Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2545
สวนกุหลาบฯ คือ ที่อยู่ของปัญญาชน             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

120 ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย ปฐมบทการศึกษาสมัยใหม่ของไทย

   
search resources

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม




เขาเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่ง ในฐานะประมุขของอาณาจักรธุรกิจบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ อย่าง Grammy และเป็นเจ้าของตึก GMM Grammy Place บนถนนอโศก ซึ่งจะเป็นศูนย์บัญชาการแห่งใหม่ของกลุ่มบริษัทในเครือของ Grammy โดยจะมีพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้

แม้ว่าเขาจะไม่ได้คลุกคลีหรือร่วมพบปะกับเพื่อนร่วมรุ่นในอัตราความถี่ที่บ่อยครั้งมากนัก แต่ทุกครั้งที่สวนกุหลาบฯ ขอความร่วมมือมา เขาก็ให้ความร่วมมือเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางด้านการเงิน การจัดหาอุปกรณ์ และที่เห็นบ่อยครั้งคือ การจัดศิลปินในสังกัดเข้าร่วมให้ความบันเทิงในกิจกรรมของโรงเรียนเสมอๆ

"ผมเข้าเรียนสวนกุหลาบเพราะความบังเอิญ"เป็นประโยคแรกๆ ของการย้อนรำลึกอดีตเมื่อครั้งยังเยาว์วัยเป็นนักเรียน นุ่งกางเกงขาสั้น

เขาเล่าให้ "ผู้จัดการ"ฟังว่า ตอนนั้นเขาเรียนมัธยมต้นอยู่ที่สหพาณิชย์ หรือ UCC ซึ่งตั้งอยู่ในย่านศาลาแดง และนับเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและค่าเล่าเรียนแพงมากที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น โดยหากเขาจะเรียนต่อที่โรงเรียนแห่งนี้ ก็มีชั้นเรียนสำหรับระดับมัธยมปลายอยู่เป็นหลักเป็นฐานดีแล้ว

"เวลานั้นเรารู้สึกว่าผู้บริหารโรงเรียน มุ่งทำการค้ามากเกินไป ครูอาจารย์ ไม่ได้รู้สึกต่อนักเรียนในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ควรให้ความรักความเอาใจใส่มากนัก นักเรียนเป็นเพียงลูกค้าที่มาซื้อบริการ บางครั้งก็ทำโทษนักเรียนอย่างไม่มีเหตุผล เพียงเพราะนักเรียนค้างค่าเทอม หรือเพราะไม่ชอบหน้าเป็นการส่วนตัวก็มี"

ความรู้สึกอึดอัดต่อสภาพของโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ ซึ่งก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ประกอบกับความรู้สึกที่ต้องการจะแบ่งเบาภาระของทางบ้านในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน และแรงกระตุ้นจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ชวนกันไปสอบเข้าสวนกุหลาบฯ ทำให้ไพบูลย์หวังที่จะไปลองสนาม เพราะถึงอย่างไรก็มีที่เรียนแน่นอนอยู่แล้ว

"มันเป็นฟางเส้นสุดท้ายจริงๆ วันนั้นผมไปขอใบรับรองเพื่อจะใช้เป็นหลักฐานในการสมัครสอบที่สวนกุหลาบฯ ซึ่งสมัยนั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากแล้ว แทนที่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนจะส่งเสริมให้เด็กเติบโตได้ไปดี กลับท้าทายในทำนองว่าถ้าคิดจะไปเรียนที่อื่นก็ให้ลาออกไปเลย"

เมื่อถูกท้าทายถึงขนาดนี้ ไพบูลย์จึงตัดสินใจที่จะลาออกจากโรงเรียนสหพาณิชย์ เพื่อสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบ ชนิดที่ไม่เหลืออะไรให้ต้องลังเล

"ก็กังวลอยู่เหมือนกันว่า ถ้าสอบไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะยังไม่ได้บอกที่บ้าน แต่เมื่อผลสอบออกมาว่า เราสอบเข้าได้ทุกอย่างก็เป็นอันเรียบร้อย"

สภาพการเรียนการสอนของสวนกุหลาบฯ ในความทรงจำของไพบูลย์ ดูจะเป็นเรื่องราวที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสภาพของโรงเรียนเดิมที่เขาได้จากมา เริ่มตั้งแต่ค่าเล่าเรียนที่ถูกมากเพราะเป็นโรงเรียนของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างหลากหลาย และที่สำคัญมากก็คือ ความเป็นครูของเหล่าคณาจารย์ ที่ปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนกับเป็นสมาชิกในครอบครัว

"เพื่อนผมบางคนเป็นลูกชาวนา ฟันขาวซี่ใหญ่ ตัวดำ แต่ทุกคนมีแววที่ดูแล้วจะรู้ว่าคนนี้ฉลาด เอาดีได้ เพราะทุกคนต้องสอบแข่งขันเข้ามาเรียน ฐานะอาจแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือเป็นนักเรียนสวนกุหลาบฯ เป็นผู้ที่มีความคิดมีปัญญา เพราะสวนกุหลาบฯ คือ ที่อยู่ของปัญญาชน"

ข้อสรุปของไพบูลย์ สะท้อนภาพความเป็นสวนกุหลาบฯ ในอีกมิติหนึ่งได้เป็นอย่างดี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ปัญญาชน ที่เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯ ได้ใช้ "ปัญญา" ไปในทิศทางใดกันบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us