Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
"Complex Adaptive Systems" เทคโนโลยีใหม่...เพื่อการทำนายอนาคตธุรกิจ             
 


   
search resources

Software




ระบบ "Complex adaptive systems" เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ตัวใหม่ ที่ธุรกิจขนาดใหญ่ๆ อาทิ บริษัท P&G (Procter & Gamble) และบริษัท Marsh and McLennen เริ่มนำมาใช้ในการทำนายและวางแผนอนาคตของธุรกิจ

โดย P&G ได้ใช้โปรแกรมนี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ supply chain ในขณะที่บริษัท Marsh and McLennen ซึ่งประกอบการธุรกิจประกันภัยได้ใช้โปรแกรมนี้ ในการคาดคะเนมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง... จินตนาการ...ถ้าเราสามารถมองเห็นอนาคตว่านโยบายที่เราริเริ่มคิดใช้ขึ้นในปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่อผลกำไรและการแข่งขันในอนาคต 10 ปีข้างหน้าอย่างไร...

จากการระดมความคิดของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากห้องวิจัย Alamos National Laboratory และสถาบัน Santa Fe ได้ริเริ่มทดลองนำ "supercomputers" ซึ่งมีระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ "Complex adaptive systems" ตัวใหม่นี้กับบริษัทต่างๆ 20 กว่าบริษัท

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ธุรกิจต่างๆ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวางแผนอนาคตของธุรกิจมาเป็นเวลานาน ซึ่งระบบซอฟต์แวร์ดั้งเดิมนั้นใช้ฐานข้อมูลในอดีต เพื่อทำนายอนาคต แต่สำหรับ "Complex adaptive systems" เป็นระบบปฏิบัติการใหม่ ที่ใช้สถานะของธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อทำนายอนาคต

Alexander Linden นักวิเคราะห์จาก Gartner Inc. ประจำสำนักงาน Frankfurt ให้ความเห็นว่า ระบบปฏิบัติการใหม่นี้ใช้ได้กับหลากหลายธุรกิจ อาทิ บริษัทให้บริการด้านการเงินต่างๆ สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการทำนายแนวโน้มของตลาดทุน แม้กระทั่งบริษัทเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์สามารถใช้ในการทำนายผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากเคมีภัณฑ์ต่อผู้ใช้ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการบิน สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการคิดค้นวัสดุที่ต้านทานแรงกดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สายการบินต่างๆ สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการวางแผนขนสินค้าในปริมาณที่สมดุลกับผู้โดยสาร อันทำให้การบินนั้นๆ ราบเรียบที่สุด และล่าสุดมีบางธุรกิจที่เริ่มเห็นผลในทางบวกหลังจากที่ใช้ระบบปฏิบัติการใหม่นี้

เริ่มต้นจากธุรกิจประกันภัย

ความหายนะหลังจากที่เฮอร์ริเคน Andrew ได้ถล่มสหรัฐอเมริกาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว บริษัทประกันภัยต่างๆ ต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทประกันต่างๆ เริ่มหาวิธีการในการบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ด้วยสาเหตุนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากสถาบัน Santa Fe ผ่านบริษัท Assuratech ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของสถาบันที่ทำหน้าที่ในการบริการ ทำนายความเสี่ยงให้แก่บริษัทประกันภัยต่างๆ กับบริษัทยักษ์ในวงการประกันภัยอื่น อาทิ บริษัท Swiss Reinsurance แห่ง Zurich ประเทศเยอรมนี และบริษัท Marsh and McLennen แห่งนิวยอร์ก เพื่อพยายามหาวิธีการที่แม่นยำที่สุดในการทำนายพายุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นอีก นอกจากนั้น ยังพยายามหาหนทางที่เหมาะสมที่สุดในการวางแผนธุรกิจว่า บริษัทจะอยู่รอดอย่างไรหลังเกิดภัยวิบัติ หรืออีกนัยหนึ่งคือ บริษัทควรจะมีทิศทางในการลงทุนและบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างไร เมื่อเกิดภัยวิบัติขึ้นอีก

Assuratech ได้คิดค้นรูปแบบจำลองธุรกิจซึ่งที่มีลักษณะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่าย "playing field" และฝ่าย "agents" ซึ่งฝ่าย "playing field" ความหายนะทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนทางการเงินของธุรกิจ ในขณะที่ "agents" คือ กลุ่มลูกค้า ตลาดเงินตลาดทุน บริษัทประกันภัย บริษัทลูกของบริษัทประกันภัย บริษัทคู่แข่ง และรวมถึงผู้ควบคุมกฎระเบียบด้วย เป็นต้น ซึ่งทุกฝ่ายมีความเกี่ยวเนื่องกันในทางธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม

รูปแบบจำลองนี้ได้รวบรวมข้อมูลทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการ ดำเนินธุรกิจมาพัฒนาเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ที่ปัจจุบันสามารถใช้ได้เฉพาะในเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop ระดับ highend เท่านั้น โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลมูลค่าความเสียหายทางการเงิน และรายงานสถานะทางการเงินในรอบไตรมาส เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับคู่แข่งในอนาคต 10 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และสามารถมองเห็นว่าการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์นั้นจะส่งผลกระทบอย่างไร ก่อนที่จะทำการลงทุนจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการลงทุนในทองคำในปัจจุบันจะส่งผลกำไรที่งดงามในอนาคต มากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นในปัจจุบัน เมื่อสามารถมองเห็นอนาคตของผลตอบแทนที่ดีกว่า บริษัทสามารถวางแผนย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้นไปสู่ตลาดทองคำแทน ซึ่ง Terry Dunn ประธานบริษัท Assuratech กล่าวว่า "กุญแจของโปรแกรมจำลองนี้คือ การมองเห็นอนาคตของผลการดำเนินธุรกิจ ก่อนที่จะมีการลงทุนในปัจจุบัน"

