|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2547
|
 |

- ขอถามแบบคนนอก คือไม่ทราบว่าการเรียนรู้เทคโนโลยีในด้านของการสำรวจ ขุดเจาะ กับการเป็น operator อันไหนมันยากง่ายกว่ากัน
ผมแบ่งงานอย่างนี้ งานที่เป็นงานหัวใจหลักจริงของธุรกิจนี้ คืองานที่คนจะต้องบอกให้ได้ว่าน้ำมันกับก๊าซนั้น มันอยู่ตรงไหน พวกนี้จะเป็นพวกนักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกซ์ วิศวกรปิโตรเลียม งานอันนี้จะไปให้คนอื่นทำแทนไม่ได้ บริษัทน้ำมันจะต้องทำเอง ฉะนั้นเราก็พยายามจะ build ตรงนี้ขึ้นมาให้คนของเรา
คือตรงนี้ต้องบอกนิดหนึ่งว่า มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์ 100% มันเป็นครึ่ง art ครึ่ง science เพราะแม้แต่เครื่องไม้เครื่องมือ หรือข้อมูลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถบอกได้ 100% ว่าตรงนั้นมีแน่หรือไม่แน่ เราต้องอาศัยประสบการณ์ให้มาก แล้วเราก็ build ขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง ฉะนั้นในลักษณะธรณีวิทยาที่คล้ายคลึงกับบ้านเรา ผมคิดว่าเรามีความมั่นใจ แต่ว่าถ้าต้องไปเจอธรณีวิทยาแบบแปลกประหลาดที่อื่นในโลก บางทีเราอาจจะยังไม่คุ้น 100% แต่พูดจริงๆ ธรณีวิทยามันก็ไม่ได้ต่างกันมาก
แต่ว่าสิ่งที่เราจะมีปัญหาก็คือเมื่อเราขยายงานมากขึ้น คนที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไปจริงๆ เราจะมีไม่พอ คือเรามี แต่มันไม่พอกับจำนวนโครงการที่เราเสนอออกไป นั่นคือปัญหาที่เราเผชิญอยู่
ส่วนงานอื่น จริงๆ ถ้าจะว่าไปแล้ว มันเป็นงานที่โดยธรรมชาติของอุตสาหกรรมนี้ ส่วนมากเขาไปจ้างคนอื่นทำ เขาไม่ได้ทำเองทั้ง 100% ด้วยพนักงานของบริษัท อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมีคนที่รู้จริงจำนวนหนึ่ง ถึงจะไปจ้างเขาได้ อย่างงานขุดเจาะ เราไม่ได้เป็นเจ้าของแท่นเจาะเอง เราจะไปจ้างแท่นเจาะมา sub-contract แท่นเจาะมา แต่ว่าเราต้องมีคนไปคุม เราต้องมีวิศวกรของเรา ที่จะต้องออกแบบหลุมเจาะของเราว่าจะเอาหลุมแบบนี้นะ ลึกขนาดนี้ ถึงตรงนี้จะเอียงไปทางนั้น อันนี้เราต้องทำเอง แต่พอถึงขั้นตอนของการลงไม้ลงมือ คือเจาะแล้ว มันก็จะเป็นบริษัท contractor เข้ามาทำ
สร้าง platform ก็เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว การออกแบบจะมี 2-3 ระดับ ที่เขาเรียกว่าระดับ conceptual คือเอาหลักการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้งาน อันนี้เราจะต้องทำเอง แต่พอขั้นถึงต้องออกแบบรายละเอียด เรียกว่า detail design แล้ว เราก็ต้องจ้างคนอื่นทำ แต่เราต้องตีกรอบให้อยู่ว่าเราต้องการอะไร เราต้องการขีดความสามารถในการทำงานอย่างนั้น