวัยรุ่นและดูมีความมั่นใจตัวเองและกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกาหลี สถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงโซล

ห้องพักของพวกเขามีความทันสมัย ภายในตู้เสื้อผ้าประกอบไปด้วยเสื้อผ้าหรูหรายี่ห้อดังจากต่างประเทศ แขวนรวมอยู่กับเสื้อผ้าแฟชั่นยี่ห้อท้องถิ่นไร้ชื่อเสียง

ทั้งคู่นิยมการชอปปิ้งตามย่านแฟชั่นต่างๆ ในเมืองหลวง โดยเงินที่ได้ล้วนแล้วแต่มาจากการเป็นติวเตอร์ สอนพิเศษภาษาอังกฤษให้กับเด็กนักเรียน และผลตอบแทนดังกล่าวหมดไปกับกิจกรรมการชอปปิ้งแทบทั้งสิ้น พวกเขาอาจจะเป็นวัยรุ่นที่ไม่มีความแตกต่างไปจากเด็กตะวันตก แต่วิถีชีวิตประจำวันในเกาหลีใต้กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

"เสื้อผ้าอาภรณ์จะมีความพิเศษ พวกเขาจะมองหาบางสิ่งบางอย่างใหม่ๆ เสมอ" โซบอก "พวกเขาจะเบื่อหน่ายต่อสิ่งที่ดูแล้วมันล้าสมัย"

ทั้งโซและคิมเป็นตัวอย่างที่น่าจับตามองของการปฏิวัติทางสังคม ที่บรรดาหนุ่มสาวเกาหลีใต้กำลังก้าวไปข้างหน้า ที่ซึ่งในอดีตพวกเขาและเธอพิสูจน์ให้เห็นช่วงที่ถูกครอบงำจากการปกครองเผด็จการ นี่คือการปฏิวัติที่ไม่ใช่ทางด้านการเมืองแต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจล้วนๆ

ปัจจัยพื้นฐานที่สะดวกสบายขึ้น เห็นได้ชัดจากวัยรุ่นเกาหลีใต้ และเด็กที่มีอายุประมาณ 20 ปี บางคนเริ่มมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้นและมีอิทธิพลต่อการบริโภค หากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วสังคมมนุษย์เงินเดือนชาวเกาหลีใต้ที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี ปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของประเทศ และเป็นผู้ตัดสินสังคมการบริโภค ซึ่งพวกเขามีเงินในการจับจ่ายและมีกำลังซื้ออย่างล้นเหลือ

"ประเพณีที่เป็นระบบอันน่ายกย่องของคนเกาหลีคือ ทำงานหนัก ใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยและเตรียมพร้อมเพื่ออนาคต" โซ เชง ฮุน ที่ปรึกษาแห่ง Bain & Co. consultant ในกรุงโซลชี้" แต่คนรุ่นใหม่ของเราสมัยนี้กำลังสนุกสนานจากความคิดที่ยังเด็กอยู่"

โซยังประหลาดใจอย่างยิ่ง "พวกเขาไม่มีความรู้สึกว่าตนเองสร้างมลทินอะไรเอาไว้"แน่นอนว่า พลังขับเคลื่อนวัฒนธรรมการบริโภคของหนุ่มสาวเกาหลีใต้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในกรุงโซล

ขณะที่เมือง Myongdong และ Dongdaemun ที่มีแหล่งชอปปิ้งเก่าแก่กำลังปรับและตกแต่งใหม่ เพื่อสนองตอบต่อกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นด้วยการนำแฟชั่นรุ่นใหม่ ทั้งเสื้อผ้า วิดีโอเกม สถานที่กลางแจ้งไว้สำหรับเต้นรำพร้อมกับเพลงป๊อปยอดนิยม

นอกจากนี้ชีวิตที่เร่งรีบทำให้การเติบโตของร้านสะดวกซื้อเกิดขึ้น ราวกับดอกเห็ดทั่วทุกมุมถนน ซึ่งมีอิทธิพลต่อหนุ่มสาวชาวเกาหลี รวมถึงโรงภาพยนตร์ระบบทันสมัยกำลังกลายเป็นธุรกิจที่เติบใหญ่ซึ่งว่ากันว่า กำลังสนับสนุนให้ภาพยนตร์ท้องถิ่นฟื้นคืนชีพอีกด้วย

ที่สำคัญร้านอาหารฟาสต์ฟูดและเครื่องดื่มจากโลกตะวันตก อาทิ แมคโด นัลด์ พิซซ่า ฮัท และสตาร์บัคส์ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อขยายสาขาในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง จากความต้องการอันล้นเหลือของหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้

จากสถิติของลูกค้าที่เข้ามาในห้างสรรพสินค้า Coex Mall ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซัมซุงแถบภาคตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโซล พบว่า 80% ที่เข้ามาชอปปิ้งจากทั้งหมด 1.5 แสนคนมีอายุต่ำกว่า 30 คน ทั้งนี้เกิดจากการออกแบบและการพัฒนาห้างสรรพสินค้าที่วางเป้าหมายลูกค้าไว้ที่วัยรุ่น นับตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่กลางปี 2000 สิ่งดึงดูดที่สำคัญหนีไม่พ้นโรงภาพยนตร์ 17 แห่ง พื้นที่ให้เช่าสำหรับร้านเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆ และร้านอาหารฟาสต์ฟูด

"ในอดีตที่ผ่านมา ลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของห้างสรรพสินค้าจะมีอายุช่วง 30-40 ปี" Lee Si-jae ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Coex Mall ชี้ "ทุกวันนี้กลับกลายเป็นคนหนุ่มสาวแล้ว"

