Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547
Learning from Partner ก้าวกระโดดของ ปตท.สผ.             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

"Thai" Oil Hunter
"พื้นที่ปกติทุกแห่ง เราทำได้หมด"
"ที่โอมานเขาให้เครดิตเรามาก"

   
www resources

โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)

   
search resources

ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.), บมจ.
มารุต มฤคทัต
Energy
ปฤษดาพันธ์ พจนปรีชา




การสร้างบุคลากรในวงการน้ำมันของไทย เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังพระราชบัญญัติปิโตรเลียมถูกประกาศใช้ในปี 2514 ที่มีการเปิดสัมปทานให้บริษัทต่างชาติเข้ามาสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขซึ่งระบุไว้ว่าบริษัทน้ำมันที่จะเข้ามา ต้องให้ทุนการศึกษากับคนไทยได้ไปศึกษาต่อในวิชาที่เป็นหัวใจทางด้านเทคนิคของอุตสาหกรรมนี้ คือด้านธรณีวิทยา ธรณี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมปิโตรเลียม ทุนนี้เรียกกันในสมัยนั้นว่า "ทุนน้ำมัน"

ในระยะเริ่มแรก คนที่จบการศึกษา จากทุนน้ำมัน ส่วนใหญ่กลับมาทำงานในภาครัฐ เช่น ในกรมทรัพยากรธรณี องค์การ ก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย แต่หน้าที่หลักเป็นการดูแล การดำเนินงานตามสัมปทานของบริษัทที่ได้รับสัมปทาน มากกว่ามีเป้าหมาย เพื่อเป็นผู้สำรวจและผลิตปิโตรเลียมด้วยตนเอง

การเริ่มต้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดตั้ง ปตท.สผ.เพื่อเข้า ไปร่วมทุนกับไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักส์ชั่น ในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ซึ่งในสัญญาร่วมทุน ระบุไว้ว่าไทยเชลล์จะต้องฝึกฝนบุคลากรของ ปตท.สผ.ในด้านการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน ตลอดจนการขุดเจาะเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้

แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญคือการดึงโททาลเข้ามาร่วมถือหุ้นในแหล่งบงกช ซึ่งมีการระบุไว้ชัดว่า จะต้องฝึกคนของ ปตท. สผ.ให้เป็นผู้ดำเนินการแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งนี้ได้ด้วยตนเองภายใน 5 ปี

มีการกำหนดรูปแบบการฝึกบุคลากรแบบเข้มข้น โดยการที่ ปตท.สผ.จะต้องส่งคน เข้าไปทำงานกับโททาลในต่างประเทศ ตามลักษณะงานที่เป็นหัวใจสำคัญทางด้านเทคนิค ปตท.สผ.ได้กำหนดตัวบุคลากรขึ้นมาจำนวนหนึ่งประมาณ 20 คน เรียกเป็น key position ที่จะเข้าไปรับภารกิจอันนี้

ตำแหน่งงานที่เป็น key position เริ่มตั้งแต่ระดับผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการด้านการปฏิบัติการ ผู้จัดการแท่นขุดเจาะ หัวหน้าฝ่ายธรณีวิทยา หัวหน้าฝ่ายธรณีฟิสิกส์หัวหน้าวิศวกรปิโตรเลียม ผู้จัดการฝ่ายขุดเจาะ ผู้จัดการฝ่ายบำรุงรักษา ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้างแท่นขุด ผู้จัดการแผนกเจาะสำรวจ ตลอดจนผู้ดูแลรักษาหลุมที่ผ่านการขุดเจาะไปแล้ว จนกระทั่งถึงผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัย และสัญญาต่างๆ ฯลฯ

คนที่ถูกส่งออกไปอยู่กับโททาลในระยะนั้น อาทิ มารุต มฤคทัต ที่เป็น key position ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป

"ผมออกขาดไปเลย 1 ปี เขาก็ส่งผมไปอยู่ที่ต่างๆ ไปอยู่ที่อาบูดาบี อยู่ที่อเบอร์ดีน สกอตแลนด์ ไปอยู่ที่ปารีสด้วย แล้วก็ไปอินโดนีเซีย ไปอยู่ 4-5 แห่ง แห่งละ 2-5 เดือน เขาก็ให้ผมเข้าไปเป็นคล้ายๆ เงาของตัวผู้จัดการทั่วไปของแต่ละแห่ง ที่ผมประทับใจ อย่างหนึ่งคือ เขาให้ความไว้วางใจเรามาก ขนาดที่เราไป ถ้าเผื่อตัวผู้จัดการทั่วไปเขาไม่ อยู่ เขาก็ให้เรารักษาการ มีสิทธิอำนาจเต็มที่ เหมือนกับที่เขาทำได้ทุกอย่าง" มารุตเล่า

