ปี 1997
บริษัท TGP อยู่ในฐานะที่เกือบจะล้มละลายแล้ว โดยมีหนี้สินมูลค่ากว่า 5,000
ล้านบาท และมีภาระขาดทุนมากกว่า 2.6 พันล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักของการขาด
ทุนมาจากการสร้างโรงงานใหม่ที่แหลมฉบังด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท
ทำให้ผลผลิตที่ออกมาได้ ไม่สามารถขายได้หมดในประเทศ จึงต้องหาทางส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย
ในเวลาเดียวกัน บริษัทยังได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จำนวนหนึ่ง และดำเนินการลงทุนสร้างโรงงานยิบซั่มที่เซี่ยงไฮ้และอินโดนีเซีย
ส่วนโรงงานแผ่นไฟเบอร์ ซีเมนต์ (FCB) ที่แหลมฉบัง โรงงานผลิตร่วมกระแสไฟฟ้าที่แหลมฉบังและโครงการลงทุนอื่นๆ
อีก การลงทุนเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้
บริษัทเผชิญกับความยากลำบากทางการเงินอย่างมาก อยู่ในฐานะใกล้ล้มละลาย
บรรดาเจ้าหนี้ขอให้ผู้บริหารบริษัทหาผู้ร่วมทุนต่างชาติ เพื่อนำเม็ดเงินใหม่ใส่เข้ามาและดำเนินธุรกิจต่อไป
ผู้บริหารเริ่มติดต่อกับบริติช ปลาสเตอร์บอร์ด (British Plaster Board หรือ
BPB) การเจรจา กับ BPB นี้ใช้เวลามากกว่า 1 ปี และ BPB เป็นผู้เจรจาร่วมทุนกับบริษัทเพียงรายเดียวเท่านั้นในช่วงเวลานี้
ปี 1998
ในช่วงต้นปี 1998 ไม่มีการทำข้อตกลงใดๆ กับ BPB เจ้าหนี้ไม่อาจยอมรับข้อเสนอของ
BPB ได้และเริ่มเบื่อหน่ายอ่อนล้า จึงตัดสินใจให้มีนักลงทุนรายใหม่ยื่นข้อเสนอการลงทุน
BPB มีข้อมูลของ TGP มากกว่านักลงทุนรายอื่นๆ เพราะได้เจรจากับบริษัทมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
และในตอนนั้นครอสบี้ก็กำลังร่างแผนฟื้นฟูอยู่ด้วย
Boral แห่งออสเตรเลียก็เข้าร่วมเสนอแผนร่วมลงทุนนี้ด้วย BPB ทำงานอยู่วงนอก
เสนอรายงานการฟื้นฟู และดำเนินการเจรจาต่อเนื่อง Boral เพิ่งเริ่มต้นกระบวน
การนี้
Lafarge แห่งฝรั่งเศสก็สนใจซื้อกิจการ TGP บริษัทฯ ได้รับสิทธิต่างๆ จากการส่งเสริมการลงทุนของ
BOI เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นยิบซั่มเมื่อปีที่แล้ว
Fletcher challenge เป็นนักลงทุนอีกรายหนึ่งที่เข้ามาในไทยเมื่อเดือนมีนาคม
เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยว กับการประเมินมูลค่า TGP และในวันที่ 31 มี.ค. บริษัทฯ
ยืนยันกับเจ้าหนี้ TGP ว่าสนใจลงทุนซื้อ TGP และเริ่มขอข้อมูลเพื่อไปศึกษาประเมินราคา
ธนาคารเจ้าหนี้ได้ให้ ข้อมูลบางส่วนไป แต่ไม่ได้ทั้งหมด เพราะมีเงื่อนไขข้อตกลงลับกับ
BPB ธนาคารต้องรอให้เงื่อนไขที่ผูกพันไว้ กับ BPB หมดอายุลงก่อน
เจ้าหนี้รายใหญ่ได้แก่ :
ซิตี้แบงก์ 19.8%
ธ.กสิกรไทย 12%
ชโรเดอร์ 11.1% (ชโรเดอร์ได้โอนภาระหนี้ ก้อนนี้ให้ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้)
ภัทรธนกิจ 8.6% (ธ.กสิกรไทยซื้อภัทรฯไปแล้ว)
ธ.กรุงไทย 3.2%
ธ.ซากุระ 3.1%
ธ.นครธน 2.5%
กรุงไทยธนกิจ 1.9%
ทิสโก้ 1.9%
ธ.มหานคร 1.7%
สินเอเซีย 1.5%
ผู้ถือหุ้นกู้ 15.2%
9 เมษายน
มีการใช้กฎหมายมาตรา 90
24 เมษายน
Fletcher เสนอรายงานแผนการฟื้นฟูกิจการให้กับคณะกรรมการ (Steering Committe)
ข้อเสนอราคาซื้อขั้นต้นมีดังนี้ :-
Boral : 40 ล้านเหรียญสหรัฐ
BPB : 1,400 ล้านบาท
Fletcher : 1,600 ล้านบาท
ข้อเสนอเหล่านี้ได้รับความสนใจจากเหล่าเจ้าหนี้มาก โดยเฉพาะกรณีของ Fletcher
ซึ่งยืนยันว่ายอมมีฐานะการเป็นเจ้าหนี้ต่ำกว่าบรรดาเจ้าหนี้ทางการเงินทั้งหลาย
ช่วงเดือนพฤษภาคม คณะกรรมการฯ เตรียมร่าง TOR หลังจากที่มีการตัดสินใจเปิดประมูลมากกว่าที่จะใช้วิธีการเจรจาเฉพาะราย
