|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
PLE ยอมรับงานประมูลแอร์พอร์ตลิงค์ช้า เตรียมแก้ตัวใหม่ประมูลโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินปีหน้าเพื่อหางานในมือเพิ่มอีก 20% จากปีนี้ หรือประมาณ 5 ล้านบาท ขณะงานปี"47 ที่จะรับรู้รายได้ปี"48 มีมากกว่า 4 พันล้านบาท ส่วนการแตกไลน์ธุรกิจกับพันธมิตรายใหม่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า คาดจะดำเนินการได้ปีหน้าและเริ่มผลิตไฟฟ้าในปลายปี"49
นายเสวก ศรีสุชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (PLE) เปิดเผยว่า แม้การยื่นซองประมูลในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ที่เพิ่งผ่านไปแล้วจะล้มเหลว เนื่องจากธนาคารของจีนที่ติดต่อกันไว้ นำเอกสารมาส่งล่าช้ากว่ากำหนด รวมทั้งมติของคณะกรรมการบริษัทที่ประชุมกันช้าไม่ทันการณ์ ทำให้บริษัทไปยื่นซองประมูลล่าช้ากว่ากำหนด จึงหมดโอกาสในการลุ้นรับงานโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ อย่างไรก็ตามในปีหน้า บริษัทยังมีแผนที่จะเข้าประมูลงานของภาครัฐมากขึ้น
สำหรับแผนงานในปี 48 บริษัทเตรียมพร้อมที่จะเข้ายื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินของรัฐที่มีมูลค่าหลายพันล้านบาท สำหรับระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร โครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) อื่นๆ ของรัฐ ซึ่งทำให้บริษัทต้องเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น จากที่มีบทเรียนจากการประมูลโครงการแอร์พอร์ตลิงค์
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนเข้าไปประมูลงานภาครัฐมากขึ้น เนื่องจากมีโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐที่รอให้บริษัทผู้รับเหมาต่างๆ เข้ามาร่วมประมูลและบริษัทก็หวังที่จะได้งานจากโครงการของรัฐ
อย่างไรก็ตาม งานเอกชนยังคงเป็นรายได้หลักของบริษัท ส่วนงานภาครัฐจะเพิ่มจาก 15% เป็น 30% ในปีหน้า เนื่องจากโครงการดังกล่าวของรัฐมีเม็ด เงินมหาศาลรอให้ผู้รับเหมายื่นซองประมูล
สำหรับงานในมือของบริษัท (BLACKLOG) ที่จะรับรู้รายได้ในปี 48 มีประมาณ 4 พันล้านบาท และคาดว่าจะมีงานเพิ่มไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งปี 47 ในช่วงต้นปีบริษัทมีงานในมือประมาณ 3,500 ล้านบาท และงานที่จะไปรับรู้ในปีหน้าคืองานที่หาเข้ามาเพิ่มใหม่ในปีนี้ สรุปแล้วบริษัทมีงานทั้งสิ้นปีนี้เกินกว่า 7 พันล้านบาท
นายเสวกกล่าวว่า ในปีหน้าบริษัท ตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ประมาณ 20% จากก่อนหน้าที่ประมาณการไว้เฉลี่ยปีละ 15% เนื่องจากรายได้ของงานในมือที่จะเกิดขึ้นใหม่ปีหน้านั้น หนุนรายได้เติบโตอีกระดับหนึ่ง ส่วนการลุยงานในต่างประเทศที่ก่อนหน้านี้บริษัทต้องการเข้าไปประมูลงานในประเทศกาตาร์ ซึ่งโครงการสร้างบ้านพักนักกีฬาก็ชนะการประมูล ตาม เป้าหมาย เนื่องจากบริษัทเคยประมูล งานที่กาตาร์มาก่อนหน้านี้และชนะในประเทศนี้มาแล้วด้วย
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าร่วม (BiomassCogen Power Plant Project) ที่มีคู่สัญญาคือ บริษัท พรอสแพค จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้พลาสติก และชิ้นส่วนพลาสติกทุกชนิด โดยกลุ่มพรอสแพค เป็นเจ้าของโรงสีนครหลวง สาขา 1 ตั้งอยู่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสนใจในธุรกิจพลังงาน ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีผู้บริหารโครงการที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรม และมีประสบการณ์ด้านพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล
การลงทุนโครงการนี้เพื่อขยายธุรกิจด้านพลังงานที่มีแนวโน้มดีและเป็นการสร้างรายได้ในระยะยาวให้กับบริษัท เป็นการลดความเสี่ยงในการ ดำเนินงานที่อิงเพียงธุรกิจรับเหมา และเดินสายงานวางระบบโครงการเท่านั้น ซึ่งบริษัทใหม่แห่งนี้จะมีทุนจดทะเบียน และชำระแล้วเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท และจะดำเนินการ เพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระเป็นงวดๆ ตามความจำเป็นของการใช้เงินเพื่อพัฒนาโครงการจนครบ 136 ล้านบาท
