Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
สมชาย สกุลสุรรัตน์ "อัศวินม้าขาว"             
 

   
related stories

50 ผู้จัดการ (2543)

   
search resources

สมชาย สกุลสุรรัตน์




ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา กิจวัตรประจำวันในตอนเช้าของสมชายสกุลสุรรัตน์ คือ การวิ่งออกกำลังกาย ที่สวน ลุมพินี แต่จากนี้ไปเขาจะย้ายสถานที่ออกกำลังกายไปอยู่ ที่สวนจตุจักร หลังจากเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย

สมชายเกิดวันที่ 13 พฤศจิกายน 2491 ในครอบครัว ที่ทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ พื้นฐานการศึกษาของเขา เริ่มต้น ที่อัสสัมชัญพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาก็ไปเป็นเสมียนในกองทัพอเมริกา ที่ จ.นคร ราชสีมา ทำได้เพียง 3 เดือนก็ออกมาทำงานในธนาคารฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น (HSBC) สาขาประเทศไทย ในช่วงปี 2514

สมชายเริ่มงานใน HSBC ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ ทำได้ประมาณ 5 ปี ได้รับ แต่งตั้งให้เป็นออฟฟิศเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกในระดับพนักงานปฏิบัติการที่ได้รับการโปรโมต จากนั้น ก็ถูกส่งไปศึกษาต่อทางด้านการตลาดที่ School of Management และวิชาการธนาคารจากสถาบันนายธนาคารแห่งอังกฤษ ก่อนกลับเมืองไทยสมชายไปศึกษางาน ที่ HSBC สาขาฮ่องกงเป็นเวลาปีกว่า

ตำแหน่งสุดท้าย ที่สมชายได้รับใน HSBC คือ ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเขาต้องใช้เวลาถึง 15 ปีเต็มในการไต่เต้า และ ถือได้ว่า HSBC เป็นโรงเรียนฝึกวิชาการธนาคารแห่งแรก ที่สร้างให้เขาเติบใหญ่จนถึงทุกวันนี้

ปี 2528 ลาออกจาก HSBC สาเหตุที่ออกนั้น ไม่มีอะไรนอกเหนือจากต้องการหาความท้าทายใหม่ๆ เพราะ ที่ HSBC สมชายทำงานมาทุกแผนกแล้ว

สมชายได้งานใหม่ ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากการชักชวนของ เพื่อนเก่าสมัยเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ คือ อนันต์ ตังทัตสวัสดิ์ ขณะนั้น ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ปัจจุบันลาออกไปแล้ว) นอกจากนี้ ที่เขาเลือกธนาคารแห่งนี้เพราะมองว่าธนาคารนี้กำลังโต การทำงานน่าจะสนุก ตื่นเต้น และชีวิตการทำงาน ที่นี่ก็เหมือนกับ HSBC คือ ไต่เต้าขึ้นมาจากจุดเล็กๆ โดยตำแหน่งแรก คือ รองผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ และผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ แล้วถูกส่งไปดูแลสาขาสีลม แล้วกลับมาเป็นผู้จัดการฝ่ายสำนักเพลินจิต และขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโสบริหารงานด้านสินเชื่อในกรุงเทพฯ

จากนั้น ย้ายไปดูแลสินเชื่อสาขากลางในฐานะผู้จัดการฝ่าย แล้วก็ไปดูสินเชื่อสาขาภูมิภาคในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายเช่นเดียวกัน และก็ขยับขึ้นเป็นผู้จัดการสำนักกิจการพิเศษ ดูแลการเปิดสาขาในต่างประเทศ สาขาฮ่องกง ในช่วงปี 2535

ปี 2536 สมชายได้รับการโปรโมตให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ถัดมาเพียงปีเดียว ขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และในที่สุดเมื่อพฤษภาคม 2539 เขาก็ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สมชายใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์ และความไว้วางใจจากผู้บริหารรวมไปถึงเจ้าของธนาคารอย่างกฤตย์ รัตนรักษ์ นานถึง 11 ปี จึงถือได้ว่าเขาเป็นผู้บริหารมืออาชีพคนหนึ่ง ที่มีความสามารถ

บรรยากาศการทำงานของสมชายดูเหมือนจะราบเรียบพอสมควร แต่แล้วจู่ๆ ปลาย ปี 2539 วิกฤติเศรษฐกิจก่อตัวขึ้น และธนาคารกรุง ศรีอยุธยาก็ได้รับบาดเจ็บเช่นเดียวกัน จนต้องเพิ่มทุน และก็ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากทางการ

