ถึงแม้ทุกวันนี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ จะเริ่มรู้จักกับบริการส่งข้อความสั้น
(SMS) ภาพโลโกบนโทรศัพท์มือถือ หรือบริการไร้เสียง (non voice) แต่ในความเป็นจริงแล้ว
อัตราการเติบโตกลับไม่มากอย่างที่คิด
"เราอยากรู้ว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณการใช้ไม่มากนัก และที่สำคัญเราอยากรู้ว่าคนไทยต้องการแอพพลิเคชั่นแบบไหน"
วิทยา อุปริพุทธิพงศ์ ผู้จัดการแผนกการตลาด บริษัทซีเมนส์ อินฟอร์เมชั่น
แอนด์ คอมมิวเคชั่น โมบาย (ไอซีเอ็ม) กล่าวถึงที่มาของการทำวิจัยเกี่ยวกับลักษณะการให้บริการข้อมูล
แม้ว่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้บริการรูปแบบต่างๆ จะถูกคิดค้นและพัฒนาออกมาเป็นจำนวน
มาก แต่ความแตกต่างของวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ทำให้ความนิยมในตัวบริการ
หรือแอพพลิเคชั่นมีความแตกต่างกันไป
แบบสอบถามไปยังผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในไทย 500 ชุด เกี่ยวกับลักษณะการให้บริการข้อมูลในรูปแบบมัลติ
มีเดียผ่านมือถือที่ต้องการ ค่าใช้จ่ายที่ยินดี จ่ายเพิ่มจากบริการเหล่านี้
และความต้อง การของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน
การสำรวจถูกทำขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ใน 7 เขตของกรุงเทพฯ กลุ่มเป้าหมายเป็น
หญิง 51% ชาย 49% มีอายุระหว่าง 25-40 ปี มากที่สุดคือ 41% ในจำนวนนี้ 64%
เป็น ลูกค้าระบบเอไอเอสและดีพีซี ที่เหลือเป็นดีแทค ส่วนใหญ่จะใช้บริการโพสต์เพด
79% ที่เหลือ 21% ใช้บริการพรีเพด เหตุผล ในการเลือกใช้บริการ จะเลือกจากคุณภาพ
ของเครือข่ายเป็นอันดับหนึ่งมีอยู่ 43% ตามด้วยโปรโมชั่น คิดเป็น 38%
ยี่ห้อของโทรศัพท์มือถือที่ใช้เป็น โนเกีย 55% ตามมาด้วยอีริคสัน (19%)
และ ซีเมนส์ (13%) ในจำนวนนี้ 53% จะซื้อโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องแรก
ทัศนคติของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 44% ของผู้ใช้อายุต่ำกว่า 25 ปี ยอมรับว่าใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อความสนุก
และ 29% ใช้เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่ดี ถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้
เมื่อถามถึงรูปแบบของบริการมัลติมีเดียผ่านโทรศัพท์มือถือที่เคยใช้ จะเห็นได้ว่า
บริการส่งข้อความสั้น หรือ SMS จะมาเป็นอันดับแรก (81%) ตามด้วยโลโก (60%)
และเกม (52%) โดยจะใช้บริการ SMS ทุกวัน คิดเป็น 323% และน้อยกว่า สองครั้งต่ออาทิตย์คิดเป็น
45%
ในขณะที่ความต้องการบริการข้อมูล ในรูปแบบมัลติมีเดีย 4 ประเภท ที่ซีเมนส์เลือกมา
พบว่า บริการ Mobile Office & Communication มาเป็นอันดับแรก (36%) ตามด้วยบริการ
Mobile Information (27%) และ Mobile Entertainment (27%) และบริการ Mobile
Commerce มีเพียงแค่ 10%
"ข้อมูลนี้บอกว่า รูปแบบของแอพพลิเคชั่นแบบไหน ที่ผู้ใช้บริการต้องการ
เช่น บริการ Mobile Commerce เป็นเรื่องของการชำระเงินค่าบริการ ที่มีเปอร์เซ็นต์ความชื่นชอบน้อย
เทียบกับบริการด้าน Mobile Entertainment" วิทยาบอก
