|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เอ็น.ซี.ซี.ฯตั้งบริษัทน้องใหม่ในเครือ ดูแลบริหาร การจัดงานแสดงสินค้าใน-ต่างประเทศ ขานรับตลาดไมซ์บูมปี 48 และนโยบายภาครัฐดันไทยเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและแสดงสินค้าในภูมิภาคอาเซียน พร้อมวางหมากเจาะตลาดนิชมาร์เกต สร้างมิติใหม่ด้านการบริหารจัดการประชุม คาดปีหน้ารายได้พุ่ง 15-20%
นายฤกษมัย สุขุม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจการจัดประชุม สัมมนา และการแสดงสินค้า หรือที่เรียกว่าไมซ์ในปี 2548 จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแถบภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากธุรกิจไมซ์เอื้อต่อการสร้าง Economic Impact ให้กับประเทศ โดยในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้มีการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า เพื่อรองรับความต้องการของผู้จัดงานระดับนานาชาติ
จากสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ในแต่ละปีมีนักเที่ยวจากกลุ่มไมซ์คิดเป็นสัดส่วน 4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งรายได้จากธุรกิจไมซ์เฉลี่ยแล้วสูงถึง 10% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด
สำหรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัทในปี 2548 บริษัทมุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการสร้างมิติใหม่ด้านการบริหารจัดการประชุมและแสดงสินค้า โดยเจาะกลุ่มลูกค้า Niche Market มากขึ้น เน้นผู้มาใช้บริการทางด้านการประชุมนิทรรศการแสดงสินค้า และทางด้านกิจกรรมพิเศษ ทั้งนี้บริษัทฯ คาดว่าในปี 2548 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 15-20%
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (NEO) บริษัทน้องใหม่ในเครือ ดูแลบริหารการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการประมาณ 8,994 ล้านบาท โดยในปี 2547 เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของปีที่ผ่านมา และตัวเลขของการขยายตัวของจำนวนผู้เข้าชมงานทั้งนักธุรกิจและผู้สนใจทั่วไปประมาณ 10-12% ต่อปี
"พฤติกรรมของผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าและนิทรรศการในปัจจุบันมีความคาดหวังสูงขึ้น เพราะผู้จัดงานต้องมีการสร้างสีสันและความแปลกใหม่ในการจัดงาน พร้อมทั้งจัดสัมมนาทางวิชาการ เพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมชมงาน ทั้งนี้จำนวนวันของการจัดงานก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากปัจจุบันการจัดงานโดยไม่มีวันเฉพาะกำลังเป็นที่นิยม"
ทางด้านนางวนิดา ดุละลัมพะ รองกรรมการ ผู้จัดการ กล่าวเสริมว่า บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เล็งเห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจไมซ์ จากการจัดงานประชุม นิทรรศการ และงานแสดงสินค้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่หลั่งไหลกันเข้ามาจัดงานในประเทศไทย ด้วยศักยภาพที่โดดเด่นและเพียบพร้อมทางทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม
ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจของภูมิภาคนี้ และเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และตอกย้ำความเป็นผู้นำของธุรกิจที่บริษัท เอ็น.ซี.ซี.ฯ เป็นผู้จุดประกายและริเริ่มดำเนินการธุรกิจประเภทนี้ในประเทศไทย
บริษัทฯจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นงาน โฆษณาและประชาสัมพันธ์ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเน้นสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศเป็นหลัก สื่อกลางแจ้ง ได้แก่ บิลบอร์ดบนทางด่วน รวมไปถึงโบรชัวร์แนะนำองค์กร ผังแสดงพื้นที่ศูนย์ฯ วิดีทัศน์แนะนำองค์กร และเว็บไซต์ ภายใต้แนวคิด "National Heritage at World Standard" ซึ่งจะค่อยๆ เผยแพร่สู่สาธารณชนในช่วงต้นปีหน้า
บริษัทยังได้เพิ่มให้การบริการ สร้างความแตกต่างเหนือศูนย์การประชุมอื่นๆ อาทิ การนำกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน และการร่วมมือของพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อจัดแคมเปญส่งเสริมและสนับสนุนการตลาด อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน
สำหรับปัจจัยของการเติบโตของธุรกิจไมซ์มาจากแผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงปี 2547-2551 ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่มีแนวทางในการชักชวนนานาชาติเข้ามาจัดกิจกรรมในไทยอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันพบว่าประเทศไทยสามารถดึงงานประชุมนานาชาติเข้ามาจัดในประเทศกว่า 60 งาน มีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 66,000 คน ซึ่งนำรายได้เข้าประเทศกว่า 3,000 ล้านบาท
อีกทั้งรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน. หรือ TECB) รับผิดชอบดูแลด้านการนำงานประชุมและแสดงสินค้าเข้ามายังประเทศไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดการประชุมนานาชาติ และงานแสดงสินค้านานาชาติในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ International Congress & Convention Association (ICCA) ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการจัดงานในลำดับที่ 21 ของโลก
|
|
 |
|
|