ขณะที่มีธนาคารบางแห่งจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หนึ่งในนั้น คือ ธนาคารศรีนคร ของตระกูลเตชะไพบูลย์ เมื่อกองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาดูแลเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องหาผู้บริหารมืออาชีพมาทำงานแทนชุดเดิม เพื่อจัดการกับปัญหาแล้วหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามา

สมชายได้รับการทาบทามจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท. (ขณะนั้น ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เป็นผู้ว่าฯ) ให้เข้ามาดูแลปัญหาธนาคารศรีนคร ซึ่งเขาก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อได้รับไฟเขียวจากผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา และนี่คือ โอกาส ที่จะพิสูจน์ฝีมือ ที่ แท้จริงของเขาอีกครั้ง

5 มกราคม 2541 สมชายเข้ามาทำงานในธนาคารศรีนคร ทั้งพนักงานรวมไปถึงลูกค้าธนาคารไม่เคยได้ยินชื่อผู้บริหารคนนี้เลย มีแค่ทางการเท่านั้น ที่เชื่อมั่นในฝีมือสมชายว่าจะช่วยเหลือธนาคารศรีนครได้ ประกอบกับบุคลิกการทำงานของเขายิ่งทำให้น้อยคนที่จะเห็นหน้าค่าตา เพราะช่วงแรกๆ ในการนั่งทำงานในธนาคารศรีนครสมชายเก็บตัวอยู่แต่ในห้องทำงาน มีเพียงคนใกล้ชิดเท่านั้น ที่รู้ และเห็นว่าเขาเป็นคนจริงจังกับงานคนหนึ่งเท่านั้น

สมชายใช้เวลา 2 ปีกว่ากับการจัด การแก้ไขปัญหาในธนาคารศรีนคร จาก ที่ภาพภายนอกมองว่าเป็นธนาคาร ที่จะ "ล้ม" แต่เขาจัดการพร้อมทั้งหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาซื้อได้สำเร็จ ซึ่งไม่ใช่ใครอื่นไกล เป็น HSBC ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่านั่นเอง

ความจริงหลังจาก ที่ HSBC ซื้อ ธ.ศรีนครไปแล้ว สมชายได้รับความไว้วาง ใจให้นั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ต่อไป ซึ่งเขาก็ไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะปฏิเสธ เนื่องจากความคุ้นเคยในระบบการทำงานทั้งจาก HSBC และธ.ศรีนคร แต่แล้วเหมือนกับเส้นชีวิตของเขา ที่ได้ขีดไว้ให้เป็นอัศวินม้าขาว เพราะหลังจากมีผลงาน โดดเด่นจากธ.กรุงศรีอยุธยา และศรีนครชื่อเสียงของเขาเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น

เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในธ.ทหารไทย ทำให้สมชายต้องย้ายจากสวนมะลิมายังสวนจตุจักร เพราะหลังจาก ที่ดร.ทนง พิทยะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประกาศขอความช่วยเหลือจากทางการ ตามมาตรการ 14 สิงหา พร้อมกับเงื่อนไขขอลาออก

สมชายมองว่าการย้าย ที่ทำงานใหม่ ครั้งนี้ คือ เส้นทางของมืออาชีพ ที่ต้องหา ความท้าทายใหม่ๆ และถ้าสำเร็จก็คือ ความ ภูมิใจ และถึงแม้ว่าวันนี้เขาจะมีอายุ 52 ปีแล้ว และไม่ใช่นักบริหารประเภท "ดาวรุ่ง" แต่ผลงาน ที่เขาดำเนินการมาถือได้ว่าประสบความสำเร็จ ที่สำคัญ 4 ปีกับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ถึง 3 ธนาคาร ย่อมมีให้เห็นไม่บ่อยนัก และเชื่อว่านี่ไม่ใช่แห่งสุดท้าย ที่สมชายจะเข้าเป็นแม่ทัพ

1 กรกฎาคม 2543 เป็นวันแรกที่สมชายต้องย้ายมาประจำการที่ธนาคารทหารไทย เพื่อจัดการกับปัญหา ที่ในอดีตเขาเคยทำสำเร็จมาแล้ว แม้ว่าการจัดการปัญหาจากนี้จะไม่ลำบากมากนัก แต่การจะทำอย่างไรให้เดินไปข้างหน้าให้แข็งแกร่งเป็นเรื่อง ที่สมชายจะต้องพิสูจน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us