Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มีนาคม 2545
ผ่าทางตันรวมทศท.กสท             
 


   
search resources

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT
กสท โทรคมนาคม, บมจ.




ผ่าทางตันรวมทศท.กับกสท.หลังแนวคิด “ไกรสร พรสุธี” ที่ยุบทศท.รวมกสท. ถูกต่อต้านหนักจากสหภาพฯ เพราะหมกเม็ดประเด็นการแปรสัญญาและค่าเชื่อมวงจรเอื้อประโยชน์เอกชน และไม่แยแสปัญหาแรงงาน คณะกรรมการชุด “ศรีสุข จันทรางศุ” ปลัดกระทวงคมนาคมปัดฝุ่นแนวทางจัดตั้งบริษัทรวมทุน แล้วเปลี่ยนสภาพทศท.และกสท.เป็นบริษัทลูก เตรียมเสนอที่ประชุมกนร.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าแนวคิดของคณะกรรมการนโยบายศึกษาการรวมกิจการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ที่มีนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ที่ได้รับความเห็นชอบจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมาภายหลังการประชุมร่วมกันระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคมคาดว่าจะใช้วิธีการจัดตั้งบริษัทรวมทุนในรูป Telecom Holdingหรือบริษัทแม่ขึ้นมาก่อนเพื่อถือหุ้นในทศท.และกสท. หลังจากนั้นจึงนำหุ้นในบริษัทรวมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะเดียวกันทศท.และกสท.ก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนองค์กรทั้ง 2 เข้าด้วยกัน

คณะทำงานดังกล่าวมีกรรมการประกอบด้วยประธานบอร์ดของทั้ง 2 หน่วยงาน ผู้อำนวยการทศท. ผู้ว่าการกสท.ตัวแทนกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม ที่ได้รับนโยบายให้ศึกษาเป็นเวลา 30 วัน

แนวทางการรวมทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าวจะทำให้บริษัททศท.และบริษัทกสท.จะมีสภาพเป็นหน่วยธุรกิจหรือ Business Unit ในบริษัทรวมทุนและมี Executive Committee ประกอบด้วยผู้แทนจากทั้ง 2 บริษัท และอยู่ภายใต้การกำกับนโยบายจากบอร์ดบริษัทรวมทุน

“แนวทางนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดี่ที่สุดโดยแยกไปรษณีย์ออกไป เนื่องจากแนวทางที่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งตามพรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจมีปัญหามากและยากที่จะปฏิบัติได้”

แนวทางที่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัททศท.และกสท.ตามพรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจได้โครงสร้างใหม่ประกอบด้วย 1.บริษัทที่รวมกันระหว่างทศท.และกสท.2.บริษัทบริหารสัญญาร่วมการงานซึ่งจะดูแลสัญญาสัมปทานของทศท.และกสท.3.บริษัท ไปรษณีย์ไทย โดยทั้ง 3 บริษัท จะอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง

นอกจากนั้นคณะทำงานศึกษากรณีการรวมกิจการทศท.และกสท.(ด้านโทรคมนาคม) ที่ได้รับมอบหมายจากรมว.คมนาคม ให้ศึกษาการรวมกิจการที่มีนายไกรสร พรสุธี รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ก็มีแนวคิดที่จะยุบรวมทศท.กับกสท.เข้าด้วยกัน และให้มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการแปรสัญญาสัมปทาน

แหล่งข่าวกล่าวว่าแนวทางการรวมทศท.เข้ากับกสท.ตามผลศึกษาของคณะทำงานชุดนายไกรสร เป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติเนื่องจากได้รับการต่อต้านจากพนักงานเพราะเป็นการเอื้อประโยชน์กับเอกชนในหลายประเด็นเช่น 1.หากรวม 2 หน่วยงานเข้าด้วยกันปัญหาค่าเชื่อมวงจรหรือแอ็คเซ็สชาร์จที่ดีแทค และทีเอออเรนจ์ต้องจ่ายให้ทศท.เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนก็จะหายไปทันที เพราะเอกชนจะถือว่าเมื่อรวมกิจการแล้วจะกลายเป็นบริษัทเดียวกัน ในส่วนนี้ทศท.จะเสียหายไม่ต่ำกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท

