|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"บุญคลี-ซีอีโอชินกรุ๊ป" เผยปีหน้าเศรษฐกิจหดแต่ธุรกิจชินฯ ไม่หดตาม ยันขยายตัวโตไม่ต่ำกว่าปีนี้ต่อ เตรียมปรับโครงสร้างการลงทุนขยายการลงทุนปรับให้ "ชินคอร์ป" ออกจากกลุ่มสื่อสารยก "แอดวานซ์" เป็นหุ้นยักษ์สื่อสารผู้เดียว มองกทช.ทำงานยากเพราะเกิดทีหลังธุรกิจสื่อสาร ระบุไอทีวียังไม่จำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มทุนจึงยืดเวลาให้พันธมิตร "ไตรภพ-กันตนา" ไปถึงตุลาคมปีหน้าได้ ด้าน "โลว์คอสต์ แอร์ไลน์" คาดไตรมาสสี่ปีนี้ เห็นกำไรเตรียมขยายเครื่องบินเพิ่ม
นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจในปีหน้าที่หลายคนมีการประมาณการเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือ GDP ที่อาจจะปรับอัตราการเติบโตลงเหลือระดับ 5-6% ตัวเลขดังกล่าวหากปรับลดเพียง 1% จากปีนี้ถือว่าไม่มีนัยสำคัญกับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และเชื่อว่าหากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเรื่องค่าเงินบาทแข็ง เรื่องราคาน้ำมัน ฯลฯ จนส่งผลในทางลบกับุรกิจส่งออก รัฐบาลก็คงหามาตรการเพื่อมากระตุ้นในส่วนของในประเทศมากขึ้น
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปีหน้าของชินคอร์ปจะมีการขยายอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าเติบโตในปีหน้าไม่ต่ำกว่าปีนี้ โดยจะให้แต่ละบริษัทมีการเน้นธุรกิจแต่ละประเภท โดยในส่วนของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร เซอร์วิส หรือ เอไอเอส (ADVANC) เน้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสื่อสารโดยตรง และจะให้บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN) เริ่มไปดำเนินธุรกิจประเภทอื่นมากขึ้น เช่น คอนเทนต์ที่ใช้ในมือถือ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นการหาพันธมิตรใหม่เข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวด้วยกัน
ในช่วงประมาณ 2 ปีข้างหน้า อาจจะมีการขอย้ายหมวดกลุ่มธุรกิจของบริษัท โดยบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น อาจจะย้ายไปอยู่หมวดอื่น แล้วให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร เซอร์วิส เป็นบริษัทเดียวที่อยู่ในกลุ่มสื่อสาร โดยในขณะนี้ SHIN จะต้องปรับตัวขยายการลงทุนเพื่อแตกไลน์ธุรกิจออกไปจากกลุ่มสื่อสาร ซึ่งในส่วนการขยายธุรกิจของ SHIN ณ ขณะนี้ยังคงต้องรอแผนทางธุรกิจที่บริษัทในเครือจะต้องสรุปออกมาก่อน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องสำคัญคงไม่ใช่เรื่องเงินทุนที่จะนำเข้าไปสนับสนุน แต่คงเป็นเรื่องของนโยบาย และแผนการพัฒนามากกว่า
ส่วนการนำบริษัทในเครือเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกยังคงเป็นเรื่องของอนาคต เพราะการเข้าตลาดหลักทรัพย์เกิดแรงกดดันของผู้บริหารต่อการบริหารงานเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระดับที่ผู้ถือหุ้นพอใจเกิดขึ้นมากกว่าการเป็นบริษัทนอกตลาดฯ
"เราสนใจแผนกับยุทธศาสตร์มากกว่า เราไม่ได้สนใจเรื่องเงินลงทุนมากนัก เพราะหากต้องมีการลงทุนเพิ่มบริษัทเราก็มีอยู่แล้ว" นายบุญคลีกล่าว
สำหรับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในกลุ่มสื่อสาร เรื่องความชัดเจนของคณะกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) นั้น คาดว่าน่าจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงกลางปี 2548 แต่ทั้งนี้เชื่อว่าข้อสรุปที่ได้จะเป็นปัจจัยในเชิงบวก ส่วนการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการคงจะได้เห็นความชัดเจนทั้งเรื่องรูปแบบ และประเภทการบริการมากขึ้น รวมถึงเรื่องการแปรสัมปทาน แต่กฎเกณฑ์ที่ทั้งในส่วนของบริษัทของรัฐและเอกชนก็คงเป็นรูปแบบเดียวกัน
"ถ้าผมร่วมเป็นคนออกกฎเกณฑ์ดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ หลายคนอาจจะมองว่าผมจะออกกฎเพื่อให้บริษัทของผมได้เปรียบ ผมถึงรอให้มีการออกกฎจากตัวแทนที่ได้รับเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว" นายบุญคลีกล่าว
ในส่วนของการทำงานของคณะกรรมการ กทช. นั้น นายบุญคลีให้ความเห็นว่า คงทำงานด้วยความลำบากเพราะหน่วยงานที่กำกับดูแลเกิดขึ้นมาทีหลังที่ธุรกิจหรืองานนั้นดำเนินอยู่แล้วการควบคุมการแก้ไขปัญหาจะยากกว่า
นายบุญคลี กล่าวถึงเรื่องดาวเทียม ไอ พี สตาร์ คาดว่าจะเสร็จได้ทันในปีนี้ และจะเริ่มใช้งานได้ในช่วงไตรมาส 1/48 แต่อาจจะต้องมีการทดสอบการใช้ประมาณ 30 วัน
ด้านบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV ที่มีการขอยืดเวลาการชำระเงินของ 2 พันธมิตร นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผู้ผลิตรายการ และบริษัท กันตนา กรุ๊ป ไปเป็นก่อนเดือนตุลาคมปีหน้า ซึ่งพันธมิตรทั้งสองติดต่อมาในเดือนนี้แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมขอยืดเวลาออกไป อย่างไรก็ตามบริษัทไอทีวีก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนดังนั้นการได้เงินใหม่เข้ามาในบริษัทหรือยังไม่ได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด ในส่วนของเรตติ้งของไอทีวี ก็มีระดับที่สูงขึ้นในระดับที่น่าพอใจ
ส่วนบริษัทแอร์ เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำนั้น ขณะนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เปิดบริการ 8 เดือนสามารถเพิ่มเที่ยวบินเป็น 24 เที่ยวต่อวันมียอดขายกว่า 1 พันล้านบาท ต่อไปอาจจะมีการขยายธุรกิจโดยการเพิ่มเครื่องบินจากปัจจุบันที่มีอยู่ 6 ลำเป็น 10-12 ในปีหน้า และคาดว่าจะเริ่มเห็นกำไรสุทธิได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ หลังจากที่ผ่านมายังไม่สามารถทำกำไรได้
ด้านธุรกิจบรอดแบนด์แม้ที่ผ่านมาจะมีการแข่งขันกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น แต่ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายและลูกค้าของบริษัทมีความแตกต่างกัน โดยบริษัทจะเน้นลูกค้าจากการใช้บอร์แบนด์ผ่านโทรทัศน์บ้านมากกว่าการใช้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
|
|
 |
|
|