โดย PLE จะถือหุ้น 55% คิดเป็นเงินลงทุนประมาณ 75 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัทที่ตั้งเป้าใช้งบลงทุนในโครงการแตกไลน์ธุรกิจ ครั้งนี้ เพราะบริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 200 ล้านบาท สำหรับการเข้าซื้อหุ้นในโครงการของบริษัท ไฟฟ้าชนบท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดลพบุรี ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,100 ล้านบาท แต่เนื่องจากข้อตกลงในสัญญากับพันธมิตรรายเก่าไม่ลงตัวจึงทำให้โครงการนี้ยกเลิกไป จนกระทั่งบริษัทต้องไปเจรจากับรายใหม่ดังกล่าวเพื่อเดินหน้าในโครงการดังกล่าวตามเป้าหมาย
นายเสวกกล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าเป็นขนาด 10 เมกะวัตต์ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างและดำเนินการได้ภายใน 18 เดือน และเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปลายปี 49 และรับรู้รายได้ทันที บริษัทคาดว่าจะมีรายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าเดือนละประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งโครงการ นี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพราะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ต่างจากดีลโครงการโรงไฟฟ้าชนบทที่ดำเนินการอยู่แล้ว หากมีการลงทุนก็เริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทันที สำหรับวัตถุดิบที่บริษัทจะใช้คือแกลบ และ PLE จะซื้อในราคาตันละ 600 บาท จากโรงสีข้าวเพื่อนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
สำหรับ PLE ปัจจุบันมีทรัพย์สินประมาณ 2 พันล้านบาท มีหนี้สินหมุนเวียน 1,200 ล้านบาท และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่ระดับกว่า 1 เท่า
ขณะที่บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ กล่าวถึงภาพรวมแนวโน้มธุรกิจกลุ่มรับเหมาก่อสร้างในไตรมาส 4/47 ว่า การดำเนินงานยังคงดีต่อเนื่องจากไตรมาส ที่ 3 เนื่องจากมีงานรับเหมาในมืออีกจำนวนมาก และแนวโน้มในปี 48 คาด ว่ากลุ่มรับเหมาก่อสร้างจะยังดีต่อเนื่องไปอีกเนื่องจากจะเป็นการเติบโตตามจำนวนการประมูลโครงการสาธารณูปโภคประมูลที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโครงการของภาครัฐที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งปีหน้าจะมีการรับรู้รายได้มากขึ้น เพราะธุรกิจรับเหมาก่อสร้างถือเป็นธุรกิจที่จะรับรู้รายได้ในปีถัดไป โดยเมื่อมีงานในปีนี้ก็จะไปรับรู้ในปีหน้า และจะต้องรับรู้รายได้ตรงเวลา แต่ทั้งนี้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่นเหล็ก ยังคงเป็นตัวกำหนดทิศทางของกำไร และรายได้ของธุรกิจนี้
สำหรับหุ้นที่มีความน่าสนใจในกลุ่มนี้ แนะนำหุ้นบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) เนื่องจากมีงานในมือจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นที่มาของรายได้ รวมถึงโอกาสในการได้งานประมูลโครงการยังมีแนวโน้มที่ดี และในปี 48 คาดว่า ITD จะมีกำไรมากขึ้นเนื่องจากจะมีการสร้างโรงผลิตปูนเป็นของตัวเอง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการปรับราคาปูน และคาดว่าปัจจัยนี้จะส่ง ผลดีเต็มที่เมื่อโรงปูนผลิตได้เต็มรูปแบบในปี 2549 และบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (PLE) โดยมองว่า หุ้น PLE ยังมีราคาค่าพี/อีถูก ที่ประมาณ 10 เท่า ขณะที่การดำเนินงานในปี 47 มีอัตราเติบโตเกือบ 150% เมื่อเทียบกับปี 2546 เนื่องจากมีงานที่รับรู้รายได้จากปี 2546 ประมาณ 3 พันล้านบาท ซึ่งในปี 2548 มองว่า PLE อัตราเติบโต จะยังโต แต่จะเป็นอัตราเติบโตในอัตราปกติที่ 20%
|
|
|
|
|