|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2547
|
|
การได้รับสัมปทานขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในประเทศโอมานของ ปตท. สผ.เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เพราะไทยเป็นลูกค้าที่ซื้อน้ำมันจากโอมานมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง
ที่สำคัญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันและแก๊ส (Ministry of Oil and Gas : MOG) ของโอมาน ก็นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อน และเล่นกอล์ฟในประเทศไทย จึงมีความสนิทสนมกับตัวแทนรัฐบาลไทย และผู้บริหารของทั้ง ปตท. และปตท.สผ.
ครั้งหนึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของโอมานได้เดินทางมา ยังประเทศไทย และได้ถามผู้บริหาร ปตท. สผ. ว่ามีแปลงสัมปทานอยู่แปลงหนึ่ง ซึ่งคนที่ได้รับได้คืนสัมปทานให้กับรัฐบาล ปตท.สผ. สนใจจะเข้าไปสำรวจต่อหรือไม่
"เราก็บอกว่าสนใจ เราก็เข้าไปดู เราเข้าไปดูก็ถูกใจ ก็เลยได้แปลงสัมปทานนี้มา" มารุตบอกถึงที่มาที่ไป
แปลงสัมปทานในโอมาน ที่ ปตท. สผ.ได้มา เป็นแปลงที่ 44 อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ใกล้กับชายแดนที่ติดกับประเทศดูไบ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งในแปลงสัมปทานนี้มีทั้งส่วนที่เป็นก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน
ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานนี้มาเมื่อปลายปี 2545 และเริ่มส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำในต้นปี 2546 จากระยะเริ่มแรกมีเจ้าหน้าที่เข้าไปเพียง 4 คน ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของ ปตท.สผ.ในโอมานมีเพิ่มขึ้นเป็น 12 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 2 คน ทำหน้าที่ผู้จัดการฝ่ายการเงิน และเลขาของผู้จัดการทั่วไป
และมีการจ้างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอีก 6 คน ตามเงื่อนไขของสัมปทานที่หากบริษัท ใดต้องการนำพนักงานต่างชาติเข้ามาทำงาน 2 คน จะต้องมีพนักงานที่เป็นคนท้องถิ่นด้วย 1 คน
การสำรวจทางธรณีวิทยาได้เริ่มกระทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแล้ว และคาดว่าประมาณกลางเดือนธันวาคมจะเริ่มเจาะหลุมเพื่อกำหนดขอบเขตการผลิต และคาดว่าจะเริ่มผลิตได้จริงประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีหน้า
"ปัจจุบันเราอยู่ในขั้นตอนการประมูลหาผู้รับเหมา ซึ่งเราต้องขอรายชื่อจาก MOG หลังจากนั้นเมื่อเริ่มขุดเจาะเพื่อผลิต ก็จะต้องสร้างโรงแยกก๊าซ เพื่อแยกคอนเดนเสทออกมาก่อน จึงจะนำก๊าซที่ได้ส่งขายให้กับ MOG อีกต่อหนึ่ง" ศิริชัย สันมณี นักธรณีวิทยา ของ ปตท.สผ.ซึ่งประจำอยู่ที่โอมานเล่า
ศิริชัยเพิ่งไปประจำที่โอมานเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เขามีประสบการณ์ อยู่ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี
เขาเรียนจบทางด้านธรณีวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2530 ก่อนจะเริ่มงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และย้ายมาอยู่กับ ปตท.สผ. ต่ออีก 5 ปี หลังจากนั้นเขาลาออกไปอยู่ กับยูโนแคล และไปเรียนปริญญาโททางด้าน GIS ต่อที่ University of North Texus และ เพิ่งจบ กลับมาเมืองไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว
"ตอนแรกตั้งใจว่าจะทำปริญญาเอก ต่อที่ AIT ซึ่งทางนั้นเขารับแล้ว แต่พอที่ ปตท.สผ.รับกลับมาอีกครั้ง แล้วบอกว่าจะให้ไปอยู่ที่โอมาน ก็เลยเปลี่ยนใจ เพราะงานมันท้าทายกว่า และได้มีโอกาสทำงานมากกว่า"
ศิริชัยเล่าว่า ชีวิตความเป็นอยู่ในโอมานค่อนข้างเรียบง่าย เพราะโดยอุปนิสัยของคนที่นี่เป็นคนรักสงบ และอาหารการกินก็ไม่ยากลำบาก ที่สำคัญคือไม่มีโจรผู้ร้าย เพราะฐานรายได้ของคนที่นี่สูง
ปัจจุบันในโอมานมีคนไทยอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานการบินไทย และพนักงานของเชลล์ ซึ่ง มีโครงการร่วมทุนกับรัฐบาลโอมาน ตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็คืออดีตพนักงานของบริษัทไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ โปรดักส์ชั่นที่ไม่ได้ถูกโอนมาอยู่กับ ปตท.สผ.ซึ่งมีประมาณ 5 คน
สำนักงานใหญ่ของ ปตท.สผ.ในโอมานอยู่ที่เมืองมัสกัต ห่างจากหลุมสัมปทานประมาณเกือบ 400 กิโลเมตร งานในช่วงนี้ส่วนใหญ่ของศิริชัยจึงประจำ อยู่ที่สำนักงานมากกว่า
"แต่หลังจากเริ่มขุดแล้ว ก็คงต้องไปอยู่ที่หลุมบ่อยขึ้น เพราะตามแผนหลังจากเจาะหลุมแรกในเดือนธันวาคมปีหน้าเราก็จะเริ่มเจาะอีก 5-6 หลุม โดยเฉพาะหลุมที่คาดว่าจะเป็นแหล่งน้ำมัน ซึ่งอยู่ทาง ตอนใต้ของหลุมแรก"
ศิริชัยยอมรับว่า ปตท.สผ.อาจจะเป็นบริษัทที่ใหม่สำหรับคนทั่วไปในโอมาน เพราะ ก่อนหน้านี้มีบริษัทน้ำมันต่างชาติเข้าไปเปิดสำนักงานอยู่แล้ว เช่น เชลล์ หรือออกซิเดนทัล
"กับคนทั่วไป ผมไม่รู้ว่าเขารู้จักเราแค่ไหน แต่กับเจ้าหน้าที่กระทรวงน้ำมันของโอมาน เขาให้เครดิตเรามาก ให้ความเชื่อถือเรามาก เพราะเราได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เราตั้งใจทำจริงๆ งานบางอย่างเราก็ทำเกินกว่าที่ให้ commitment กับเขาไว้ เช่นเรา commit ว่า จะเจาะสำรวจ 3 หลุม แต่เราเจาะจริงถึง 6 หลุม การรายงาน การทำเอกสาร ทุกอย่างก็ตรงตามระเบียบที่เขากำหนดไว้หมด"
ปัจจุบันแปลงสัมปทานในโอมาน เป็นการลงทุนของ ปตท.สผ.ทั้ง 100% แต่จากการบอกเล่าของศิริชัย การได้รับการยอมรับจากกระทรวงน้ำมันของโอมาน ทำให้ผู้บริหาร ของกระทรวงเริ่มแสดงท่าทีว่าอยากจะเข้ามาร่วมทุนกับ ปตท.สผ.ด้วยแล้ว
|
|
|
|
|