นอกจากนี้ยังมีเผ่าเผด็จ วรบุตร, อัษฎากร ลิ้มปิต ซึ่งเป็น key position ทางด้านการปฏิบัติการ พงศธร ทวีสิน รวมทั้งปฤษดาพันธ์ พจนปรีชา ที่เข้าไปเป็น key position ทางด้านสุขภาพพลานามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

"ผมก็ไปอยู่ทั้งที่อเบอร์ดีน ในสกอต แลนด์ รวมทั้งที่ฝรั่งเศส และมาอยู่ในพม่า รวมเวลาที่เข้าไปอยู่กับโททาลประมาณ 2 ปี" ปฤษดาพันธ์บอก

ปฤษดาพันธ์เป็นนักธรณีวิทยาคนแรกในฝ่ายสำรวจและผลิต ของ ปตท. ทำงานควบคู่มากับมารุต ซึ่งเป็นวิศวกรปิโตรเลียม จนเมื่อมีการจัดตั้งบริษัท ปตท. สผ.เขาทั้งคู่ก็ถูกส่งมาบุกเบิกที่นี่

ปัจจุบันเขาเป็นรองผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานทรัพยากรบุคคลโดยเฉพาะ

ปัจจุบันคนที่เคยเป็น key position สำหรับเตรียมตัวเข้ารับงาน operator ของแหล่งบงกชเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้ขึ้นมาเป็นพนักงานระดับบริหาร แต่ภารกิจในการสร้างบุคลากรยังคงมีอยู่ โดย ปตท.สผ.ยังคงใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนพนักงานกับบริษัทที่เป็นผู้ร่วมทุน หรือพันธมิตร อย่างเช่น ยูโนแคล บีพี และแม้กระทั่งโททาลเอง ทุกวันนี้ก็ยังมีพนักงานของ ปตท.สผ.ที่ถูกส่งไปทำงานยังแหล่งสำรวจและผลิตของโททาลอยู่

โดยเฉพาะงานที่เป็นหัวใจทางด้านเทคนิค ซึ่งปัจจุบัน ปตท.สผ.มีพนักงานในกลุ่มนี้อยู่เพียง 110 คน คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 15% ของพนักงานทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมากหากเทียบกับโททาลที่มีพนักงานที่อยู่ในกลุ่มงานที่เป็นหัวใจทางด้านเทคนิคอยู่ถึงมากกว่า 20%

ที่สำคัญในจำนวนนี้เป็นพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี อยู่เพียง 45 คน ที่เหลือประมาณ 50 คน เป็นพนักงานที่มีอายุงานไม่ถึง 5 ปี ส่วนอีกประมาณ 20 คน มีอายุ งานเกิน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี

ซึ่งตามธรรมชาติของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม พนักงานที่จะจัดได้ว่าทำงาน ได้เต็มประสิทธิภาพ จะต้องมีอายุงานเฉลี่ย 10 ปีขึ้นไป

"อันนี้เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของเรา เพราะจำนวนพนักงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่องาน ที่เรากำลังขยายออกไปเป็นจำนวนมาก" ปฤษดาพันธ์บอก

โปรแกรมฝึกอบรมพนักงานของ ปตท.สผ.ในช่วงนี้ จึงมีอย่างเข้มข้น ตลอดจนการ ให้ทุนการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งการจัดหาคนที่มีความชำนาญจากต่างประเทศ

ตามเป้าหมาย ปตท.สผ. จะต้องเพิ่มจำนวนพนักงานในส่วนที่เป็นหัวใจทางด้านเทคนิคขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัวภายในเวลา 2 ปี เพื่อให้เพียงพอต่องานที่กำลังมีการขยายตัวออกไปมาก

ถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญอีกภารกิจหนึ่ง ไม่แพ้เมื่อครั้งที่ต้องเตรียมตัวเข้าไปรับงาน operator ในแหล่งบงกชเมื่อ 10 ปีก่อนเลยทีเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us