บริการ Mobile office & Com-munication พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 72% สนใจใช้บริการรับส่งอีเมลผ่านมือถือ
และ 63% รู้สึกสะดวกสบายหากให้บริการออนไลน์ตลอดเวลา แต่มีอยู่ถึง 50% ไม่ยินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมในการใช้อีเมลที่นอกเหนือจากบริการ
SMS
บริการ Mobile Internet ได้รับความสนใจมากถึง โดย 53% ใช้บริการทุกวัน
ในจำนวนนี้ 75% โดยสนใจเว็บไซต์ ด้านข่าวสารและข้อมูล (65%) มากกว่าเว็บไซต์ด้านบันเทิง
และสนใจบริการวิดีโอ โฟนมากถึง 79% และ 55% มีแนวโน้มใช้ทุกวัน พวกเขายินดีจ่ายค่าบริการวิดีโอโฟน
ในอัตราเฉลี่ย 9% ของค่าใช้จ่ายในการใช้มือถือปกติ
บริการ Mobile Entertainment บริการเสียงเรียกเข้า หรือ Ring tone ได้
รับความสนใจเป็นอันดับแรก คิดเป็น 81% รองลงมาคือ โลโก (69%) ผู้ตอบแบบ สอบถามที่อายุต่ำกว่า
25 ปี ดาวน์โหลด โลโกเป็นประจำทุกอาทิตย์ ขณะที่ 58% ของผู้ที่อายุมากกว่า
45 ปี ไม่เคยใช้บริการ ดังกล่าวเลย ส่วนบริการ Ring tone ก็ได้ข้อมูลไม่แตกต่างกัน
บริการ Chat ในรูปของภาพกราฟิก จะได้รับความนิยมมากกว่าในรูปแบบเสียง คิดเป็น
72% ต่อ 28% และเกมบนมือถือ 62% สนใจมาก ค่าบริการที่พวกเขายินดี จ่ายในการเล่นเกม
20 นาทีอยู่ที่ 17 บาท นอกจากนี้พบว่า 60% สนใจบริการจองตั๋วภาพยนตร์ และยินดีจ่ายค่าบริการเฉลี่ย
3.1 บาทต่อการใช้ 1 ครั้ง ในขณะที่บริการ รับส่งข้อมูลมัลติมีเดียมีผู้สนใจ
69% และยินดีจ่ายค่าบริการเฉลี่ย 7.3% ของค่าใช้จ่ายปกติ
บริการ Mobile Information พบ ว่า บริการข้อมูลข่าวสารนิยมมากที่สุด ตามมาด้วยข้อมูลกีฬา
และการเดินทาง ไลฟ์สไตล์ และบันเทิง โดยที่ Top news, Thai news, English
soccer และ horoscope เป็นหนึ่งในสิบหัวข้อสุดฮิต ข้อมูลด้านกีฬา เป็นบริการที่ผู้ตอบแบบสอบถามยินดีที่จะจ่ายบริการมากที่สุดในอัตรา
3.64 บาทต่อการใช้บริการหนึ่งครั้ง
ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์เป็นบริการที่พวกเขายินดีจ่ายค่าบริการน้อยที่สุดในอัตรา
2.94 บาท ในส่วนของบริการเกี่ยวกับที่ตั้งและกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้รับความสนใจสูงสุด
(79%) เมื่อเปรียบเทียบกับบริการเกี่ยวกับการเดินทางและความบันเทิง โดยพวกเขาจะใช้บริการอย่างน้อยอาทิตย์ละ
1 ครั้ง และค่าบริการที่ยินดีจ่าย เฉลี่ย 1.97 บาท
สำหรับรายละเอียดของบริการ Mobile Commerce พบว่า 45% ระบุว่า บริการโมบายเปย์เมนต์หรือการทำธุรกรรม
ผ่านโทรศัพท์มือถือมีความน่าสนใจ ในขณะที่ 28% จะไม่ใช้บริการดังกล่าว ซึ่งการตัดสินใจเลือกใช้บริการโมบายเปย์
เมนต์ จะอยู่ที่ความสะดวกในการใช้งานเป็นอันดับแรก ตามด้วยความปลอดภัย และไม่แพง
สำหรับบริการสอบถามราคาสินค้า 81% สนใจมาก และ 76% ยินดีจ่ายน้อยกว่า 4
บาทต่อการใช้บริการหนึ่งครั้ง โดยที่บริการโมบายแบงกิ้ง ได้รับความสนใจในกลุ่มผู้มีอายุสูงกว่า
45 ปี มากกว่าในกลุ่มคนอายุน้อย โดยบริการที่กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามยินดีจ่ายค่าบริการในอัตราสูงสุด
คือ การโอนเงิน (3.3 บาทต่อการทำธุรกรรมหนึ่งครั้ง) ในขณะที่บริการสอบ ถาม/ตรวจสอบบัญชี