การพัฒนาของสังคมยุคใหม่ ทำให้วัยรุ่นเกาหลีใต้ถูกยกระดับขึ้นกลายเป็นสังคมการบริโภคที่ก้าวหน้า บรรดาผู้สังเกตการณ์อธิบายไว้ว่า จากรายได้ของแต่ละครอบครัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 จนมาถึงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ปกครองทั้งหลายปล่อยปละละเลยเกี่ยวกับการใช้จ่ายของบุตรหลาน ซึ่งเป็นตัวสนับสนุนค่านิยมใหม่ๆ

ขณะเดียวกันตัวเลขร้านอาหารฟาสต์ฟูดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงร้านค้าสะดวกซื้อและอื่นๆ ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับลูกค้าวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้พวกเขาหางานพิเศษทำมากขึ้น เพื่อนำเงินมาจับจ่ายในกิจกรรมพิเศษ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษาที่มีเสรีภาพจากครอบครัวและกฎเกณฑ์มากขึ้น

ขณะเดียวกันวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ถูกเปิดเผยออกมาตามแนวทางจากฝั่งตะวันตกและกว้างมากขึ้น นับตั้งแต่รัฐบาลยกเลิกกฎเกณฑ์เข้มงวดบางอย่างให้กับนักท่องเที่ยวในปี 1989 ทำให้ตัวเลขการเดินทางของหนุ่มสาวและการออกไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ภาย ในบ้าน ต่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งเคเบิลทีวีและอื่นๆ รวมไปถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้งสองสิ่งช่วยเร่งสังคมให้เปลี่ยนแปลงและมีอำนาจพิเศษจากวัยรุ่นฝั่งตะวันตก

"การกำหนดวิถีชีวิตตนเองของวัยรุ่นสมัยนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว" เดวิด ริชาร์สัน กรรมการผู้จัดการแห่ง Taylor Nelson Sofres ที่คร่ำหวอดในการวิจัยตลาดกล่าว "เมื่อยุคดอทคอมพุ่งทะยานยิ่ง ทำให้เกิดการเร่งเร้าทางการเปลี่ยนแปลง วัยรุ่นสมัยนี้มีจินตนาการล้ำเลิศและเป็นไปอย่างกะทันหัน พวกเขาสามารถปรับตัวเองเข้ากับโลกภายนอกได้ตามความต้องการ"

อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มเศรษฐกิจในเกาหลีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากยุคบูมของผู้บริโภควัยหนุ่มสาว ได้แก่ ธุรกิจเครื่องนุ่งห่มที่ผลิตสินค้าออกมาตามความเร่าร้อนของลูกค้า ซึ่งมีความขัดแย้งจากกฎระเบียบยุคเก่าโดยสิ้นเชิง

จากการสำรวจของสมาคมเครื่องนุ่งห่มของเกาหลีพบว่า ตลาดเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศตกต่ำลงจากผลแห่งวิกฤติเศรษฐกิจ ปัจจุบันตัวเลขการบริโภคเครื่องนุ่งห่มลดลง 27% เมื่อเทียบกับช่วงปี 1998 คิดเป็นเงินที่หายไปประมาณ 9.71 ล้านล้านวอน

แต่อาการทรุดที่ว่าเริ่มกระเตื้องขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง นับตั้งแต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ โดยในปีที่ผ่านมาตลาดเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าเท่ากับปี 1996 ก่อนเกิดวิกฤติประมาณ 14.42 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 10.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากประวัติศาสตร์เชิงข้อมูลพบว่า รูปแบบการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยของหนุ่มสาวแทบจะไม่มีให้เห็น แต่ผู้สังเกตการณ์ยังเห็นพ้องต้องกันว่า การบริโภคของพวกเขาที่มีต่อเครื่องนุ่งห่มจะถีบตัวสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ และบรรดาผู้ประกอบการต่างพากันทำตัวเหินห่างผู้บริโภคที่เป็นผู้ใหญ่ "ผลกระทบการโฆษณาหรือความลำบากต่อการเสนอภาพลักษณ์ของสินค้า ทุกวันนี้ทุกคนเข้าใจตลาดวัยรุ่นเพราะมันคือการเติบโตของกำไร" คิม ซุน ชาง หัวหน้าฝ่ายธุรกิจของสมาคมแฟชั่นแห่งเกาหลีใต้บอก

ความสำเร็จอย่างงดงามของแหล่งชอปปิ้งอย่าง Dongdaemun, Migliore และ Doota ที่เปิดดำเนินการมาได้เพียง 3 ปีและกลายมาเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมยุคใหม่ที่เรียกว่า pop-culture ของหนุ่มสาวเกาหลีใต้ บ่งบอกถึงกระแสธารที่ไหลเชี่ยวจนไม่อาจต้านทานเอาไว้ได้

แหล่งชอปปิ้งทันสมัยจากตะวันออก ที่ชื่อ A.M.Hous และ Newyork Ivyleague Institute กำลังโกยเงินจากลูกค้าที่ชื่นชอบของนอกอย่างสนุกมือ "พวกเขาไม่มองคุณภาพของสินค้า แต่จ่ายเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งยี่ห้อและความทันสมัย" ฮอง วอน ซุง ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ A.M.Hous กล่าว

ไม่เฉพาะหนุ่มสาวเกาหลีใต้เท่านั้นที่ถูกค่านิยมใหม่ๆ ครอบงำ แต่ได้ลุกลามไปทั่วเอเชียซึ่งพวกเขาและเธอกำหนดกฎเกณฑ์เพียงชั่วขณะ แต่ไม่มีความนึกคิดไปยังอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us