Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
ไทยพาณิชย์ยุค ดร.โอฬาร ปรับองค์กร รองรับนโยบายเดิม             
 

   
related stories

สยามโกลบอลแอคเซสเปลี่ยนมือ

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
โอฬาร ไชยประวัติ
Banking




ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตคนแบงก์ชาติที่หันมาเอาดีในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จนสามารถเติบโตขึ้นสู่จุดสูงสุดในธุรกิจนี้ได้ ด้วยการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ - ธนาคารพาณิชย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ หลังจากที่ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่มีอันต้องลาออกไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่เปิดตัวแถลงข่าวครั้งแรก พร้อมด้วยทีมงานผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งสิ้น 13 คน เป็นการแถลงข่าวที่มีระดับบริหารของแบงก์ฯ อยู่กันพร้อมหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการบริหารของแบงก์นี้มีลักษณะการทำงานเป็นทีมเวิร์ค

"เราจะทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีมตามความสามารถที่เรามีอยู่ และพวกเราจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยประสิทธิภาพ เราจะพยายามบริหารธนาคารของเราให้ดีเท่ากับที่ท่านอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ 2 ท่านได้บริหารธนาคารในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา" ดร.โอฬารกล่าวกับตัวแทนสื่อมวลชน

การประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ครั้งนี้ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารและตัวผู้บริหารบางคน ดร.โอฬารให้เหตุผลว่า "ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับโครงสร้างบุคลากรของธนาคาร ส่วนนโยบายของแบงก์นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากของเดิมที่คุณธารินทร์กำหนดไว้"

ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งครั้งนี้คือ ชฎา วัฒนศิริธรรม เดิมเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานธุรกิจต่างประเทศและสถาบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้จัดการใหญ่ ดูแล 3 สายงานคือ สายงานเดิมที่มี สถาพร ชินะจิตร เข้ามาดูแลกับอีก 2 สายงาน คือสายงานธุรกิจขนาดใหญ่ และสายงานตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งเป็นสายงานที่ตั้งขึ้นใหม่ มีชัชวาล พรรณลาภ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ควบคุมดูแล (ดูแผนภูมิโครงสร้างธนาคาร 2 ตุลาคม 2535)

บรรณวิทย์ บุญญรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานลูกค้าบุคคลได้รับเลื่อนเป็นรองผู้จัดการใหญ่อีกคนหนึ่ง ตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ในโครงสร้างใหม่นี้จึงมี 3 ตำแหน่งคือ ชฎา, บรรณวิทย์ ผู้มาใหม่ และประกิต ประทีปะเสน รองผู้จัดการใหญ่คนเดิมที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นแทนที่ ดร.โอฬาร

บรรณวิทย์ยังคงดูแลสายงานลูกค้าบุคคล ซึ่งมี ปภาอารยะ สุวรรณเตมีย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ที่โยกมาจากสายงานควบคุม เป็นผู้รับผิดชอบอีก 2 สายงานที่อยู่ในความดูแลของบรรณวิทย์ด้วย คือสายงานเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสายงานที่รวบรวมหน่วยงานเดิมตั้งขึ้นเป็นสายงานใหม่ กับสายงานควบคุมและธุรการ

การแบ่งสายงานของรองผู้จัดการใหญ่แต่ละคนนั้นดูเหมือนจะยึดถือหลักการที่ว่า รองผู้จัดการใหญ่คนใดเคยดูแลสายงานใดมาก่อนก็ให้สายงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบต่อไป

ประกิตรับผิดชอบดูแลสายงานเดิม ส่วนชฎากับบรรณวิทย์ดูแลสายงานที่ตัวมีความถนัด

2 สายงานที่รวบรวมขึ้นมาใหม่ ดูเหมือนจะเป็นตัวบอกทิศทางการทำธุรกิจบางอย่างของแบงก์ได้เป็นอย่างดี

สายงานเทคโนโลยีชี้ให้เห็นเจตน์จำนงอย่างแน่วแน่ที่แบงก์ใบโพธิ์จะก้าวขึ้นเป็นอิเล็กทรอนิกส์ แบงกิ้งเต็มที่

สายงานตลาดเงินตลาดทุนก็ชี้ให้เห็นว่าธนาคารฯ มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดนี้อย่างไร

ชัชวาลเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "สายงานนี้รับผิดชอบในเรื่องบริหารการเงิน (FX) การลงทุนของแบงก์ที่ไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้น รวมทั้งการถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ มีฝ่ายธุรกิจ ตลาดทุนรับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ฯ (กลต.) ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำได้ เช่น การทำหุ้นกู้ พันธบัตร ฝ่ายนี้จะเป็นตัวทำตลาดรองของพันธบัตรต่างๆ และหน่วยลงทุน รวมไปถึงการทำธุรกิจวาณิชธนกิจ หรือ Merchant Bank ไม่ว่าจะเป็น Securitized (การขายลูกหนี้) การเทคโอเวอร์ เป็นต้น"

