|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผ่ายุทธศาสตร์นอนวอยซ์ปี 2548 เอไอเอส ด้วยเป้าหมายรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท ชูคอนเซ็ปต์ ร่วมหัวจมท้าย หวังเดินตามรอยความสำเร็จร้านเทเลวิซ ยกระดับคอนเทนต์ โพรวายเดอร์เป็น Key Strategic Partner ที่เอไอเอส พร้อมทุ่มงบสนับสนุนทุกรูปแบบ
นายกฤษณัน งามผาติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสกล่าวถึงเป้าหมายรายได้บริการนอนวอยซ์ในปีหน้า ว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท จากตลาดรวมประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปี 2547 ที่เอไอเอสมีรายได้ประมาณ 7.9 พันล้านบาท
"รายได้จากบริการนอนวอยซ์ของเอไอเอส มากกว่าสถานีทีวีบางช่อง หรือมากกว่าธุรกิจบันเทิงบางบริษัทด้วยซ้ำ"
ปีหน้าฐานลูกค้าของเอไอเอสจะอยู่ที่ประมาณ 17.5-18.5 ล้านราย จากปัจจุบันที่มียอดลูกค้าประมาณ 15 ล้านราย โดยที่ปีหน้าจะมีแพกเกจค่าบริการออกมามากกว่า 30 แพกเกจ ซึ่งบริการนอนวอยซ์ก็จะพ่วงเข้าไปในแพกเกจเหล่านั้น
"ปีหน้าตลาดนอนวอยซ์จะเปลี่ยนแปลงจาก SMS ระหว่างบุคคลกับบุคลที่จะชะลอตัว ก็จะเปลี่ยนเป็นแอปพลิเคชันกับดาต้า ซึ่งจะเติบโตแบบก้าวกระโดด"
นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจ บริการสื่อสารไร้สาย เอไอเอสกล่าวว่าบริการนอนวอยซ์ของเอไอเอสจะมีโมบายไลฟ์ เป็นธงเพื่อสร้าง Wireless Society บนยุทธศาสตร์ สำคัญ 3 ด้านคือ Availability หรือความหลากหลายของบริการ ที่ต้องมีจำนวนมากรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม Affordability เป็นการดูความเหมาะสมของค่าบริการ ไม่กำหนดตามรูปแบบเดิมๆว่าค่าส่ง SMS หรือ MMS ครั้งละเท่าไหร่ แต่ดูความคุ้มค่าของข้อมูลที่ลูกค้าพร้อมจ่ายค่าบริการ และ Accessibility ต้องให้ลูกค้าเข้าถึงการใช้งานง่าย
เขากล่าวว่าจากเป้ารายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท ในปีหน้า จะมาจากการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการข้อมูลหรือคอนเทนต์โพรวายเดอร์มากกว่า 50% ซึ่งเอไอเอสจะแบ่งลำดับความสำคัญของคอนเทนต์โพรวายเดอร์ออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.Key Strategic Partner ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ที่เรียกว่าร่วมหัวจมท้ายกับเอไอเอส ร่วมกันทำแผนธุรกิจแอ็กชั่นแพลน แม้กระทั่งเซอร์วิส โรดแมปร่วมกัน ซึ่งเอไอเอสพร้อมซัปพอร์ตเต็มที่ โดยที่บริการต่างๆที่เกิดขึ้นจะสามารถใช้บริการได้เฉพาะลูกค้าเอไอเอสเท่านั้น โดยที่เอไอเอส อยู่ระหว่างคุยกับ 5 คอนเทนต์ โพรวายเดอร์รายใหญ่ที่ทำรายได้ให้มาก
2.Content Partner หรือ Content Aggregator หมายถึงคอนเทนต์โพรวายเดอร์ที่ให้บริการร่วมกับ โอเปอเรเตอร์ทุกราย เอไอเอสก็พร้อมให้ต่อเชื่อมเพื่อให้บริการ และ 3.Other Related Business ซึ่งเป็นธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์จากบริการสื่อสารไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นคอนซูเมอร์โปรดักต์ หรือธุรกิจสถาบันการเงินการใช้ประโยชน์ จาก SMS ซึ่งสามารถร่วมทุนกับเอไอเอสในการให้บริการได้
"เอไอเอสจะทำตัวเป็นซัปพอร์ตเตอร์ ให้พาร์ตเนอร์ด้านคอนเทนต์ เจริญเติบโตไปพร้อมๆกับเอไอเอส"
