Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
"เป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯเพราะพ่อเลือกไว้แล้ว"             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

120 ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย ปฐมบทการศึกษาสมัยใหม่ของไทย

   
search resources

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ




เมื่อนักประวัติศาสตร์ อย่างชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งเป็นครูของอาจารย์และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่านในสังคมไทย จะรำลึกอดีตเมื่อครั้งเป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯ ข้อมูลและเรื่องราวมากมายที่ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำ จึงพร่างพรูออกมาท่ามกลางสีสันหลากหลาย แม้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ จะผ่านเลยเวลามานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม

"การศึกษาสมัยนั้น แบ่งเป็น 4+6+2 คือ เป็นชั้นประถมภาคบังคับ 4 ปี มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 3 ปี และเตรียมอุดมศึกษา 2 ปี พอเรียนจบ ม.3 จากบ้านโป่ง ราชบุรี ก็มาสอบเข้า ม.4 ที่สวนกุหลาบฯ เลย เพราะคุณพ่อเลือกไว้ให้แล้ว"

คุณพ่อที่ชาญวิทย์ พูดถึง ก็คือ เชิง แก่นแก้ว (ต่อมาเปลี่ยนชื่อและสกุลเป็น เชิญ เกษตรศิริ) อดีตนักเรียนชั้น ม.8 ของสวนกุหลาบฯ รุ่นเดียวกับ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค และอาจารย์นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา อดีตครูใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบ

การเลือกไว้แล้วของพ่อ มิได้มีความหมายเพียงแค่การพามาสอบเข้าสวนกุหลาบฯ เมื่อถึงเวลาเท่านั้น แต่ความประสงค์ของพ่อ ได้แสดงออกมาด้วยการพามาเดินชมตึกยาว ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ซึมซับความเป็นสวนกุหลาบฯ และได้พบกับเพื่อนๆ ของพ่อมาอย่างต่อเนื่อง

"ความที่พ่อเป็นนักกีฬา เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน ยิ่งทำให้รักและผูกพันกับสวนกุหลาบฯ มาก ตอนที่จะขึ้นชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม.7) เพื่อนๆ ที่เรียนเก่งๆ ในชั้น ม.6 ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมฯ กันหลายคน แต่พ่อแนะนำว่าไม่ควรไปเลย จึงได้เรียนจนจบชั้น ม.8 ที่สวนกุหลาบฯ"

แม้ว่า ชาญวิทย์ จะเข้าเรียนสวนกุหลาบฯ ในชั้น ม.4 เมื่อปี 2498 แต่ด้วยการนับรุ่นแบบสวนกุหลาบฯ ทำให้ชาญวิทย์อยู่ในรุ่น 95/02 หรือรุ่นที่เข้าเรียน ม.1 ปี 2495 และจบ ม.8 ในปี 2502 ซึ่งเพื่อนร่วมรุ่นของชาญวิทย์สมัยนั้น มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบกคนปัจจุบัน และขวัญชัย ลุลิตานนท์ อดีตทูตไทยประจำอิรัก ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาญวิทย์มาตั้งแต่เมื่อครั้งเรียนที่โรงเรียนสารสิทธิพิทยาลัย ในอำเภอบ้านโป่ง และยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือสิงห์แดง 12 อีกด้วย

เขายังชี้ด้วยว่า สวนกุหลาบฯ ไม่ได้เก่งหรือมีชื่อเสียงเฉพาะในด้านวิชาการเท่านั้น การมีครูจากอังกฤษมาสอนประจำอยู่ในโรงเรียนในอดีต ทำให้กิจกรรมกีฬาของสวนกุหลาบฯ โดยเฉพาะฟุตบอลมีชื่อเสียงไม่แพ้กัน

"ตอนนั้นถ้าสวนกุหลาบฯ แข่งขันฟุตบอลกับทีมใดก็ตาม นักเรียนสวนกุหลาบฯ จะต้องแห่ไปดูไปเชียร์กันอย่างเอิกเกริก หากวันไหนฟุตบอลแพ้ โลกทั้งโลกมันดูเหมือนจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ แต่ถ้าสวนกุหลาบฯ เป็นฝ่ายชนะ ท้องฟ้าดูจะเป็นสีชมพู-ฟ้า สวยงามกว่าวันอื่นๆ"

ทุกวันนี้ ชาญวิทย์ ยังร่วมพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมรุ่นสวนกุหลาบฯ 95/02 ของเขาอยู่เป็นระยะ ตามแต่โอกาสและหน้าที่การงานจะเอื้ออำนวย ซึ่งเขาเล่าว่า ทุกครั้งที่พบกัน ก็ไม่รู้สึกว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มเพื่อน แม้จะมีอาชีพการงานแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม

"เวลาพบกันก็ได้รำลึกอดีต เรื่องเล่าเกี่ยวกับความเปิ่นความเด๋อ ทั้งของเราเอง ของเพื่อนเรา หรือแม้กระทั่งครูอาจารย์ที่เคยสอนเรา ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ได้ยิ้มได้หัวเราะ มันเป็นความรู้สึกผูกพันเหมือนเป็นครอบครัว"

สวนกุหลาบฯ ในทัศนะของชาญวิทย์ จึงมิได้จำกัดอยู่เพียงการเป็นสถานศึกษา ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถด้วยพุทธิปัญญาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการสร้างเสริมให้จำเริญด้วยจริยธรรม ซึ่งนั่นเป็นบทบาทของสวนกุหลาบฯ ในมิติของการสร้างวัฒนธรรมการศึกษาอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us