Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน ธันวาคม 2547
More Than A Game Larger Than Life             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Nippon Professional Baseball 70 Year Itch
Running for Home "Build it and they will come"

   
www resources

Nippon Professional Baseball Homepage

   
search resources

Sports
The Great Japan Tokyo Baseball Club
Yomiuri Shimbun
Nippon Professional Baseball




สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ได้รับการออกแบบอย่างพิเศษ ซึ่งการทำความเข้าใจความเป็นไปของสรรพสิ่งในสังคมของญี่ปุ่น อาจสามารถทำได้ด้วยการพิจารณาจากพัฒนาการทางภาษาของญี่ปุ่นซึ่งประกอบด้วยระบบอักษร 3 ระบบ ทั้งคันจิที่รับอิทธิพลมาจากจีนซึ่งเป็นปัจจัยจากภายนอกและถือเป็นเรื่องของแบบแผนที่ต้องยึดถือ

ขณะเดียวกันการพัฒนาให้เติบโตขึ้น ภายใต้จิตใจแบบญี่ปุ่นหรือการทำให้เป็นญี่ปุ่น ดำเนินไปในลักษณะเดียวกับการเกิดขึ้นของอักษรฮิรางานะ ที่เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น พร้อมกับต่อเติมส่วนขยายให้สอดรับกับเทคนิควิทยาการสมัยใหม่และ รองรับความจำเริญในอนาคตแบบอักษรคาตาคานะที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เขียนคำศัพท์จากต่างประเทศโดยเฉพาะ

ข้อน่าสังเกตจากระบบอักษรของญี่ปุ่น อยู่ที่แม้จะมีระบบตัวอักษรถึง 3 ระบบ แต่ทั้งหมดจะออกเสียงด้วยสำเนียงเดียวกัน

พัฒนาการของเบสบอลในญี่ปุ่นก็ดำเนินไปในกรอบที่ไม่แตกต่างจากพัฒนาการของอักษรทั้ง 3 ระบบเท่าใดนัก

ประวัติศาสตร์ของกีฬาเบสบอลในประเทศญี่ปุ่น อาจนับเนื่อง ตั้งแต่เมื่อมีการจัดตั้งสโมสรเบสบอลระดับอาชีพ ในปี 1934 และเริ่มมีการแข่งขันในระบบลีกอาชีพ (professional league competition) ในปี 1936 หากในความเป็นจริง กีฬาเบสบอลได้เข้ามามีบทบาทในสังคมญี่ปุ่นก่อนหน้านั้นนานกว่าครึ่งศตวรรษ

การเปิดประเทศและความพยายามที่จะก้าวไปสู่ความทันสมัย ในยุคของจักรพรรดิ Meiji ซึ่งได้รับการเรียกขานในฐานะ Meiji Restoration (Meiji Era : 1868-1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลและนำเข้า เทคนิควิทยาการหลากหลาย ทั้งการจัดวางระบบราชการ ระบบการศึกษา กิจการและเครือข่ายรถไฟ โรงพยาบาล กิจการตำรวจ และการไปรษณีย์ ที่นับเป็นความก้าวหน้าจากโลกตะวันตก ทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพื่อเพิ่มพูนความทันสมัยในยุคเปลี่ยนผ่านนี้อย่างต่อเนื่อง

เบสบอลแทรกตัวเข้าสู่การรับรู้ของสังคมญี่ปุ่นในห้วงเวลาดังกล่าว โดยเริ่มจากกลุ่มครูและอาจารย์ชาวอเมริกันได้อาศัยกีฬาชนิดนี้ ในฐานะที่เป็น "สื่อการสอน" ในระบบโรงเรียน ในช่วงทศวรรษที่ 1870 พร้อมๆ กับการพัฒนาไปสู่กิจกรรมกีฬาเข้าแทนที่ศิลปะการต่อสู้ป้อง กันตัวแบบโบราณ ซึ่งถือเป็นเหง้าอดีตของระบอบ feudal ท่ามกลางกระแสค่านิยม "เชิดชูตะวันตก" ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในสมัย Meiji

แม้ว่าความแปลกใหม่ของวัฒนธรรมตะวันตกที่ถาโถมเข้ามาพร้อมกับความทันสมัย จะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจและกังวลใจในกลุ่มอนุรักษนิยมอย่างกว้างขวาง กระทั่งพระราชกำหนดทางการศึกษา ในปี 1890 ได้ระบุย้ำถึงความสำคัญของ Shinto และ Confucianism ซึ่งเป็นค่านิยมและแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น ที่สืบเนื่องมาเนิ่นนาน แต่เบสบอลกลับสามารถลงหลักปักฐานและงอกเงยในสังคมญี่ปุ่น ได้อย่างมั่นคงและแทรกซึมลึกลงไปสร้างความนิยมในทุกระดับ