จะจ่ายค่าบริการในอัตราต่ำสุด คือ 1.9 บาทต่อหนึ่งครั้ง
วิทยาเชื่อว่า ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
และผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น หรือเนื้อหา รวมทั้งซีเมนส์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการพัฒนาบริการออกมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
และเมื่อแอพพลิเคชั่น หรือบริการพัฒนาออกมาสอดคล้องกับความต้องการตลาดมีการขยายตัว
ย่อมเป็นผลดีต่อซีเมนส์ในฐานะของผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายที่มีสินค้าครอบคลุม
ตั้งแต่สวิทชิ่งสถานีฐานไปจนถึงแอพพลิเคชั่น จะทำรายได้มากขึ้นจากบริการต่างๆ
เหล่านี้
ข้อสรุปที่น่าสนใจอีกด้าน จะพบว่า กลุ่มผู้มีอายุน้อยมีแนวโน้มใช้บริการข้อมูลมัลติมีเดียผ่านมือถือเป็นกลุ่มแรก
ในขณะที่ผู้ที่มีอายุสูงกว่า 45 ปีจะเป็นกลุ่มสุดท้าย ที่ใช้บริการดังกล่าว
หากมีบริการโฆษณาทาง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ 79% ยอมรับบริการ เพราะจะช่วยให้พวกเขาลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าปกติได้
อย่างไรก็ตามยังรับไม่ได้หากมีโฆษณาทุกวัน
นอกจากนี้ 73% อยากให้มีตัวอักษร ภาษาไทยบนหน้าจอมือถือ และ 86% พร้อม
จะเปลี่ยนผู้ให้บริการ หากรายใดให้บริการ ข้อมูลมัลติมีเดียผ่านมือถือที่ดีกว่า
ด้วยราคาที่เหมาะสม
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีโทรศัพท์ มือถือไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับบริการรูปแบบใหม่ๆ
เช่น ดูวิดีโอข่าวบนโทรศัพท์ มือถือเท่านั้น ในแง่ของผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็ต้องปรับตัวเช่นกัน
"เวลานี้เราจะขายของเหมือนกับเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว เทคโนโลยีโครงข่ายของมือถือก็ไม่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างคือแอพพลิเคชั่น นี่คือโจทย์ของเรา ที่จะต้องทำให้โอเปอเรเตอร์มองเห็นความสามารถของโครงข่าย
ด้วยการนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสม" วิทยาบอก "แล้วอะไรคือแอพพลิเคชั่นที่ลูกค้าต้องการ"
แม้ว่า เวลานี้ซีเมนส์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า
แอพพลิเคชั่นเหล่านี้จะเหมาะสมสำหรับลูกค้า
แผนการสำรวจความต้องการผู้ใช้โทรศัพท์มือถือครั้งที่สอง และจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม
และการสำรวจในครั้งนี้ซีเมนส์จะมุ่งไปที่รูปแบบของโทรศัพท์ มือถือที่ต้องการ
เช่น จอสี ขนาดของโทรศัพท์ที่ต้องการ
งบประมาณ 3-4 แสนบาทในการวิจัยแต่ละครั้ง จึงเป็นค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบกับยอดการขาย
ที่พวกเขาจะได้รับจากการทำให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีโครงข่าย ที่ไม่ได้ทำเพียงแค่การส่งเสียงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเนื้อหาและบริการรูปแบบใหม่ๆ
เมื่อถึงเวลาแล้วแอพพลิเคชั่นไหนและข้อมูล รูปแบบใดจะเป็นที่นิยมมากน้อยเพียงใด
ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเป็นตัวชี้วัด