Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
ศึก...หนังสือสมานมิตร 2517 "คบเพลิงที่ยังไม่มอด"             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

ความเป็นสวนกุหลาบ มุมมองจากด้านในของตึกยาว




เป็นประเพณีของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ในทุกๆ ปีการศึกษาจะมีการออกหนังสือรุ่น หรือที่เรียกว่า หนังสือสมานมิตร ซึ่งนับเป็นหนังสืออนุสรณ์ประจำโรงเรียนเพื่อจำหน่ายแก่นักเรียนภายในโรงเรียน โดยในปี 2517 ก็ได้มีหนังสืออนุสรณ์สมานมิตร ตีพิมพ์จำหน่ายเหมือนเช่นที่กระทำเป็นประจำทุกปี หากแต่หนังสือสมานมิตรปี 2517 ซึ่งมี ประชา สุวีรานนท์ เป็นสาราณียกร มีความแตกต่างจากหนังสือสมานมิตรเล่มอื่นๆ ในลักษณะที่เรียกได้ว่า จากหน้ามือเป็นหลังมือ

แรงบันดาลใจและอิทธิพลของเหตุการณ์ช่วงก่อนและหลัง 14 ตุลาคม 2516 ทำให้แนวบทความในหนังสือสมานมิตร 2517 ซึ่งแบ่งเป็นสองเล่ม เปลี่ยนแปลงไป โดยในเล่มแรก ซึ่งมีรูปคณาจารย์ และนักเรียนระดับต่างๆ แทรกแซมด้วยบทความ และกลอนเปล่า ที่เน้นหนักที่การวิพากษ์ระบบการศึกษา รูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียน ดังที่ปรากฏอยู่ในบทความเรื่อง "การศึกษาคืออะไร" ซึ่งตั้งคำถามกับระบบการศึกษาไว้ว่า

"การศึกษา คือสิ่งที่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในหนังสือ ในสถาบันการศึกษาเท่านั้นหรือ การศึกษาไม่ได้มีมาตั้งแต่รุ่งอรุณแห่งเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ ตั้งแต่รุ่งอรุณแห่งชีวิตเราหรอกหรือ การศึกษามีความหมายเพียงเพื่อการสอบไล่ได้และมีงานทำ หรือว่าการศึกษาคือ การตระเตรียมเรา ขณะที่อายุยังน้อยให้เข้าใจขบวนการทั้งหมดของชีวิต"

นอกจากนี้ในบทความเดียวกัน ยังได้พยายามที่จะชี้ถึงสภาพการศึกษาในบางมิติ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้เกี่ยวข้องในสังคมการศึกษาในขณะนั้น ย่อมได้รับการกระทบกระเทือนจากคำถามและข้อวิพากษ์จากบทความนี้

"นิสัยหลายอย่างในตัวเราได้ถูกปลูกฝังทีละเล็กทีละน้อยจากประสบการณ์ในโรงเรียน จากบุคคลผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาโดยตรง ความเชื่อฟังและวินัย การต่อสู้ชิงดีกัน เพื่อความสมหวังทางโลก เพื่อสนองความทะเยอทะยาน ความละโมบอยากได้ และการไขว่คว้าของตน ความรู้สึกเกลียดชังหยามผู้อื่น ความเชื่อโดยปราศจากการโต้แย้ง การยอมรับภูมิปัญญาของผู้สอนโดยดุษณี ซึ่งเหล่านี้ควรหรือที่จะมีอยู่ในการศึกษา" (การศึกษา คืออะไร, สมานมิตร 17 เล่มแรก)

ในส่วนของบทความอื่นๆ นอกเหนือจากบทความนี้ ยังมีเนื้อหาที่พยายามชี้ให้เห็นสำนึกในเรื่องการศึกษาเพื่อประชาชนโดยส่วนรวม ไม่ใช่ส่วนตัว และแสดงถึงความสำคัญของประชาชน รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับการอบรมให้รักการทำงานและรับใช้ประชาชน และบทความเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ แทรกอยู่อีกด้วย

