Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547
Walking in Nagoya             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





หลายต่อหลายครั้งที่เคยนึกอยากแวะลงไปเที่ยวเวลาที่ Shinkansen ขบวน Hikari แล่นเข้าจอดเทียบชานชาลาสถานีนาโงย่า แต่หากลองคิดคำนวณถึงค่ารถไฟ ที่ต้องจ่ายเพิ่มกับเวลาที่มีจำกัดแล้วความคิดนั้นเป็นอันต้องยกเลิกไปโดยปริยาย กระทั่งเวลาได้ล่วงเลยไปกว่า 5 ปีจนแล้วจนรอดโอกาสที่ได้ไปนาโงย่าก็มาถึง

Trip นี้นอกจากจะเป็นครั้งแรกที่ได้ไปนาโงย่า เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่นสมใจแล้วแถมยังเป็นครั้งแรกที่ได้นั่ง Nozomi (Shinkansen series 700 ขบวนที่เร็วที่สุดในโลก) จากสถานีโตเกียวใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง 40 นาทีก็สามารถมาถึงนาโงย่า ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 400 กิโลเมตร

การวางแผนการเดินทางในญี่ปุ่นโดยเฉพาะการไปยังต่างเมืองเป็นครั้งแรกช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มาก จากการบ้านที่เตรียมตัวมาอย่างในกรณีของนาโงย่านี้พบว่า หลังจากการยกเลิกระบบรถไฟ (ที่เรียกว่า yellow train) ไปเมื่อ 11 เมษายน 2000 ทำให้การคมนาคมที่สะดวกที่สุดและกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของนาโงย่าคือ รถไฟใต้ดินซึ่งสามารถใช้ตั๋วแบบจ่ายราคาเดียวนั่งได้ทั้งวัน

สถานที่ที่น่าจะให้ความรู้เกี่ยวกับการวางผังเมืองนาโงย่าได้ดีที่สุดคงไม่พ้น International Design Center Nagoya and Design Museum (นั่งรถไฟใต้ดิน สาย Meijo ไปลงสถานี Sakae แล้วเดินต่ออีก 7 นาที)

ผลพวงความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ นาโงย่าได้รับการออกแบบผังเมืองใหม่อย่างเป็นระบบ (well-done city planning) ถนนขนาดหลายเลนสร้างเป็น easily-navigated lattice network ที่สอดคล้องกับระบบรถไฟใต้ดิน ซึ่งเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1957 และจากการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Design Expo ในปี 1989 มีส่วนผลักดันให้นาโงย่ายิ่งเพิ่มความตื่นตัวในเรื่อง design-conscious city อีกทั้งยังมีการวางแผนสำหรับนาโงย่าในอีก 100 ปีข้างหน้าไว้ด้วย

ในปี 2005 นาโงย่าได้รับเกียรติให้จัดงาน Expo อีกครั้งในคอนเซ็ปต์ของการอนุรักษ์ธรรมชาติและการพัฒนาเมืองให้มี greenery และ parkland ในปีเดียวกันนี้จะมีการเปิดตัวสนามบินนานาชาติกลางทะเลที่ตั้งอยู่บน man-made island แห่งที่ 2 ของญี่ปุ่น (แห่งแรกคือ Kansai International Airport อยู่กลางอ่าวของเมือง Osaka) ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นศูนย์กลางการบินแห่งใหม่ที่มีเที่ยวบินจากทั่วโลกมาลงตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากไม่ต้องกังวลเรื่องมลภาวะทางเสียงเหมือนกับสนามบิน ที่สร้างอยู่ชานเมืองสนามบินแห่งใหม่นี้ใช้เวลาเดินทางจากฝั่ง 30 นาทีโดยรถยนต์หรือรถไฟ

ลักษณะพิเศษของนาโงย่าอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกับโตเกียวคือ ถนนที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น Avenue เนื่องจากเป็นถนนที่มีขนาดกว้างมากและตรงยาวเป็นระเบียบเหมือนกับถนนในยุโรป และด้วยความกว้างของถนนนี่เองที่แทบจะทุกเสาของสัญญาณไฟจราจร จะมีเครื่องนับเวลาถอยหลังก่อนที่สัญญาณไฟจะเปลี่ยน ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจว่าจะรีบข้ามหรือจะหยุดรอไฟเขียวถัดไป