นอกจากนั้น John Schienle ผู้บริหาร California Housing Loan Insurance Fund ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือทางเงินทุนแก่ผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ได้กล่าวหลังจากที่ใช้โปรแกรมนี้มาเกือบ 3 ปีแล้วว่า "รูปแบบดั้งเดิมของการวางแผน อนาคตธุรกิจจะขึ้นอยู่กับข้อมูลประสบการณ์ในอดีต แต่หลังจากที่เราใช้โมเดลของ Assuratech ทำให้เรามองเห็นผลลัพธ์จากแบบจำลองเหตุการณ์ก่อนที่เราจะกำหนดแผนกลยุทธ์ ซึ่งหากไม่มีโปรแกรมนี้มาช่วยก็เป็นการยากที่จะวางแผนอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำธุรกิจนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปจะจินตนาการได้"

รูปแบบธุรกิจ Supply Chain

บริษัทระดับแนวหน้าอย่าง Procter & Gamble ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กลางเมือง Cincinnati มลรัฐ Ohio แห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ทดลองใช้โปรแกรม "complex adaptive systems theory" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารระบบ supply chain มานานกว่า 2 ปีแล้ว โดย Larry Kellam ผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Supply chain ของ P&G ได้กล่าวว่า "เราพยายามจะลดค่าใช้จ่ายและเวลาจากการบริหาร supply chain มาเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค" โดยทาง P&G ร่วมมือกับ BiosGroup Inc. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสถาบัน Santa Fe เช่นเดียวกับ Assuratech BiosGroup ได้ทดสอบการใช้ซอฟต์ แวร์ในการกำหนดนโยบายใหม่ในการบริหารระบบ supply chain ให้แก่ P&G ตัวอย่างเช่น

* อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า... ให้ P&G ผ่อนผันนโยบายในกรณี ที่รถบรรทุกของทุกคันต้องบรรจุสินค้าเต็มคันรถ และสินค้าที่วางซ้อนกันนั้นจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันเท่านั้น
* อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า... มีการตรวจสอบข้อมูลคำสั่งสินค้าและเปลี่ยนแปลงในวินาทีสุดท้าย ดีกว่ายืนยันรายการสินค้าตาม projections
* อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า... ซูเปอร์มาร์เก็ตและลูกค้าอื่นมีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับแคมเปญสินค้าโปรโมชั่น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการสั่งสต็อกสินค้า

หลังจากที่ BiosGroup ได้ทำการทดสอบข้อสมมติฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว โดยการเปลี่ยนใช้กลยุทธ์เหมาะสม ผลปรากฏ ว่า P&G สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 2-3 ล้านเหรียญฯ และหลังจากนำแบบจำลองนี้ไปใช้ในธุรกิจจริง ก็ได้รับคำยืนยันว่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริง "สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้" เป็นคำกล่าวของ Stuart Kauffman ประธานบริหาร BiosGroup

จากผลการทดลองดังกล่าว นำไปสู่การร่วมมือกันระหว่าง P&G, BiosGroup, software developer i2 Technology Inc. แห่ง MIT's Auto-ID Center และองค์กรอื่นอีกหลายองค์กรในการค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการใช้ adaptive theory โดยการริเริ่มนี้ครอบคลุมถึง

- การพัฒนา "smart" ซอฟต์แวร์ตัวใหม่ สำหรับระบบวางแผนทรัพยากรของ P&G
- ใช้ electronic smart tags แทนรหัสสินค้า (universal product codes)
- เปลี่ยนระบบการบริหารภายในให้มีเครือข่ายโดยตรงระหว่างร้านค้ากับโรงงานผู้ผลิต ซึ่งจะทำให้มีการผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างแน่นอน และรวดเร็ว
- ใช้ complex adaptive theory ในการวางแผนการขายสินค้า เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการสินค้าที่แท้จริง มากกว่าพนักงานสั่งสินค้าเป็นผู้กำหนดตัวเลข

"นี่เป็นแนวทางใหม่ในการปฏิรูปการทำธุรกิจ Supply chain ขนานใหญ่ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 5 ปี แต่ถ้าเราทำให้ถูกวิธี เราจะสามารถประหยัดเงินและเวลาได้อย่างน้อย 20%" Kellam แห่ง P&G กล่าว

แต่กระนั้น Linden แห่ง Gartner Inc. กล่าวทิ้งท้ายว่า มีอยู่สิ่งหนึ่งที่โปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้ได้กับธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เนื่องจากโปรแกรมนี้ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ธุรกิจรายใหญ่อย่าง P&G หรือ บริษัทประกันภัยรายยักษ์สามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับมูลค่าของธุรกิจที่มีขนาด นับพันๆ ล้านเหรียญฯ แต่ในขณะที่ธุรกิจรายเล็กๆ อาจจะไม่มีเงินลงทุนเพียงพอสำหรับเทคโนโลยีนี้ ถึงแม้ว่าผลการทดลองจะออกมาในทางบวก แต่บริษัทอาจจะไม่มีเงินทุนเพียงพอในการนำเทคโนโลยีมาใช้จริง และนี่เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจซอฟต์ แวร์ตัวใหม่นี้ไม่เจริญเติบโตเหมือนอย่างที่บางคนคาดหวัง

เรียบเรียงจาก นิตยสาร Computer World
(Feb 4, 2002: Vol.36 No.6)
โดย มานิตา เข็มทอง
(atinam@hotmail.com)
   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us