2.ในเรื่องการแปรสัญญาสัมปทาน หากยุบรวมทศท.และกสท.เข้าด้วยกัน รวมทั้งยกโอนไปให้บริษัทที่จะตั้งขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะตามแนวทางสมุดปกขาวของสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ที่มีนายไกรสร พรสุธี รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นนายกสมาคมฯ และมีสมาชิกประกอบด้วยบริษัทเอกชนที่ล้วนแล้วแต่มีส่วนได้เสียกับสัญญาสัมปทานทั้งสิ้น

อาจมีปัญหาในแง่กฏหมาย เพราะเอกชนคู่สัญญา ถือว่าคู่สัญญาเดิมคือทศท.และกสท.เปลี่ยนสภาพไปแล้ว ไม่อยู่ในการคุ้มครองของกม.สามารถเบี้ยวค่าตอบแทนหรือถือว่าสัญญาสัมปทานดังกล่าวสิ้นสุดลงทันที โดยที่เอกชนไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนสักบาท ซึ่งประเด็นนี้ร้ายแรงกว่าการแปรสัญญาตามกรอบศึกษาของสถาบันทรัพย์สินจุฬาฯที่ทำให้รัฐเสียหายกว่า 2 แสนล้านบาทเสียอีก

3.พนักงานกว่า 2 หมื่นคนของทศท.ไม่เห็นด้วยกับการยุบรวมทศท.กสท. เข้าด้วยกันโดยที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (สรท.) ได้ทำหนังสือถึงรมว.คมนาคมเมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ชี้แจงในประเด็นที่คณะทำงานของนายไกรสร ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องปัญหาแรงงาน โดยไม่ได้บันทึกประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯได้นำเสนอไว้คือ 1.หากมีการรวม 2 องค์กร ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับสถานภาพของสหภาพฯที่ต้องต่อเนื่องไปยังองค์กรใหม่โดยมิต้องมีการจัดตั้งใหม่ และ2.หากมีการรวม 2 องค์กร ต้องมีความชัดเจนในการทีส่วนร่วมของพนักงานในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีสิทธิ์ถือหุ้นในบริษัทได้คนละ 8 เดือน แต่ไม่เกิน 6.5% ของทุนจดทะเบียน ตามที่ได้มีการตกลงกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

“รายงานของคณะทำงานจึงเป็นรายงานที่ไม่สมบูรณ์ และมีข้อมูลไม่ครบถ้วนขาดประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถานภาพสหภาพฯและต่อพนักงาน จึงไม่เหมาะ สมที่จะเป็นรายงานเพื่อพิจารณาของผู้บริหารประเทศในการตัดสินใจ การนำเสนอผลการพิจารณาของคณะทำงานต้องมีข้อมูลครบถ้วนตรงไปตรงมา โดยไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นเพื่อให้ระดับนโยบายได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนประกอบการพิจารณา”

ในหนังสือดังกล่าวยังระบุว่าความไม่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างกระทันหันซึ่งที่ผ่านมาทศท.ใช้เวลานานเกือบ 5 ปีในการทำความเข้าใจกับพนักงานเกี่ยวกับทิศทางการแปรรูปในนามของสหภาพฯเกรงว่าพนักงานกว่า 2 หมื่นคนของทศท.จะเกิดความไม่มั่นใจในนโยบายดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการต่อต้านการแปรรูปทศท.

