Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มีนาคม 2545
อีทีเอ็นฮุบอีจีวีเป็นไทย100% ชี้บริหารร่วมกันทำธุรกิจสะดุด             
 


   
search resources

อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นต์, บมจ.
วิชัย พูลวรลักษณ์




นายวิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานบริหารบริษัท เอนเตอร์เทน เธียเตอร์ เน็ทเวิร์ก จำกัด หรืออีทีเอ็น ผู้ดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเครืออีจีวีและเป็นผู้ถือหุ้นในอีจีวี เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงภาพยนตร์อีจีวี มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น และการบริหารครั้งใหญ่หลังจากที่ดำเนินกิจการในไทยมาตั้งแต่ปี 2536 โดยตระกูลพูลวรลักษณ์ได้ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดและกลายเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายเดียวในอีจีวีแล้ว

สำหรับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เนื่องจาก มีการเจรจากันในบอรด์ของบริษัทซึ่งพิจารณากันว่า การบริหารเดิมของอีจีวีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย เพราะถือหุ้นจำนวนเท่ากันฝ่ายละ 50% คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นชาวไทยกับบริษัท วิลเลจโรดโชว์ จำกัด ประเทศออสเตรเลีย (จากเดิมมีค่ายโกลเด้นฮาร์เวสท์ของฮ่องกงด้วยรวมสามฝ่ายถือหุ้นสัดส่วนเท่าๆกัน แต่ตอนหลังขายหุ้นให้กับวิลเลจโรดโชว์ไปแล้วเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว) ทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

“เมื่อมีทั้งสองฝ่ายร่วมกันบริหาร ทำให้ทิศทางการทำธุรกิจ การตัดสินใจทำอะไร รวมทั้งการบริหารงานไม่คล่องตัว ล่าช้า แต่เมื่อวันนี้เราซึ่งเป็นคนไทยเข้ามาซื้อหุ้นทั้งหมด ก็จะทำให้การบริหารงานมีความชัดเจนมากขึ้น”

นายวิชัย ย้ำด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่มีปัญหาในการร่วมงานกันแต่อย่างใด แต่เป็นในแง่ของการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากกว่า ซึ่งเป็นธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องมีความเห็นที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการสะดุดได้ในบางครั้งทางบอร์ดมีความเห็นออกมาว่า หากจะให้อีจีวีมีการเติบโตต่อไป ควรจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยที่จะต้องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นผู้บริหารไปเลยจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและเกิดประโยชน์มากที่สุดสำหรับอีจีวี ดังนั้นอีจีวีจึงต้องแตกแล้วโต

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเริ่มในเดือนพฤษภาคมศกนี้ ซึ่งจะมีทีมผู้บริหารใหม่โดยเป็นคนไทยล้วน ซึ่งขณะนี้ผู้บริหารเก่าตั้งแต่นายเคิร์ธ ซึ่งมาจากวิลเลจโรดโชว์ที่นั่งบริหารได้ประมาณ 8 เดือนแล้ว ก็ยังคงบริหารงานต่อไป เราจะยังไม่เข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไร และย้ำด้วยว่า แม้จะเปลี่ยนผู้ถือหุ้น แต่ชื่อยังคงเป็น อีจีวี และโลโก้ก็ยังเหมือนเดิม

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ ทางวิลเจโรดโชว์ได้ถอนธุรกิจในบางประเทศออก เช่น สิงคโปร์ อินเดีย แต่มีการปรับพอร์ทโฟลิโอในประเทศที่แข็งแรง มีความต้องการที่จะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารและถือหุ้นใหญ่ในประเทศที่มีศักยภาพในธุรกิจเอนเตอร์เทน ในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ ไทย เกาหลี ไต้หวัน จีน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง โดยจะถือหุ้นทั้ง 100% ซึ่งประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของวิลเลจโรดโชว์ด้วย

ขณะที่ทางผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยไม่ต้องการขาย และต้องการที่จะดำเนินธุรกิจนี้ต่อไป เนื่องจากมีความชำนาญและประสบการณ์มานานจึงได้เจรจากันเพื่อขอซื้อหุ้นคืนทั้งหมดจากออสเตรเลียแทน โดยเงินที่ซื้อนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่แหล่งที่มาของเงินจะมาจากตระกูลพูลวรลักษณ์เป็นหลัก และสถาบันการเงินส่วนหนึ่ง

ปัจจุบันนี้อีจีวีมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และคาดว่าจะต้องเพิ่มทุนใหม่ในเร็วๆนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับมูลค่าสินทรัพย์ของอีจีวีที่มีมากกว่า 1,500-2,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงแล้วนายวิชัย จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดมากกว่า 50% และหลังจากนั้นมีแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นแผนที่เตรียมมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว รวมทั้งมีแผนการที่จะขยายสาขาต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในวงการโรงภาพยนตร์ หลังจากที่ไม่ได้ขยายสาขามาหลายปี

ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดของอีจีวีลดลงเหลือแค่ 34% จากเดิมที่มากกว่านี้ และเป็นรองคูแข่ง 3-4% โดยอ้างเหตุผลว่า เป็นเพราะว่าเมื่อมีผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์มากขึ้นย่อมส่งผลให้ตลาดรวมเติบโตขึ้นแน่นอน และเค้กก้อนนี้ก็ต้องถูกแบ่งจัดสรรกันไปเป็นธรรมดา ซึ่งผลประกอบการปีที่แล้วมี 900-1,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15-30%

อีจีวีหายไปไหน

เป็นที่น่าสังเกตุว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอีจีวีไม่มีการขยายตัวในแง่ของสาขา ทั้งๆที่ตลาดรวมของธุรกิจหนังและโรงภาพยนตร์เติบโตอย่างเต็มที่ และดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆเมื่อเทียบในช่วงภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งสาขาล่าสุดของอีจีวีที่เปิดให้บริการก็คือ ที่เดอะมอลล์โคราช ปัจจุบันอีจีวีมีโรงภาพยนตร์ในเครือทั้งสิ้น 79 โรงใน 9 สาขา คือ ซีคอน รังสิต บางแค ลาดพร้าว แฟชั่นไอส์แลนด์ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ ศรีราชา โคราช และเซ็นทรัลปิ่นเกล้า

ก่อนหน้านี้อีจีวีประสบกับปัญหาผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ในบางสาขาทำให้ตัองตัดสินใจปิดสาขานั้นทิ้งไปแล้วเช่น อีจีวีบางพลี ซึ่งมี 4 โรง ตั้งอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ปิดไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นอกนั้นมีบางสาขาที่ยังมีอาการไม่ดีเช่น สาขาอิมพีเรียลลาดพร้าว ซึ่งมีกระแสข่าวว่าจะปิดเหมือนกัน เพราะปริมาณผู้ชมน้อย ซึ่งตัวศูนย์เองก็ย่ำแย่ด้วย ล่าสุดอิมพีเรียลได้เปิดทางให้บิ๊กซีเข้ามาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าทั้งหมดแล้ว ทำให้ยังไม่แน่ใจว่าอีจีวีจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

ล่าสุดในโครงการบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์สาขาราชดำริตรงข้ามเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ก็มีความเป็นไปได้ว่า อีจีวี จะเปิดให้บริการสาขาใหม่ที่บิ๊กซีสาขานี้ด้วย

ขณะที่คู่แข่งอย่างเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์เติบโตอย่างต่อเนื่องเปิดสาขาใหม่แทบทุกปี ล่าสุดก็เพิ่งเปิดสาขาที่รังสิตเป็นรูปแบบเมกกะเพล็กซ์ขนาดใหญ่จำนวน 16 โรงแห่งแรกในภูมิภาคนี้ ขณะนี้เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์มีสาขาทั้งสิ้น 7 สาขา รวม 65 โรง (ไม่นับโรงหนังไอแมกซ์ 1 โรง จำนวน 600 ที่นั่ง) คือที่ ปิ่นเกล้า รัชโยธิน เอกมัย รามคำแหง เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เชียงใหม่ และรังสิต รวมจำนวนที่นั่งทั้งสิ้น 20,400 ที่นั่ง

นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มภายในปีสองปีนี้อีกอย่างน้อย 4 แห่งคือ เซ็นทรัลพระรามสอง เซ็นทรัลพระรามสามซึ่งเข้าไปเทคโอเวอร์โรงหนังเดิมของค่ายสยามยูเอมาทั้งหมดทุกโรง และสาขาที่เซ็นทรัลบางนา และสาขาบางกะปิในเทสโก้โลตัส ซึ่งเมื่อเปิดครบตามแผนงานนี้แล้วจะทำให้เมเจอร์ฯมีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 11 แห่งรวม 105 โรงและมีที่นั่งกว่า 32,200 ที่นั่ง และตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดปีนี้ไว้ที่มากกว่า 50% ขณะที่ปีที่แล้วทำส่วนแบ่งตลาดได้กว่า 40%

ส่วนค่ายเอสเอฟก็ผงาดขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากสาขาแรกที่มาบุญครองเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กลับมีสาขาเพิ่มในวันนี้มากถึง 6 แห่งแล้วคือ ปีที่แล้วเปิดรวดพร้อมกันที่เดอะมอลล์สามสาขา และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ก็เปิดสาขาใหม่ที่เซ็นทรัลลาดพร้าวและเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยา และมีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่อย่างน้อย 2 แห่งในปีนี้อีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us