อย่างนี้ ต้องการน้ำหนักขนาดนี้ ต้องการอะไรอย่างนี้ เราก็ต้องกำหนดไป อันนี้วิศวกรของเราเองต้องทำ แต่ถ้าถึงขั้นออกแบบละเอียด เราก็ไปจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะเราจะไปออกแบบว่าเหล็กอันนี้จะต้องกี่องศา จะต่อกับอันนั้นยังไงในโครงสร้าง มันละเอียดเกินไป แล้วเราก็ไม่ได้ทำ และถึงขั้นก่อสร้างตัว platform เราก็ไปประมูลจ้าง contractor มาทำ มันจะเป็นลักษณะนี้
จริงๆ แล้ว ถึงเวลานี้ผมคิดว่าเรามีขีดความสามารถเพียงพอทำได้ แต่ถามว่าขาดจำนวนไหม ก็ขาด ถ้าเทียบกับงานที่เราขยายไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นเวลานี้ที่เรากำลังคุยกัน อย่างโครงการใหญ่ๆ อย่างบงกช หลังจากที่เรา transform มานี่ เราก็เอาคนของเราไปแทนฝรั่งเกือบหมด พอถึงตอนนี้ที่เราขยายไปข้างหน้า ก็ต้องกลับมานั่งดูเหมือนกันว่าสงสัยเราจะไปอย่างนี้ไม่ได้ เราต้องถอนคนเก่งๆ ของเราออกไปทำงานบุกเบิกข้างนอก แล้วงานที่มี partner อย่างบงกช ก็คงต้องเอาคนของ partner เข้ามาเสริม มันจะกลับกัน ก็คือเรียกว่าเรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว เราก็เอาคนของคนอื่นเข้ามาเสริม เพราะไม่งั้นเราขยายคนไม่ทัน เพราะว่าบุคลากรนี่กว่าจะทำงานได้ ไว้ใจกันได้ เราจะต้องใช้ประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี 15 ปี ต้องใช้เวลา เราก็พยายามจะเร่งเพื่อจะพัฒนา แต่ว่าต้องใช้เวลา
- ซึ่งถ้าเทียบกับอายุของบริษัท ก็เท่ากับคนยุคแรกที่เริ่มต้นกับบริษัท
ใช่ แล้วเวลานี้เราก็ขยายงานไปค่อนข้างมาก โครงการที่เราพัฒนาใหม่เริ่มขึ้นมาก็จะเป็นโครงการอาทิตย์ อันนี้กำลังเร่งรัดพัฒนาอยู่ คาดว่าจะผลิตได้ประมาณปี 2006 โครงการ JDA ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างเรากับมาเลเซียก็ตามมาติดๆ คาดว่าจะเริ่มผลิตปี 2008 มีแหล่งสำรวจในพม่า ซึ่งในเวลานี้เราเป็นผู้ที่มีสัมปทานรายใหญ่ที่สุดในพม่า มีแปลงใหญ่ๆ อยู่ 4 แปลง แล้วยังไปร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติอยู่อีกที่ยาดานากับเยตากุน ก็ยังมีงานอีกมาก ในภูมิภาคนี่งานเราเต็มมือเลย
- เราเริ่มออกต่างประเทศจริงๆ เมื่อไร
จริงๆ เราไปนานมากแล้ว ตั้งแต่ปี 1990 เราไปร่วมทุนกับบริษัทยูโนแคลในการสำรวจบนบกที่พม่า แต่ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ หลังจากนั้นเราก็หยุดไปนาน แล้วก็กลับมาจริงๆ จังๆ คือเมื่อสัก 4-5 ปีที่แล้ว เราเริ่มออก แล้วที่เป็นรูปธรรมมากๆ นี่ประมาณปีกว่าๆ เราเริ่มออกไปไกลขึ้น ไปโอมาน ซึ่งเราดำเนินการเองที่โอมาน ก็มีแหล่งก๊าซที่เราพบแล้ว เตรียมจะพัฒนาเพื่อผลิต คาดว่าคงจะผลิตได้ภายในปีหน้า และคิดว่ายังมีน้ำมันที่เราจะไปสำรวจเพิ่มเติมอีก
