Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 ธันวาคม 2547
กลุ่มสหวิริยาเดินหน้าโรงถลุงเหล็กยื่นขอส่งเสริมบีโอไอกลางธันวาคม             
 


   
search resources

วิทย์ วิริยประไพกิจ
Metal and Steel
เครือสหวิริยา




กลุ่มสหวิริยาเตรียมยื่นขอบีโอไอโครงการถลุงเหล็ก 30 ล้านตันมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาทในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ฟุ้งสถาบันการเงินทั้งไทยและเทศแห่เสนอเงินกู้เพียบ พร้อมวอนรัฐสนับสนุนโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องผ่านความเห็นชอบจากสผ. เพราะต้องทำท่าเรือน้ำลึก 3แสนตันและโรงถลุงเหล็ก 2 โรง

นายวิทย์ วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือสหวิริยา เปิดเผยความคืบหน้าโครงการโรงถลุงเหล็กขนาด 30 ล้านตันต่อปี มูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาทว่า กลุ่มสหวิริยาเตรียมยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ซึ่งกลุ่มสหวิริยาต้องการให้รัฐสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.)จำนวน 6 รายการ แบ่งเป็นโครงการถลุงเหล็ก 2โรง โครงการท่าเรือน้ำลึกขนาด 3 แสนตัน 2 ท่า และโครงการนิคมอุตสาหกรรม 2 นิคมฯ

ทั้งนี้โครงการโรงถลุงเหล็กจำเป็นต้องลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาด 3แสนตัน เพื่อรองรับการนำเข้าสินแร่เหล็กจากต่างประเทศ เพราะท่าเรือประจวบที่กลุ่มสหวิริยาใช้บริการอยู่นั้นไม่สามารถรองรับโครงการดังกล่าวได้ ขณะเดียวกันรัฐควรจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในโครงการด้วยจำนวน 150-200 ล้านลบ.ม./ปี และกระแสไฟฟ้าขนาด 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งสหวิริยาจะลงทุนโรงไฟฟ้าเอง 50%ที่เหลือจะซื้อจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

"เราคงต้องดูว่าจะมีเงื่อนไขพิเศษให้กับโครงการนี้มากแค่ไหน เพราะโครงการดังกล่าวใช้เงินสูงถึง 5 แสนกว่าล้านบาท และถ้าเต็มโครงการจะใช้เงินถึง 7 แสนล้านบาท หากรัฐให้สิทธิประโยชน์เท่าโครงการอื่น ก็จะไม่ดึงดูดให้ลงทุน และหากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมไม่ผ่านก็ไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งขณะนี้ต่างประเทศต้องการให้เราไปลงทุนโครงการโรงถลุงเหล็ก เช่นจีนเสนอให้ทั้งที่ดิน ท่าเรือ ไฟฟ้า น้ำ ถนนและเส้นทางรถไฟ แต่เราเกิดในไทยอยากสร้างโรงถลุงในไทย" นายวิทย์กล่าว

หลังจากโครงการดังกล่าวผ่านการอนุมัติด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว บริษัทฯก็จะดำเนินการหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งขณะนี้มีสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศสนใจที่จะปล่อยสินเชื่อโครงการดังกล่าว โดยโครงการดังกล่าวจะมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 2 ต่อ 1 เท่า ซึ่งการลงทุนในเฟสแรก คาดว่าจะกลุ่มสหวิริยาจะลงทุนเองทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องหาพันธมิตรร่วมทุน แต่เฟสถัดไปจะพิจารณาหาพาร์ทเนอร์ร่วมทุนด้วย ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนจากญี่ปุ่น จีนและยุโรปสนใจที่จะเข้าร่วมทุนโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ สหวิริยาได้ยื่นเสนอของลงทุนโครงการถลุงเหล็กขนาด 30 ล้านตันต่อปีต่อกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 5 เฟสภายในเวลา 15 ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 5.24 แสนล้านบาท และถ้าเต็มโครงการจะใช้เงินลงทุนสูงถึง 7 แสนล้านบาท โดยเฟสแรกจะดำเนินการโรงถลุงขนาด 5 ล้านตัน เสร็จในปี 2550 ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท เฟส 2 ลงทุน 1,685 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังผลิต 4. 5 ล้านตันต่อปีในปี 2553 เฟส 3 ลงทุน 1,875 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังการผลิต 5 ล้านตันต่อปีเสร็จปี 2556 เฟส 4 ลงทุนประมาณ 3,495 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังการผลิต 8 ล้านตันต่อปีเสร็จในปี 2559 และเฟสที่ 5 ลงทุน 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังผลิต 8 ล้านตันต่อปี เสร็จในปี 2562

"โรงเหล็กใหญ่ๆ ติดอันดับโลกจะมีกำลังการผลิตระดับ 30-40 กว่าล้านตันขึ้นไป เราจึงเลือกขนาด 30 ล้านตัน เพื่อความคุ้มทุน ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะต้องสร้างท่าเรือรองรับการขนส่งสินแร่เหล็กขนาด 3 แสนตันด้วย และที่เหมาะก็คือที่บางสะพาน เพราะเป็นน้ำลึก ส่วนเทคโนโลยีเราจะต้องเปิดประมูลการแข่งขันใครเสนอมาดีสุดเราก็จะเลือก" นายวิทย์เคยกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us