ฝ่ายธุรกิจตลาดทุนเน้นการให้บริการแก่ลูกค้า ขณะที่ฝ่ายบริหารการเงินเน้นการลงทุนของแบงก์

ส่วนฝ่ายหนี้สินและหลักทรัพย์ที่อยู่ในสายงานนี้ด้วย ก็ทำหน้าที่ด้านการดูแลบัญชีสินเชื่อ ไม่วาจะเป็นเงินกู้ ซื้อลดตั๋วเงิน บัญชีสินเชื่อเหล่านี้จะอยู่ในฝ่ายหนี้สินที่สำนักงานใหญ่ และอีกหน้าที่คือ นิติกรรมทางด้านสินเชื่อต่างๆ กับดูแลหลักประกันของสินเชื่อทั้งหมดที่มี

แม้ว่าสายงานตลาดเงินตลาดทุนจะเป็นสายงานที่ตั้งขึ้นใหม่ มีฝ่ายที่อยู่ใต้การดูแลเพียง 3 ฝ่าย แต่ก็มีคนทำงานมากพอสมควร

ฝ่ายบริหารการเงิน มีสต๊าฟ 70 คน ฝ่ายธุรกิจตลาดทุนมีสต๊าฟ 80 คน และฝ่ายหนี้สินและสินทรัพย์มีสต๊าฟ 150 คน

ตัวเลขนี้พอจะชี้ได้ว่าธนาคารฯ ให้ความสำคัญกับการเติบโตของตลาดเงินและทุนมากเพียงไร !!

กิจการที่สำคัญของฝ่ายธุรกิจตลาดทุนในเวลานี้คือ การขายหน่วยงลงทุน ชัชวาลเปิดเผยว่า "ต่อไปอาจจะมีโปรดักส์ใหม่ๆ เช่น การทำ securitized ง่ายๆ คือเอาลูกหนี้ไปขายที่เป็นตั๋ว BE

ส่วนการทำธุรกิจตามกฎ BIBF นั้นจะร่วมมือกัน 4 ฝ่าย คือฝ่ายธุรกิจตลาดทุน บริหารการเงิน การบัญชี และฝ่ายวิจัยและวางแผน เช่น การออก subordinated loan หรือ debenture คนที่จะ design ว่าจะออกดอกเบี้ยเท่าไหร่ ระยะเวลาแค่ไหน คนที่ดูแลคือฝ่ายบริหารการเงิน ส่วนฝ่ายวิจัยและวางแผนจะดูแนวโน้มต่างๆ ฝ่ายบัญชีดูแลเรื่องระบบบัญชี และฝ่ายธุรกิจตลาดทุนดูแลการเป็นตัวแทนการจำหน่ายซึ่งอาจจะทำแบบ wholesale คือหาอันเดอไรเตอร์มาทำหรือจำหน่ายแก่รายย่อยทั่วไป

ชัชวาลเปิดเผยว่า "ฝ่ายธุรกิจตลาดทุนเพิ่งตั้งได้ประมาณ 2 เดือนกว่า แต่มีรายได้มาพอสมควรจากการขายหน่วยลงทุนขายตราสารต่างๆ

เพราะตอนนี้มีการออกเครื่องมือเหล่านี้มามาก เราก็ทำหน้าที่เป็นตลาดรองขายให้กับลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างประเทศ สถาบันการเงินและลูกค้ารายย่อย"

เป็นที่คาดหมายว่า ฝ่ายธุรกิจตลาดทุนในสายงานตลาดเงินตลาดทุนจะทำรายได้ให้กับธนาคารในอัตราที่น่าพอใจ!

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการลาออกของอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ครั้งนี้ ว่าไปแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแบงก์มากมายแต่อย่างใด เพราะธนาคารนี้ค่อนข้างมีระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการแข่งขันในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว

การรับมือกับตลาดเปิดใหม่อย่างเช่น BIBF และตลาดรอง จึงเป็นเรื่องไม่ยาก เพราะมีการตระเตรียมไว้ระดับหนึ่งแล้ว

เรียกได้ว่า ดร.โอฬารนั่งบริหารแบงก์ได้อย่างสบายๆ

ส่วนการจากไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีฯ ของธารินทร์ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติของธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยโสตหนึ่งนั้น ธนาคารฯ มีการอำนวยความสะดวก โดยอนุญาตให้เลขานุการและคนขับรถประจำตัวลาไปทำหน้าที่ให้กับธารินทร์ได้ ส่วนความช่วยเหลืออื่นๆ นั้น ดร.โอฬารกล่าวว่า

"เรายินดีรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้ท่านตามที่ต้องการเหมือนกับที่ธนาคารฯ เคยทำมาแล้วสำหรับรัฐบาลและรัฐมนตรีในอดีต"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us