การตระเวนเยือนญี่ปุ่นโดยทีมจาก Major League ของสหรัฐ อเมริกา รวมถึงทีมรวมดาราที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 19 อาจสร้างกระแสตื่นตัวในกีฬาเบสบอล แต่ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้กีฬาเบสบอลประสบความสำเร็จและสามารถเติบโตขึ้นได้ใน สังคมญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากเมล็ดพันธุ์ของเบสบอลได้รับ การหว่านและบ่มเพาะบนเนื้อดินของระบบโรงเรียนญี่ปุ่น ที่กำลังอุดม ด้วยความใฝ่รู้และปรารถนาที่จะก้าวตามความทันสมัยเพื่อแข่งขันกับชาติตะวันตกในยุคสมัยแห่งการสร้างชาติของจักรพรรดิ Meiji นี้

ภายใต้สัดส่วนของรูปร่างทางกายภาพของชาวญี่ปุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้หยิบยื่นกีฬาเบสบอลเข้าสู่การรับรู้ คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถพัฒนาศักยภาพและเล่น เบสบอลได้ดีขึ้น หากได้รับการฝึกฝนที่หนักเพียงพอ และในหลายกรณี การฝึกฝนอย่างหนักมีดัชนีบ่งชี้อยู่กับการที่ต้องได้รับบาดเจ็บถึงขั้นเลือดตกยางออกเลยทีเดียว

ขณะที่การแข่งขันเบสบอลระดับมัธยมชิงชนะเลิศแห่งชาติ (National High School Baseball Championship Tournament) ซึ่งเริ่มจัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี 1915 และดำเนินต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีใน ช่วงฤดูร้อนกระทั่งปัจจุบัน กลาย เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และสถาบันแห่งชาติ ที่ดำรงเกียรติในฐานะการแข่งขันกีฬาที่ทรงคุณค่ามากที่สุดของประเทศและ มีการถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ทั้ง NHK และเครือข่ายอื่นๆ ตลอดการแข่งขันที่ใช้เวลานานรวม 2 สัปดาห์

โอกาสที่จะได้เป็นตัวแทนของสถานศึกษาจากทั่วประเทศ เพื่อ เดินทางมาร่วมชิงความเป็นเลิศในรอบสุดท้ายด้วยระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ณ Koshien Stadium สนามขนาดความจุ 50,000 คน ใกล้เมือง Osaka กลายเป็นความฝันของเด็กหนุ่มที่แสวงหาปรากฏ การณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่คงความเข้มขลังอย่างไม่เสื่อมคลาย

กระนั้นก็ดี พัฒนาการของเบสบอลในญี่ปุ่นย่อมไม่สามารถ ผลิดอกต่อยอด และคงจำกัดความนิยมอยู่เฉพาะในฐานะที่เป็นกีฬาสมัครเล่น ซึ่งอาจเป็นเพียงเรื่องของเด็กนักเรียนเท่านั้น หากไม่มีการแข่งขันในเชิงธุรกิจเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการจัดตั้งทีมเบสบอลอาชีพอย่างมีระบบในปี 1934

ทีมสมัครเล่นและทีมระดับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น อาจมีโอกาสได้ประลองและเรียนรู้เทคนิคการเล่นจากการมาเยือนของทีมอาชีพจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เมื่อปี 1908 แต่การเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นของ New York Yankees ที่อุดมไปด้วยผู้เล่นชื่อดังจากอเมริกาในปี 1934 เพื่อแข่งขันกับทีมสมัครเล่นของญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของ Yomiuri Shimbun ซึ่งกำลังแข่งขันชิงความเป็นหนังสือพิมพ์อันดับหนึ่งของประเทศกับ Asahi ก่อให้เกิดบริบทและเรื่องราวที่แตกต่างออกไป

เพราะการแข่งขันที่จัดให้มีขึ้นใน Meiji Jingu Stadium ซึ่งอยู่ใกล้กับ Meiji Shrine อันศักดิ์สิทธิ์ กลางกรุงโตเกียว สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มอนุรักษนิยมขวาจัดอย่างรุนแรง ในฐานะที่เปิดโอกาส ให้ชาวต่างชาติมากระทำสิ่งไม่บังควรในสถานที่อันพึงเคารพ และมีความพยายามที่จะสังหาร Matsutaro Shoriki เจ้าของกิจการหนังสือ พิมพ์ Yomiuri Shimbun โดย Matsutaro Shoriki ถูกฟันเข้าที่ศีรษะเป็นแผลยาว 16 นิ้ว แต่รอดชีวิตมาได้