เมื่อพูดถึงนาโงย่า อุตสาหกรรมหลักที่ถือกำเนิดจากเมืองนี้ คือ (1) รถยนต์โตโยต้าซึ่งทุกวันนี้เมื่อเอ่ยชื่อนี้ขึ้นมาคงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก (2) เครื่องพอร์ซเลนเนื้อดียี่ห้อ Noritake ที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่ ค.ศ.1876 จากพื้นฐาน know-how การผลิตเครื่องถ้วยชามที่เฟื่องฟูและได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยเอโดะ จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกและยังใช้บ่งบอกฐานะและรสนิยมของผู้ใช้ และ (3) Pachinko เกมการพนันถูกกฎหมาย ที่อาจจะมีโอกาสรวยหรือหมดตัวได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

ทำเลที่ตั้งของนาโงย่า ที่อยู่กึ่งกลางของเกาะฮอนชูซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกลางของเส้นทางโทไกโด จึงเป็นที่ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของญี่ปุ่นตะวันออก (Kanto) กับตะวันตก (Kansai) มาแต่อดีตโดยเฉพาะในสมัยเอโดะ ละคร Kabuki, พิธีชงชา, การจัดดอกไม้ Ikebana, เครื่องถ้วยชาม มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นของโชกุน Leyasu Tokugawa กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นสมบัติล้ำค่าตกทอดมาถึงปัจจุบันที่จัดแสดงไว้ใน The Tokugawa Art Museum

ไหนๆ ก็มาไกลถึงนาโงย่า แล้วคงจะเรียกว่าไปไม่ถึงหากไม่ได้ไปชิมอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อหลายอย่าง เช่น ปีกไก่พันธุ์โคชิน, Kishimen อุดงเส้นแบนโต, Misonikomi-udon อุดงที่ปรุงรสด้วยมิโซสูตรเฉพาะที่ร้านต้นตำรับชื่อ Yama-motoya, Misokatsu เป็น tonkatsu ราดด้วยซอส miso ที่รสออกหวานและโรยด้วยพริกป่นญี่ปุ่น, Hitsumabushi ข้าวหน้าปลาไหลย่างเนื้อนุ่มด้วยวิธีการปรุงสูตรเฉพาะที่กลบกลิ่นคาวได้สนิทเสิร์ฟพร้อมชาเขียว ซึ่งสามารถรับประทานเป็นอาหารที่เรียกว่า ochatsuke เพียงแค่เทชาเขียวลงไปในชาม, Temmusu ข้าวปั้นหน้ากุ้งทอดขนาดพอดีคำ

หากแนะนำคนที่เพิ่งมาโตเกียวเป็นครั้งแรกให้ไปที่วัด Asakusa Kannon ต่อด้วยการเดินที่ Ueno และ Akihabara แล้วละก็ในทำนองเดียวกันที่นาโงย่า น่าจะเป็นวัด Osu Kannon ต่อด้วยการเดินเที่ยวที่ย่าน Osu

วัด Asakusa Kannon (นั่งรถไฟใต้ดินสาย Tsurumai ไปลงที่สถานี Osu Kannon) เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่าพันปี ทุกๆ วันที่ 18 และ 28 ของเดือนจะมีตลาดนัดขายของเก่าโดยเฉพาะ kimono มือ 2 ในราคาถูกมาก ที่บริเวณใกล้ๆ วัดมีร้านขายขนมเซนเบ้ชื่อดังอยู่ 2 ร้านที่ไม่ควรพลาดเช่นกัน คือร้าน Asahiken และร้าน Gyokusen-an (เป็นร้านขนมเซนเบ้ที่เก่าที่สุดของนาโงย่า) นอกจากนี้ยังมีร้าน Yabaton ซึ่งเป็นร้าน Misokatsu ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในเมืองนี้

เดินออกจากประตูวัด Osu Kannon ฟากตรงข้ามจะเป็นทางเข้าย่าน Osu เป็นที่ยังคงรักษาบรรยากาศแบบเดิมๆ เอาไว้ ร้านค้าที่เรียงต่อเนื่องขายของหลากหลาย เช่น ขนมพื้นเมือง, เสื้อผ้าทั้งของใหม่และของมือ 2 ในราคาถูกมาก, เครื่องประดับ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงของฝาก ด้วยเสน่ห์ของกลิ่นอายนาโงย่าแบบดั้งเดิม ทำให้เป็นย่านที่มีชาวต่างชาตินิยมอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งคนขายของในย่านนี้หลายร้านสามารถพูดถาษาอังกฤษได้

สุดท้ายในช่วงหัวค่ำ TV Tower เป็นอีกแห่งที่หนังสือท่องเที่ยวแทบทุกเล่มกล่าวถึงบรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะกับการเดินย่อยอาหารก่อนกลับที่พัก trip ของนาโงย่า จะไม่สมบูรณ์หากไม่ได้ไปที่ Nagoya Castle โปรดติดตามฉบับต่อไปครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us