สำหรับธุกริจนอนวอยซ์ของ เอไอเอสมีการวิเคราะห์ว่าประมาณ 88% มาจากด้านเอนเตอร์เทนเมนต์ 9% มาจากด้านอินฟอร์เมชัน 2% มาจากด้าน Messaging และ 1% มาจาก M-Commerce โดยที่การใช้งานด้านเอนเตอร์เทนเมนต์ที่สูง 88% หากแยกย่อยลงไปอีกจะพบว่าเป็นการดาวน์โหลดถึง 54% เกม 3% ออดิโอเท็กซ์ 32% โมบาย อินเตอร์แอ็กทีฟ 11% ซึ่งเอไอเอสพร้อมให้การสนับสนุนคอนเทนต์โพรวายเดอร์ไม่ว่าจะเป็นด้านมีเดียซัปพอร์ต ที่มีงบปีละหลายพันล้านบาท การจัดกิจกรรมการตลาดร่วมกัน หรือการบันเดิลบริการเข้าไปในโทรศัพท์มือถือที่มีการจำหน่ายผ่านเครือข่ายเอไอเอสเดือนละกว่า 5 แสนเครื่อง ซึ่งถือเป็นโอกาสของคอน-เทนต์ โพรวายเดอร์ที่สนใจร่วมทำธุรกิจกับเอไอเอส
ด้านนายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาบริการ สื่อสารไร้สาย เอไอเอสกล่าวว่าปีหน้าบริการนอนวอยซ์ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมและมีโอกาสเติบโตประกอบด้วย 1.คอลลิ่ง เมโลดี้ หรือการใช้เสียงเพลงระหว่างรอรับสาย ที่เติบ โตต่อเนื่องจากในปีนี้โดยที่ปัจจุบันมีคนใช้กว่า 3 ล้านคนทำรายได้ให้เอไอเอส 1.2 พันล้านบาท โดยที่รูปแบบในปีหน้าจะมีลูกเล่นมากขึ้นเช่นการจัดเป็นแพกเกจ 10 เพลงในราคาพิเศษหรือการเลือกเพลงแยกตามช่วงเวลาและเบอร์เรียกเข้า
2.บริการในลักษณะเป็นพอร์ทัล หรือการใช้ GPRS โดยที่ขณะนี้มีคนใช้ GPRS ประมาณ 2.4 ล้านคนจากจำนวนเครื่องที่รองรับ 3.3 ล้านเครื่องหรือมีการใช้งานกว่า 72% โดยที่ในปีหน้าจะเพิ่มจำนวนเป็น 7.7 ล้านเครื่องที่รองรับ GPRS ซึ่งถือเป็นโอกาสไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำฟรีคอน-เทนต์มาไว้บนพอร์ทัล โดยที่มีรายได้จากค่าโฆษณา ซึ่งจะเป็นการแบ่งประเภทคอนเทนต์ให้ชัดเจนขึ้นว่าคอนเทนต์ไหนเป็นพรีเมียมซึ่งสามารถเก็บเงินได้ หรือคอนเทนต์ไหนฟรี แต่คอนเทนต์โพรวายเดอร์ก็จะมีรายได้จากค่าโฆษณา
3.บริการ MMS ซึ่งปีนี้เติบโต 5 เท่าจาก 20 ล้านบาท มาเป็น 100 ล้านบาท และคาดว่าปีหน้าจะเติบโตเท่ากัน จากการที่เอไอเอสปรับค่าบริการส่ง MMS เป็นครั้งละ 6 บาท 4.บริการ SMS จะเติบโตด้านแอปพลิเคชัน ในเชิงคอนซูเมอร์ โปรดักต์ โดยเฉพาะในเรื่องโมบาย มาร์เกตติ้ง และ 5.การสร้างคอมมูนิตี้ เพื่อจับกลุ่มลูกค้าเฉพาะด้านเช่นการสร้างคอมมูนิตี้ของ คนชอบตกปลา ซึ่งคอนเทนต์ โพรวายเดอร์สามารถเข้าไปให้บริการในลักษณะการดูแลพอร์ทัลในส่วนนี้ได้
สำหรับการเติบโตของธุรกิจนอนวอยซ์เกิดจาก Customer Value หรือการให้ความสำคัญกับลูกค้าสำหรับบริการเสริม, Innovation ด้านแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าด้านการสื่อ สารข้อมูลที่มีการพัฒนาต่อเนื่องจาก SMS จาก P2P(Person To Person) ก็นำมาใช้ด้านธุรกิจ อินเตอร์แอ็กทีฟ กับรายการทีวีและวิทยุ และการใช้งานที่ง่ายขึ้น
นายสมชัยกล่าวว่าเอไอเอสจัดงานสัมมนาเพื่อรวมพลังพันธมิตรด้าน คอนเทนต์กว่า 200 รายภายใต้แนวคิด Together We Go,Together We Win เพื่อรวมพลังคอนเทนต์ โพรวายเดอร์ให้รับรู้แนวทางธุรกิจด้านนอนวอยซ์ของเอไอเอสปีหน้า โดยความเข้มแข็งของเอไอเอสประกอบด้วย 3 ด้านคือฐานผู้ใช้บริการเอไอเอสที่มากกว่า 15 ล้านราย, วิชันในเรื่องนอนวอยซ์ของเอไอเอสที่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Innovation แอปพลิเคชัน การสร้างประสบการณ์ให้ผู้ใช้บริการและการให้ พันธสัญญาหรือคอมมิตเมนต์กับคอนเทนต์โพรวายเดอร์ที่เอไอเอสจะเปลี่ยนบทจากโอเปอเรเตอร์กลายเป็น ซัปพอร์ตเตอร์เพื่อเติบโตไปพร้อมๆ กัน
"เอไอเอสเคยทำสำเร็จกับเรื่องช่องทางอย่างร้านเทเลวิซที่มีแต่คนอยากขยายเพิ่มไม่มีใครอยากออก เรื่องนอนวอยซ์ก็เช่นเดียวกัน"
|
|
|
|
|