Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
"สวนกุหลาบฯ ในอดีต เปิดให้เด็กคิด และเติบโตโดยไม่สูญเสียตัวตน"             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

120 ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย ปฐมบทการศึกษาสมัยใหม่ของไทย

   
search resources

แก้วสรร อติโพธิ




อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผันตัวเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภา จากการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และได้ชื่อว่าเป็น "ผู้มีฝีปากคมพอๆ กับความคิด"

เขาเข้าเรียนชั้น ม.ศ. 2 ในสวนกุหลาบฯ เมื่อปี พ.ศ. 2508 จากผลของการย้ายตามบิดา (ศิริ อติโพธิ อดีตประธานศาลฎีกา) และมีผลการเรียนดีเป็นที่ 1 ของนักเรียนชั้น ม.ศ. 1 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดอุบลราชธานี

"ชื่อเสียงของสวนกุหลาบฯ อาจเป็นผลมาจากต้นทุนที่มีเด็กเก่งๆ จากทุกสารทิศเข้ามาเรียน และทำให้เกิดความหลากหลาย แต่ส่วนประกอบสำคัญน่าจะอยู่ที่ครู ซึ่งมีความภาคภูมิใจในความเป็นครู ไม่ได้คิดที่จะแสวงหารายได้จากการกวดวิชาเหมือนปัจจุบัน" เป็นความรู้สึกที่แก้วสรรสะท้อนออกมา และบ่งบอกนัยของความรู้สึกกังวลต่อปัญหาการศึกษาของชาติได้อย่างตรงไปตรงมา

ความทรงจำและความรู้สึกนึกคิดของเขาที่มีต่อสวนกุหลาบฯ ดูจะกว้างไกลออกไปและเกี่ยวเนื่องกับระบบการศึกษาไทยทั้งระบบ มากกว่าที่จะพร่ำพรรณาถึงความรัก ความผูกพันที่ศิษย์เก่าคนหนึ่งมีต่ออิฐ ปูน ทราย ที่ก่อขึ้นมาเป็นโรงเรียน

"สิ่งที่ผมได้จากสวนกุหลาบฯ เป็นความรู้สึกถึงความเป็นสามัญ บรรยากาศของความเสมอภาพ และเสรีภาพที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นวินัยที่ไม่ได้เกิดจากการบังคับ สวนกุหลาบฯ ในอดีต เปิดให้เด็กคิด และเติบโตโดยไม่สูญเสียตัวตน ซึ่งโรงเรียนในอดีตส่วนใหญ่ก็มีลักษณะเช่นนี้"

แม้เขาจะไม่ใช่นักการศึกษา แต่เขาได้เปิดเผยให้เห็นอยู่เสมอว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระจายโอกาส กระจายมาตรฐานทางการศึกษา และจากประสบการณ์ในฐานะอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยนานกว่า 20 ปี ทำให้เขาประเมินปัญหาของการศึกษาไทยว่า เป็นผลมาจากการลืมอดีต ขณะที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ก็สนใจที่จะพิจารณาปัญหาจากสภาพปัจจุบัน และมุ่งที่จะเสนอแต่อนาคต

"เวลานี้เหมือนคนที่ขับรถหลงทาง ถ้าไม่ย้อนกลับมาเริ่มต้นที่ทางแยกเพื่อหาทิศทางใหม่ แต่ยังดึงดันจะไปตามทาง ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันผิด มันหลงทาง โอกาสที่จะมีการศึกษาที่พึงประสงค์มันก็เกิดยาก สิ่งที่สมควรกระทำคือการนำพาบรรยากาศของโรงเรียนและการเรียนในอดีตกลับมา ไม่ใช่การเรียน ที่หมายถึงการแข่งขัน ข่มขืนยัดเยียดเด็ก ทำลายเสรีภาพทางความคิด หรือการได้ทำมาหากิน อย่างที่เป็นอยู่"

ขณะที่ทัศนะของเขาต่อบทบาทของสวนกุหลาบฯ และตึกยาว ซึ่งกำลังจะเป็นสถานที่จัดสร้างพิพิธภัณฑ์การศึกษาของชาติ และที่แสดงเกียรติประวัติของสวนกุหลาบฯ ก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่ต้องการให้เป็นเพียงการแสดงความรักสถาบัน ที่จำกัดอยู่เฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

"ตึกยาว ไม่ควรเป็นเพียงสิ่งที่ตายไปแล้ว และสวนกุหลาบฯ ก็น่าที่จะได้ใช้โอกาสนี้ทบทวนบทบาทของโรงเรียน และทิศทางการศึกษาของประเทศชาติมากกว่า"

เป็นข้อเสนอของแก้วสรร อติโพธิ ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ เนื่องในโอกาสครบ 120 ปี ของการสถาปนาโรงเรียนที่น่ารับฟังยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us