แนวคิดของสหภาพฯเห็นว่าทศท.มีประวัติยาวนานเกือบ 50 ปีในขณะที่กสท.เพิ่งก่อตั้งในปี2519 หรือมีอายุเพียง 26 ปี การไต่เต้าในตำแหน่งบริหารต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับกอง ฝ่ายหรือเขต แม้กระทั่งผู้ช่วย รองผู้อำนวยการ เส้นทางของทศท.ยาวไกลกว่ากสท.มากนักในระดับเท่าเทียมกัน ที่สำคัญทศท.มีสินทรัพย์รายได้สูงกว่ากสท. 3-4 เท่า

หากต้องยุบรวมจริงๆ ควรเอากสท.มายุบเป็นส่วนหนึ่งของทศท.มากกว่าแต่ที่สำคัญกว่านั้น วัฒนธรรมองค์กรทั้ง 2 ต่างกันอย่างสิ้นเชิงสามารถสะท้อนออกมาในแนวทางการทำธุรกิจที่เห็นได้ชัดเจน อย่างทศท.พร้อมที่จะแข่งขันกับเอกชนไม่ว่าโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือ แต่กสท.ถนัดประเภทผูกขาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว หรือชอบที่จะยกสิทธิในการให้บริการต่างๆให้เอกชนอย่างโครงการซีดีเอ็มเอ เรื่องนี้นายไกรสร ในฐานะประธานบอร์ดกสท.รู้ดีที่สุด

“หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน ก็เหมือนพรรคไทยรักไทยกับความหวังใหม่ ตอนยุบพรรครวมกันก็ต้องยุบความหวังใหม่มาอยู่ไทยรักไทย ยุบพรรคเล็กมาอยู่กับพรรคใหญ่ เหมือนหากต้องรวมทศท.กับกสท. ก็ต้องเอากสท.มารวมกับทศท.มากกว่า” นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯกล่าว

สหภาพฯยังเรียกร้องให้ใช้แนวทางการแปรรูปเดิม คือให้ทศท.จดทะเบียนตั้งบริษัทก่อนแล้วจึงรวมทศท. กับกสท.(ด้านโทรคมนาคม)เข้าด้วยกัน ภายหลังจากที่กสท.แยกโทรคมนาคมกับไปรษณีย์ออกจากกันอย่างชดัเจนและจัดสรรหุ้นในส่วนพนักงานให้เสร็จสิ้น

แนวทางของสหภาพฯดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของคณะกรรมการของนาย ศรีสุขที่ตั้งขึ้นใหม่ เพราะมองว่าการตั้งบริษัทรวมทุนสามารถแก้ปัญหาเรื่องหุ้นของพนักงานและการแปรสัญญาสัมปทาน เพราะทศท.และกสท.ก็ยังคงอยู่เพียงแต่เปลี่ยนเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น หลังจากนั้นจึงหาแนวทางแปรสัญญาต่อไป

ความไม่ชัดเจนในเรื่องการแปรรูป กำลังก่อให้เกิดความสับสนในทศท.อย่างหนัก แหล่งข่าวกล่าวว่าในช่วงเช้าวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมานายสุธรรม มลิลา ผู้อำนวยการทศท. นายศุภชัย พิศิษฐวานิช ประธานบอร์ดทศท.รองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการ รวมทั้งโทรศัพท์จังหวัดทั่วประเทศ ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการแปรรูปทศท.

ซึ่งในที่ประชุมมีการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง เป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจ การบริหารงานของนายสุธรรมและนายศุภชัย ของผู้บริหารระดับสูงทศท.ครั้งแรก เพราะนายสุธรรมจะนั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการอีกไม่กี่เดือนในขณะที่นาย

ศุภชัย ในฐานะประธานบอร์ดก็เป็นตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกปรับเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ แต่ปรากฏว่านายสุธรรม ได้ยอมตกลงรวมกับกสท.โดยไม่เคยรับฟังความเห็นของผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการเลย เป็นการดำเนินการโดยพลการเอาอนาคตทศท.เป็นเดิมพัน ทั้งๆที่เป็นเรื่องใหญ่ ควรให้ผู้บริหารที่จะอยู่กับทศท.อีกหลายปีมีโอกาสในการร่วมตัดสินใจบ้าง