มีที่แอลจีเรีย ในแอฟริกาเหนือ ซึ่งเราไปทำกับบริษัท ปิโตรเวียดนาม ของเวียดนาม คือเวียดนามนี่เขามีความสัมพันธ์อันดีกับทางแอลจีเรีย เขาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาด้วยกันในอดีต มี connection กันดี แล้วเขาไปได้แปลงสัมปทาน ซึ่งบริษัทอเมริกันถอนตัวเขาก็เลยมาชวนเราเข้าไปด้วย ก็เลยเข้าไปในแอลจีเรีย
เพราะฉะนั้นเราก็คงขยายต่อไปอีก ความจริงก็เป็นนโยบายของเราอยู่แล้ว แต่ว่าก็เป็นนโยบายของรัฐบาลด้วย โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีพรหมมินทร์ (เลิศสุริย์เดช) เอง ท่านมองว่าราคาน้ำมันแพงๆ อย่างนี้ บริษัทน้ำมันแห่งชาติอย่างเราน่าจะเข้าไปมีส่วนถือสิทธิ์ในทรัพยากรให้มากขึ้น และท่านก็สนับสนุนตรงนี้มาก เพราะฉะนั้นเราก็เริ่มมองที่เราจะต้องขยายต่อ ไม่ว่าจะในประเทศที่เราออกไปแล้วก็ตาม ในโอมาน แอลจีเรีย เราก็อยากขยายต่อ
- ขอย้อนไปช่วงที่เราเริ่มออกต่างประเทศ เราใช้จุดอะไร เพราะแม้ว่าเราจะเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ แต่ประเทศเจ้าของแหล่งเขาอาจจะมองว่าเป็นบริษัทคนไทย จะทำได้หรือ เพราะเราไม่ใช่เชลล์ หรือเอ็กซอน
อันนี้เรื่องจริง เมื่อ 4-5 ปีก่อน ผมได้คุยกับทางอิรักตั้งแต่ยังไม่รบกัน เราก็บอกว่าเรารู้ว่าอิรักนี่มีศักยภาพ เขาก็บอกว่า พูดตรงนะ เวลาคนอิรักมองคนเอเชียอย่างเรา เขามองว่าเราเป็นพวก service sector คือไปทำร้านอาหาร ทำอะไรแบบนี้ อันนี้เขายอมรับ แต่จะไปทำน้ำมัน อันนี้เขาบอกว่ายังคิดไม่ออกเหมือนกัน
แต่อันนี้ ผมต้องบอกว่าเราต้องขอบคุณบริษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย ปิโตรนาส ต้องขอขอบคุณปิโตรไชน่า บริษัทน้ำมันของจีน ซึ่งเขาบุกเบิกออกไป เราเรียกว่าเป็น first phase ของ National Oil Companyจากเอเชีย ที่บุกเข้าไปในตะวันออกกลาง บุกเข้าไปในแอฟริกา แล้วเขาทำได้สำเร็จ เพราะฉะนั้นมันเป็นอะไรที่สร้างความเชื่อมั่นกับประเทศในตะวันออกกลาง เจ้าของประเทศในตะวันออกกลาง เจ้าของประเทศในแอฟริกาได้มาก
ประกอบกับหลายๆ ประเทศเหล่านั้น ผมว่าในยุค 3-4 ปีที่ผ่านมา ค่อนข้างมีนโยบายที่จะ balance investment อยากจะลดบทบาทของบริษัทจากตะวันตกลง ฉะนั้นก็กลับมามองพวกเรา ผมว่าในช่วง 4-5 ปีนี่เปลี่ยนมากเลย เรารู้สึกได้ว่าเปลี่ยน
เราไปคุยกับอิหร่าน อันนี้ไม่รู้ว่าเขาพูดเอาใจเราหรือเปล่า คือผมไปนั่งคุยกับเขา ถามเขาว่า ถามจริงๆ เถอะว่าตอนนี้อิหร่านอยากจะได้ investment จากส่วนไหนเพิ่มขึ้น เขาบอกว่าเขาอยากได้จากจีนกับเรา ทางอิหร่านเขาก็เล่าอย่างนั้น เพราะฉะนั้นมันก็มีอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากพอสมควร
