Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547
New CEO             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





พวกเขาและเธอเกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม เติบโตมากับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่มีสีสันมากที่สุดช่วงหนึ่ง เวลาของพวกเขาและเธอมาเร็วมากทีเดียว ในฐานะรุ่นที่ 2 ยุคใหม่ เป็นปรากฏการณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในปี 2547 ที่กำลังจะผ่านไป

พวกเขาและเธอแตกต่างกับรุ่นที่ 1 ที่โอกาสมาเร็วกว่ามาก ยิ่งไปกว่านั้นยังดูจะมีโอกาสมากที่สุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทยเลยทีเดียว เป็นครั้งแรกที่คนหนุ่มสาวอายุไม่ถึง 30 ปี ได้ก้าวขึ้นตำแหน่งสูงสุดขององค์กรธุรกิจยุคใหม่ ในประวัติศาสตร์กลุ่มคนหนุ่มสาวที่เคยทำสถิติอย่างเป็นระบบ อายุจะมากกว่า 30 ปี ก็นับว่ามากแล้วในยุคนั้น ว่าไปแล้วก็คือในช่วงสงครามเวียดนามนั่นเอง กลุ่มคนเหล่านี้มีทั้งทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ และมืออาชีพที่ผ่านการศึกษาอย่างดี ประสบการณ์ทำงานที่ดีนั่นเอง

การก้าวขึ้นของรุ่นที่ 2 มีความหมายที่น่าสนใจหลายมิติ

รุ่นที่ 1 ที่เป็นฐานของรุ่นที่ 2 ถือเป็นผู้มาใหม่รุ่นล่าสุดของคนไทย ซึ่งผมเคยเขียนอรรถาธิบายไว้พอสมควร ผู้มาใหม่รุ่นนี้สามารถสร้างอาณาจักรธุรกิจภายในช่วงเวลาเพียงทศวรรษเดียวเท่านั้น กลุ่มนี้นำโดยทักษิณ ชินวัตร ภายใต้เงื่อนไขสังคมไทยพัฒนาและปรับเปลี่ยนรากฐานต่อเนื่องจากสงครามเวียดนาม ต่อเนื่องมาในยุควิกฤติการณ์น้ำมัน วิกฤติการณ์ตลาดหุ้นครั้งแรก เป็นภาพสะท้อนที่สังคมเปิดตัวเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมระดับโลกอย่างเต็มที่ คนรุ่นแรกนี้ เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการ

หนึ่ง วิถีชีวิตของคนไทยสมัยใหม่ (ที่สัมพันธ์กับสินค้าและบริการสมัยใหม่) ได้ขยายฐานจากชุมชนในเมืองหลวง ออกสู่หัวเมืองและขยายตัวไประดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว

สอง โอกาสในการระดมทุนที่กว้างขึ้น มิได้จำกัดอยู่ที่ฐานการเงินของระบบธนาคารไทยเดิม หากอยู่ตลาดทุนและระบบธนาคารโลก

แม้ว่ารุ่นที่ 1 ในฐานะผู้มาใหม่จะเติบโตมาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ผ่านแรงเสียดทานมาไม่น้อยทีเดียว พวกเขามีความคล่องตัว มีความสามารถ ลักษณะบุคคลสูงมาก โดยเฉพาะความสามารถ ที่ผสมผสานระหว่างความรู้การบริหารทุนสมัยใหม่เข้ากับอำนาจนิยม ระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิม ซึ่งยังคงอยู่

คนรุ่นที่ 2 จึงมีบันไดที่ทอดผ่าน พวกเขาสมควรจะมีโอกาสมากกว่าคนรุ่นแรก ยังไม่ใช่สรุปที่จะกระทำได้ขณะนี้ เพราะความจริงมีสถานการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นและผันแปรมากกว่ายุคที่รุ่นที่ 1 เคยประสบมา

แม้ว่าคนรุ่นสอง ได้รับโอกาสที่มีตั้งแต่เดิมในช่วงที่รุ่น 1 ที่กำลังเติบโต พวกเขาและเธอจึงมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างดี อาจจะเรียกว่าดีที่สุดในช่วงประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาของรุ่นถัดมาเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษาอย่างดีจากต่างประเทศ

คนรุ่นที่ 2 ยังโชคดีอีกชั้นหนึ่ง นั่นคือสถานการณ์สังคมไทยในเมืองใหญ่และหัวเมืองเปลี่ยนปรับฐานไปมากทีเดียว การเติบโตของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นอายุ 20 ปีขึ้นไป เป็นฐานตลาดที่ใหญ่มาก และมีบุคลิกที่แน่ชัด ว่าด้วยยุทธศาสตร์ทางธุรกิจแล้ว ฐานตลาดใหม่กลุ่มนี้ คืออนาคตของสังคมไทยในหลายมิติ รวมถึงตลาดสินค้าที่มีความกว้างใหญ่ ดังนั้นผู้บริหารที่เป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งถือว่าอยู่ในวัยเดียวกัน เป็นสมมติฐานว่าพวกเขาย่อมเข้าใจตลาดใหม่ได้ดี

คนรุ่นที่ 2 โชคดีที่เข้ารับช่วงภารกิจในภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นจังหวะที่คนรุ่นที่ 1 จงใจทำไว้ ดังนั้นความคึกคักและสีสันของคนรุ่น 2 ในช่วงปี 2547 จึงมาด้วยปัจจัยข้างต้น

อย่างไรก็ดี ในปัจจัยที่เอื้ออำนวย ย่อมซ่อนอุปสรรคไว้ด้วย ที่สำคัญก็คือสถานการณ์ต่างๆ ของสังคมไทยได้ปรับเปลี่ยนฐานความไม่แน่นอน ความผันแปร ไปอีกระดับหนึ่ง ที่ทั้งคนรุ่น 1 และ 2 ไม่มีประสบการณ์มาก่อน

ความไม่แน่นอน ความผันแปรของสังคมระดับโลกมีเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ต้องปรับฐานความคิดเดิมเสียสิ้น ความผันแปรที่ว่านี้ ไม่เพียงภาวะทางเศรษฐกิจของโลก ในระดับกว้างเท่านั้น ยังรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นลบล้างความรู้เดิมมีมากขึ้นอย่างมาก แรงขับเคลื่อนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนฐานเป็นเทคโนโลยีระดับผู้บริโภคกันเป็นระบบแล้ว มีพลังมากขึ้น ที่สำคัญจากนั้น วิถีชีวิตที่ผันแปรยังสะท้อนมายังกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ โดยเฉพาะคนรุ่นอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของสังคมด้วย

คนรุ่น 2 จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเช่นนี้มากขึ้นในปีถัดๆ ไป

คนรุ่นที่ 2 ที่ผ่านสถานการณ์ที่มีความวิตกกังวลอย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไปก็จะกลายเป็นพลังของสังคมไทยยุคใหม่อย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม กฎพื้นฐานที่ว่า ผู้คนที่ผ่านการทดสอบนั้นได้ ย่อมมีน้อยกว่าคนที่ไม่ผ่าน ยังเป็นจริงเสมอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us