นอกจากนี้นายสุธรรมและนายศุภชัยยังเห็นชองบให้หยุดเรื่องกระบวนการเปลี่ยนสภาพองค์กรหรือ Tranformation ออกไปอีก 30 วันเพื่อรอความพร้อมของกสท.ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับรองไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก

“เป็นครั้งแรกที่รองผู้อำนวยการและผู้ช่วย กล้าแสดงความเห็นขัดแย้งกับผู้อำนวยการ เพราะที่ผ่านมาทศท.อยู่ในลักษณะน้องๆเกรงใจพี่ แต่คราวนี้เป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวกับอนาคตของทศท.ว่าจะอยู่หรือจะไป”

นอกจากนี้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งตามพรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ยังแต่งตั้งนายไกรสรเป็นประธานคณะทำงานศึกษาผลดีผลเสียของโครงสร้างการรวมกิจการใหม่ และตั้งคณะทำงานศึกษาผลดีผลเสียในการรวมกิจการเพื่อศึกษาปัยหาต่างๆอย่างรอบคอบ และแต่งตั้งนายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะทำงาน เพื่อหาคำตอบที่ชัดเจนว่าบริษัทบริหารสัญญาร่วมการงานจะเป็นไปได้เพียงใด และจะผิดกม.หรือไม่ โดยให้ระยะเวลาศึกษาภายในวันที่ 4 เม.ย.

แหล่งข่าวกล่าวว่าแนวทางการรวม 2 องค์กรด้านนายไกรสรที่ต้องการให้ยุบรวมเข้าด้วยกัน และแนวทางของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นใหม่ชุดนายศรีสุข คงเข้าไปพิจารณาร่วมกันในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่มีนายปองพลเป็นประธานก่อนเสนอให้ครม.เห็นชอบต่อไป

นายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการรวมกิจการระหว่าง องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.)และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงสร้างใหม่กิจการโทรคมนาคม โดยใช้ชื่อว่า บริษัทไทยเทเลคอม จำกัด ซึ่งประกอบไปด้วย หน่วยงานธุรกิจ หรือบียู (BU: Business Units) ดังนี้ คือ1. ทศท. และ 2. กสท. และมีความเป็นไปได้ว่าที่จะเพิ่ม ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900MHz. เป็นอีกหน่วยงานใหม่ โดยมีคณะกรรมการ(บอร์ด) และ คณะกรรมการบริหาร(Executive Committee) ดำเนินการบริหาร และบริษัทไทยเทเลคอม จำกัด จะเป็นบริษัทด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ครบวงจรที่พร้อมเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในปี 2545

โดยบริษัทดังกล่าวจะต้องมีประธานบริหาร(President)เพียงเดียว ส่วนของหน่วยธุรกิจทั้ง 2 หน่วยงาน คือทศท. และกสท.จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรรมการผู้จัดการชองแต่ละหน่วยงาน อย่างไรก็ดีขณะนี้จะต้องดำเนินการในเรื่องของสิทธิประโยชน์ของพนักงานทั้ง 2 องค์กร ให้แล้วเสร็จ อาทิ สวัสดิการเงินเดือนของพนักงานจำนวน 6 เท่า เงินเดือนจำนวน 2 เท่าของพนักงานในการซื้อหุ้นในราคาพาร์ และเงินโบนัสพิเศษจำนวน 2 เท่าแก่พนักงาน และนำทรัยพ์สินที่มีอยู่ทั้ง 2 องค์กรมาประเมินเป็นมูลค่าหุ้นต่อไป โดยจะนำสินทรัพย์ต่างๆ ของทั้ง 2องค์กร รวมไว้ในบริษัทไทยเทเลคอม จำกัด

ส่วนเรื่องสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมที่มีอยู่จะมอบอำนาจการบริหารเป็นไปตามสิทธิเดิมของคู่สัญญาฯระหว่างรัฐและเอกชน คือ ทศท. และกสท. โดยเรื่องการแแปรสัญญากิจการโทรคมนาคมจะเป็นคนละส่วนกับการดำเนินการรวมกิจการทศท. และ กสท.

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us