- คือคนทั่วไปยังนึกไม่ถึง เพราะอาจจะยังจินตนาการภาพที่เคยดูกันในหนัง เวลาไปขุดเจาะน้ำมันที อย่างน้อยต้องเป็นบริษัทฝรั่ง
แล้วมันยังมี paradigm ship อีกอัน คือสมัยก่อนเทคโนโลยีต่างๆ มันจะอยู่บริษัทน้ำมันหมดเลย อยู่ที่เอ็กซอน อยู่ที่เชลล์ อยู่ที่บีพี แต่ในช่วงที่ผ่านมานี่บริษัทน้ำมันต่างๆ ลดการลงทุนทางด้านรีเสิร์ชลงไปมาก ทำนองกลับกัน บริษัทที่เป็น service company ใหญ่ๆ หรือบริษัทที่ทำเครื่องไม้เครื่องมือวัด ในการขุดเจาะ ในการสำรวจอะไรต่างๆ พวกนี้กลับแข็งแรงขึ้น และมีการควบรวมกันมากขึ้น แล้วบริษัทพวกนี้ ลงทุนในเรื่องรีเสิร์ช เรื่องเทคโนโลยีต่างๆ สูงมาก แล้วพวกนี้จ้างได้ ใครก็จ้างได้
- เพราะอะไรบริษัทน้ำมันใหญ่ๆ ถึงลดเรื่องรีเสิร์ช
บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ ดูแล้วไม่คุ้ม เลยลดบทบาทลง แต่บริษัทพวกนี้ เขาทำ เขาคุ้ม เพราะว่าเขาทำแล้วเขาขายได้หมดเลย รีเสิร์ชที่เขาลงไป เขาทำแล้ว เขาพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือขึ้นมา พวกนี้เขาขาย ขายทั่วโลก ขายให้ได้ทุกเจ้าทั่วโลก เพราะฉะนั้นในเชิงความได้เปรียบทางเศรษฐศาสตร์แล้ว มันจะดีกว่า มันก็เกิด paradigm ship ว่าจริงๆ บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ เอาเข้าจริง ในพื้นที่ที่เป็น conventional เขาแทบจะไม่มีอะไรได้เปรียบเลย นอกจากจะไปในพื้นที่ที่มันเรียกว่า frontier จริงๆ อย่างน้ำลึกมาก ไปอาร์กติก หรืออะไรอย่างนั้น แต่อะไรที่เป็น conventional ตอนนี้มัน available อยู่ในตลาดหมดแล้ว service company พวกนี้มัน provide ได้หมด
- ซึ่งเราในฐานะที่เป็นบริษัทน้ำมันเราก็ซื้อได้
เราก็ซื้อได้ คือจ้างเขามาทำได้
- จะเรียกว่าเป็นการซื้อเทคโนโลยีเข้ามาทำ
ใช่ เพียงแต่คนของเราต้องตามให้ทันเท่านั้นเอง ต้องตามให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องรู้ว่าเทคโนโลยีอย่างนี้ apply ได้ไหม หรือ apply ไม่ได้ ถ้าบริษัทที่เขาเป็น service company ที่เขาซื่อสัตย์ เขาก็จะบอกว่าจากประสบการณ์ของเขา คุณอย่าไปซื้อ อย่าไปใช้เลย มันแพง แล้วมันใช้ประโยชน์ไม่ได้ อันนี้คนของเราก็ต้องรู้ เราต้องติดตาม บางทีเราไปซื้อผิด ซื้อถูก มันไม่ได้ประโยชน์ หรือได้ผลไม่คุ้มค่า
เพราะฉะนั้นจริงๆ ก็คือเราทำได้ มันอยู่ในขอบข่ายที่เราทำได้ ถ้าเป็นแหล่งที่เรียกว่าเป็นแหล่งมาตรฐานปกติ ที่ conventional แล้ว แม้แต่ในทะเลทราย เราก็ทำได้ แต่ว่าถ้าต้อง frontier มากๆ น้ำลึกมาก หรืออาร์กติก อะไรพวกนี้ เราอาจจะยังไม่มีความพร้อม
|
|
 |
|
|