สมานมิตร 2517 ในเล่มที่ 2 ซึ่งหน้าปกเป็นรูปกำปั้นชูขึ้น พร้อมกับมีโซ่ผูกอยู่ เป็นเล่มที่บรรจุบทความเน้นหนักทางด้านการศึกษาของเมืองไทยโดยเฉพาะ และเป็นเล่มที่มีการแหวกกฎเกณฑ์เก่าๆ ออกไปอย่างสิ้นเชิง ชนิดที่ไม่มีใครกล้าทำมาก่อน และกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีใครลองทำอีก ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ชี้แจงถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นว่า

"เราเคยคิดกันว่า หนังสืออนุสรณ์ที่ใครๆ บอกกันว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของนักเรียน จะบอกได้ถึงความจริงในชีวิตของนักเรียน ความจริงที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่แล้ว สิ่งที่เราพอจะจำได้จากประวัติศาสตร์ของเรา กลับกลายเป็นตำนานของอิฐปูนที่น่าเลื่อมใส ต้นไม้ที่มีรอยประทับใจ หรือไม่ก็เรื่องราวของใครก็ได้ ที่สามารถยึดกุมอภิสิทธิ์ในการจารึกอนุสาวรีย์ของตนเองลงไป"

(บทนำ, สมานมิตร 17 เล่มที่สอง ศึก...)

บทความของ ศึก... เน้นไปที่แนวการศึกษาเพื่อประชาชน และล้วนแต่เป็นงานเขียนเชิงวิชาการ ที่มุ่งเสนอแนะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มตั้งแต่การวิพากษ์และเสนอแนะความหมายของการศึกษา การกล่าวถึงบทบาทของการศึกษา รวมทั้งการตีพิมพ์บทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาอีกหลายบทความเช่น "ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา" (The Need for Educational Transformation : From the Marginal to the Utopian) หรือ "หลักทางสังคมและข้อคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรของอนุช อาภาภิรม" ฯลฯ

ผลจากการที่ ศึก... เป็นหนังสืออนุสรณ์ประจำปีที่มีเนื้อหาและรูปแบบแปลกกว่าทุกปี ทำให้นักเรียนรวมทั้งคณาอาจารย์บางส่วนเกิดความรู้สึกปฏิกิริยาต่อหนังสือเล่มนี้ จนถึงขั้นมีการเผาทำลายหนังสือ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมีการแจกจ่ายหนังสือ รวมถึงการรุมทำร้ายคณะกรรมการนักเรียน ซึ่งรับผิดชอบการทำหนังสือศึก... ในวันต่อมาด้วย

ในบทสัมภาษณ์ "คุยกับคนเก่า ณ ที่เดิม" ในหนังสือสมานมิตรปี 2527 หรือ 10 ปีหลังจากเหตุการณ์ความวุ่นวายภายในสวนกุหลาบดังกล่าว สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งเป็นประธานนักเรียนในปีนั้น เชื่อว่า ความรู้สึกปฏิกิริยาดังกล่าว เกิดขึ้นจากผลของรูปแบบภายนอกของหนังสือมากกว่าจะเป็นปฏิกิริยาต่อบทความ เพราะการเผาทำลายเกิดขึ้นในเวลาไม่นานหลังจากมีการแจกจ่าย ซึ่งคงเป็นการยากที่จะมีใครสามารถอ่านข้อความและเนื้อหาของบทความได้อย่างละเอียด

แม้ว่า ศึก... จะเป็นเพียงหนังสืออนุสรณ์ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบฯ แต่ก็ได้สร้างแรงบันดาลใจ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อทัศนะของผู้คนที่มีต่อระบบโรงเรียนและสังคมไม่น้อย แต่การจะมีบทวิพากษ์ที่หนักหน่วง เช่น ศึก...ในยุคสมัยสารพัดปฏิรูป เช่นในปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องที่จะกระทำได้ง่ายนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us