ขณะที่ในส่วนของเกมการแข่งขัน Babe Ruth ผู้เล่นระดับตำนานของ Yankees ซึ่งลงเล่นในชุดเสื้อของทีม Yankees เป็นครั้งสุดท้าย รวมถึง Lou Gehrig และผู้เล่นของ Yankees อีกสองรายต่อเนื่องกัน ถูก Eiji Sawamura นักเบสบอลสมัครเล่นในตำแหน่ง pitcher ชาวญี่ปุ่น ขว้างลูกเร็ว strike out ในเกมที่นับเป็นความสำเร็จ สูงสุดของการพบกันระหว่างทีมสมัครเล่นของญี่ปุ่นกับทีมอาชีพจาก Major League ของอเมริกา

ผลการแข่งขันดังกล่าวทำให้ในเดือนธันวาคมปี 1934 Matsutaro Shoriki เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ Yomiuri Shimbun ซึ่งตัดสินใจก่อตั้ง Great Japan Tokyo Baseball Club (Dai Nippon) และเป็นต้นร่างของ Tokyo Giants (1936-1946) ก่อนจะพัฒนาเป็น Yomiuri Giants (1947-ปัจจุบัน) ในเวลาต่อมา โดยมี Eiji Sawamura เป็นหนึ่งในจำนวนนักเบสบอลสมัครเล่น นักกีฬาระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงดาวเด่นระดับมัธยม ที่ได้รับการเซ็นสัญญาว่าจ้างเป็นนักกีฬาเบสบอล ในสังกัดของสโมสรเบสบอลอาชีพแห่งแรกของญี่ปุ่น

ในปี 1935 สโมสรเบสบอลอาชีพแห่งแรกของญี่ปุ่น Dai Nippon เฉลิมฉลองโอกาสการก่อตั้ง ด้วยการออกตระเวนแข่งขันกับทีมระดับกึ่งอาชีพและทีมใน minor league ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้ เสียงโจษขานในฐานะทีมที่โค่น Babe Ruth และคณะ โดยมี Eiji Sawamura เป็นดาวเด่น

การตระเวนแข่งขันในสหรัฐอเมริกาของ Dai Nippon จบลงด้วยสถิติชนะ 93 นัดจากการลงแข่ง 102 นัด ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของทั้ง Dai Nippon ในฐานะทีมเบสบอลและ Yomiuri Shimbun ที่สามารถขายข่าวเพื่อเพิ่มยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ และเป็นปฐมบทของการเคลื่อนตัวของกลุ่มทุนภาคเอกชน ที่ต่างผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันให้กีฬาเบสบอล ดำเนินไปเป็นส่วนหนึ่งของบริบททางสังคมญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ดี พันธะสัญญาที่ร่างไว้อย่างงดงาม ในปฏิญญาการก่อตั้ง Nippon Professional Baseball ซึ่งระบุถึงการพัฒนากีฬาเบสบอลในญี่ปุ่น ให้ก้าวสู่การเป็นกีฬาระดับโลก ดูจะยังเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้ แม้ว่าเบสบอลจะได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาที่มีการแข่งขันใน Olympics และทีมเบสบอล ญี่ปุ่นสามารถได้เหรียญทองแดงในการแข่งขัน Athens Olympics 2004 ก็ตาม

ความพยายามที่จะสร้างภาคขยายและเปิดตัวเข้าสู่การแข่งขัน เบสบอลระดับโลกของญี่ปุ่น สอดรับกับความมุ่งหมายของสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ที่จะผลักดันให้เกิดการแข่งขัน Baseball World Cup ในปี 2006 ซึ่งหากการแข่งขันดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง ก็จะเป็นประหนึ่ง หลักไมล์สำคัญที่สอดรับกับวาระโอกาสครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้ง NPB อีกด้วย

เป็นความสำเร็จที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างปฏิญญาของ NPB เมื่อปี 1936 ไม่มีโอกาสได้สัมผัส ขณะที่ผู้บริหารสโมสรเบสบอลของ NPB ในห้วงเวลาปัจจุบัน อาจประเมินคุณค่าของปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นเพียงโอกาสทางธุรกิจและตลาด ที่พวกเขาต้องแสดงศักยภาพในการหยิบฉวยเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us