TOR หรือเงื่อนไขการประมูลคาดว่าจะร่างเสร็จในกลางเดือนพฤษภาคม
11 พฤษภาคม
Fletcher และเจ้าหน้าที่ด้านวาณิชฯ ได้เข้าพบฝ่ายเจ้าหนี้คือแบงก์กสิกรไทยและภัทรธนกิจ
เพื่อเสนอตัวเป็นผู้ประมูลซื้อกิจการ TGP
22 พฤษภาคม
Fletcher และเจ้าหน้าที่ด้านวาณิชฯเข้าพบเจ้าหนี้ ซิตี้แบงก์เพื่อเสนอแนวคิดและเทคโนโลยีที่จะใช้ใน
TGP
25 พฤษภาคม
Fletcher และเจ้าหน้าที่ด้านวาณิชฯ เข้าพบเจ้าหนี้ ซิตี้แบงก์เพื่อเสนอแนวคิดและเทคโนโลยีที่จะใช้ใน
TGP อีกครั้ง โดยครั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการประมูลทั้งหมดได้เข้าเสนอแผนของตนด้วยทุกราย
1 มิถุนายน
ซิตี้แบงก์ยืนยันว่าจะออกจดหมายเชิญเข้าร่วมการ ประมูลได้ในวันที่ 3 มิถุนายน
แทนที่จะทำเป็นแค่ TOR
2 มิถุนายน
คณะกรรมการ Steering Committee ประกาศว่าจะจัดให้มีการเปิดประมูลสำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน
TGP โดยคณะกรรมการจะคัดเลือกที่ปรึกษา เพื่อมาดำเนินการในเรื่องของขั้นตอนการประมูลให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
และเป็นแบบมืออาชีพ และเพื่อทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการวิเคราะห์ข้อเสนอการประมูล
และทำคำแนะนำ (recommendations) เสนอแก่เจ้าหนี้ของ TGP รายอื่นๆ
ต้นเดือนกรกฎาคม บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของดีลอยท์
ทู้ช โธมัทสุ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินข้อเสนอของผู้เข้าประมูล
ดีลอยท์ฯ อ้างว่าคณะกรรมการได้ ขอให้เขาทำการทบทวนเงื่อนไขการประมูลหรือ
TOR ใหม่ แล้วค่อยส่งไปให้แก่บริษัทผู้เข้าประเมิน ซึ่งบริษัทเหล่านั้นได้ทำการเสนอข้อเสนอเบื้องต้นแก่คณะกรรมการไปแล้ว
และได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเข้าร่วมประมูล
นักลงทุนที่สนใจเข้าร่วมประมูลถูกขอให้ลงชื่อในข้อตกลงเพื่อยื่นจดหมาย
ซึ่งในจดหมายนี้จะเป็นการยืนยันว่าจะมีการส่งซองประมูลภายในวันที่ 10 มิถุนายน
และคณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ชนะการประมูลภายในวันที่ 16 มิถุนายน หรือในวันอื่นๆ
ที่คณะกรรมการกำหนดขึ้น
นักลงทุนที่ตอบยืนยันการเข้าร่วมประมูลได้แก่ :
BPB (UK)
Boral (Australia)
Fletcher Challenge (New Zealand)
Lafarge (France)
CSR (Australia)- เป็นผู้มาร่วมรายหลังสุดและไม่ได้จัดทำข้อเสนอเบื้องต้น
3 มิถุนายน
ผู้สนใจเข้าประมูลคาดว่าจะได้รับจดหมายเชิญเข้าร่วมการประมูลจากคณะกรรมการ
10 มิถุนายน
วันสุดท้ายสำหรับการยื่นซองประมูล เป็นที่คาดว่าคณะกรรมการจะใช้เวลา 1 สัปดาห์เพื่อพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูล
22 มิถุนายน
เงื่อนไขการประมูลเพิ่งประกาศ
30 มิถุนายน
กำหนดวันสุดท้าย (อันใหม่) ในการยื่นซองประมูล
บริษัทที่ยื่นซองประมูลได้แก่ :
BPB (UK)
Boral (Australia)
Fletcher Challenge (New Zealand)
Lafarge (France)
CSR ไม่ได้ยื่นซองประมูล
Fletcher ยื่นซองประมูลแก่ดีลอยท์ ผู้ร่วมประมูล ในกลุ่มนี้ได้แก่ บัญชา
กัมปนาทแสนยากร - หนึ่งในตระกูล ผู้ก่อตั้งกิจการ TGP และบริษัท James Hardie
ข้อเสนออันใหม่ของกลุ่มนี้ จะมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาเป็นจำนวน 2,400 ล้านบาท
ซึ่งคิดเป็น 50% ของมูลค่ากิจการ TGP
6 กรกฎาคม
Fletcher Consortium และที่ปรึกษาทางการเงินได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของดีลอยท์และแบงก์เจ้าหนี้
เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างครั้งล่าสุดของบริษัท James Hardie
ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม Fletcher Consortium และยืนยันด้วยว่า เหตุการณ์นี้ไม่มีผลกระทบต่อการเข้าร่วมประมูลและข้อเสนอของกลุ่มในการซื้อกิจการ
TGP แต่อย่างใด
9 กรกฎาคม
แม้วันนี้จะเป็นวันหยุด แต่เจ้าหน้าที่ของดีลอยท์ได้เรียกผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายให้มาพบ
โดยแยกพบเป็นรายๆ ดีลอยท์พบว่ามูลหนี้ทั้งหมดของ TGP มีค่าประมาณ 6.5 พันล้านบาท
โดยแยกเป็นเจ้าหนี้การค้า 500 ล้านบาท
ในการพบปะกับดีลอยท์ครั้งนี้ ดูเหมือนว่าดีลอยท์ จะยอมรับข้อเสนอที่ว่าให้
Fletcher และ Hardies เป็นผู้ร่วมลงทุนใน TGP ได้ หรือหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งในสองรายนี้
ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการในบริษัทของตน ก็ให้บริษัทที่เหลือที่ได้รับอนุมัติ
สามารถลงทุนใน TGP ได้ 100%
10 กรกฎาคม
ดีลอยท์ต้องการให้มีการชี้แจงรายละเอียดในข้อเสนออีก ซึ่งก็ได้มีการตอบคำถามไปแล้ว
และคาดว่า ดีลอยท์ต้องเสนอผลการตัดสินผู้ชนะประมูลให้คณะกรรมการ Steering
Committee ในวันที่ 15 กรกฎาคม
15 กรกฎาคม
ผลการตัดสินผู้ชนะประมูล โดยเลือกไว้ 2 รายคือ Fletcher Challenge และ Boral
ส่วนผู้ที่เข้ามา เป็นรายที่สามคือ BPB ขณะที่ Lafarge ไม่ผ่านเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค
16 กรกฎาคม
คณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ทำแผนการฟื้นฟู ซึ่งพิจารณาบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี
5 ราย โดยให้ความสนใจดีลอยท์ และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน มากกว่ารายอื่น เพราะสองรายนี้เคยมีประสบการณ์ทำงานให้
TGP มาก่อน
27 กรกฎาคม
Fletcher Consortium และกลุ่มแบงก์เจ้าหนี้ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพื่อเสนอโครงการฟื้นฟู TGP ในระหว่างการประชุมนี้ ฝ่ายแบงก์เจ้าหนี้ได้สอบถามรายละเอียดขั้นตอนการถอดถอน
และการรักษาสถานภาพการเป็นบริษัทจดทะเบียนของ TGP
28 กรกฎาคม
เจ้าหน้าที่ชุดเดิมได้พบกับเจ้าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์เป็นวันที่สอง เพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย
หลังจากที่มีการขาย TGP แล้วจะเป็นอย่างไร เพราะนี่เป็นประเด็นที่ตลาดฯ ให้ความสนใจ
31 กรกฎาคม
วันสุดท้ายของการเสนอ proposal ที่นำไปปรับปรุงแก้ไข คณะกรรมการมีจดหมายแจ้งมากับผู้ประมูลที่เข้ารอบสุดท้าย
ว่าจะยืดกำหนดรับ proposal ออกไปจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม
James Hardie ประกาศถอนตัวออกจาก Fletcher Consortium โดยให้เหตุผลว่าการประมูลเพื่อซื้อ
TGP มีความล่าช้าและไม่แน่นอนอย่างมาก ทั้งเรื่องกำหนดวันเวลาและขั้นตอนต่างๆ
มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Fletcher ยังยืนยันรับรอง James Hardie อยู่
4 สิงหาคม
James Hardie ประกาศถอนตัวออกจากการประมูล เพราะมีความอึดอัดใจในขั้นตอนการประมูลของคณะกรรมการ
รวมทั้งขั้นตอนการทำ short list ความปรวนแปรในการกำหนดวันตัดสิน เหตุผลเหล่านี้ทำให้ต้องถอนตัว
นอกจากนี้ James Hardie ยังมีความรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การประมูล
(bid) แต่เป็นการทำคำเสนอ ซื้อ (tender) และเนื่องจากบริษัทมีโอกาสการลงทุนเสนอ
ตัวเข้ามาจากทั่วโลก บริษัทจึงเลือกที่จะไปฉวยโอกาสจากแหล่งอื่น ที่มีความแน่นอนมากกว่าในกรณีของ
TGP
21 สิงหาคม
วันสุดท้ายในการยื่น proposal ที่ปรับปรุงแล้ว และเนื่องจากการถอนตัวของ
Fletcher และ James Hardie ดังนั้น Boral จึงต้องยื่น proposal และ BPB ก็ถูกเรียกให้เข้ามาเสนอด้วย