Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539
เจาะเวลาสู่อินเทอร์เน็ตกับแบงก์ไทยพาณิชย์             
 

   
related stories

สยามโกลบอลแอคเซสเปลี่ยนมือ

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
อมฤต เหล่ารักพงษ์
Networking and Internet




ลูกค้าของธนาคาร "เวลสปาโก้" ในสหรัฐอเมริกาอาจไม่ต้องเดินไปธนาคาร หรือโทรศัพท์ไปสอบถามยอดเงินในบัญชี หรือโอนเงินข้ามบัญชีของตัวเอง แต่อาจจะเปิดดูผ่านโฮมเพจของเวลสปาโก้ที่เปิดให้บริการกับลูกค้าเหล่านี้

ในขณะที่บางแห่งก็เปิดให้สินเชื่อรายย่อยผ่านเครือข่ายเส้นนี้ อาทิ การอนุมัติบัตรเครดิต หรืออนุมัติสินเชื่อรถยนต์ หรือบ้านพักอาศัย

ธนาคารของไทยก็ไม่แพ้กันลงทุนจัดทำโฮมเพจของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะทำไว้สำหรับเป็นเนื้อที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ บริการทางธนาคารที่จะมากับอินเตอร์เน็ต หลายแบงก์กำลังอยู่ระหว่างจัดทำ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีไอเดียขนาดไหน

สำหรับแบงก์ไทยพาณิชย์ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ย่อมไม่พลาดอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต คลื่นลูกสำคัญทางเทคโนโลยีวันนี้

อมฤต เหล่ารักพงษ์ ถือเป็นเลือดใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่มารับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานเทคโนโลยีประยุกต์ (Vice President Applied Technology Office)

ภารกิจของอมฤต คือจัดหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับธนาคาร เขากล่าวว่า ขณะนี้มีอยู่ในมือกว่า 20 ชนิดทั้งอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ก็อยู่ในจำนวนนั้น

สำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ดูแลเรื่องทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ได้ทำไปแล้ว โดยเปิดใช้มาประมาณ 1 ปี ที่จะทำต่อไปก็เรื่องอินทราเน็ต ซึ่งจุดประสงค์หลักก็เพื่อจะมาใช้กับแบงก์สาขาทั่วประเทศกว่า 400 สาขา

"เราคิดว่า อินทราเน็ตจะเหมาะกับการใช้งานของแบงก์เรามากกว่าอินเตอร์เน็ต เพราะมีความปลอดภัย ควบคุมได้ง่ายกว่า"

เมื่อมีการใช้อินทราเน็ตภายในแบงก์แล้ว เชื่อว่าการติดต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ตจะมีน้อยลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีถ้าต้องมีการติดต่อกันระหว่างแบงก์โดยผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น ข้อมูลอาจจะรั่วไหลได้ง่าย หากมี Hacker (โจรคอมพิวเตอร์) หลุดเข้ามาเปิดใช้อินเตอร์เน็ตของธนาคาร

บริการอินเตอร์เน็ตของไทยพาณิชย์ในระยะแรก ใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น ยังไม่หวังผลทางด้านธุรกิจมากนัก

อมฤตเล่าว่า ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่ได้ใช้อินทราเน็ต แต่ทางธนาคารก็ใช้สื่อทางไอทีในการบริการเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว เช่นตอนนี้ทางธนาคารสมัครสมาชิกอินเตอร์เน็ตให้กับผู้จัดการสาขาทั้งหมดเกือบ 1,000 คน

สำหรับการใช้อินทราเน็ตนั้น อมฤตบอกว่า ในสิ้นปีนี้จะสามารถใช้อินทราเน็ตได้ครอบคลุมทั้งภายในธนาคารไทยพาณิชย์และสาขาทั่วประเทศ

เป้าหมายต่อไปของธนาคารก็คือ การพัฒนาไปเป็นอินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง (Internet Banking) เต็มรูปแบบให้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้

สำหรับที่ทำได้อยู่ในขณะนี้ มีอยู่แล้วแต่ยังไม่เต็มรูปแบบ เช่น อินโฟร์แบงกิ้ง (Info Banking) เอสซีเทรด (SCB Trade) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการอินทราเน็ตที่ใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์ไว้ให้บริการสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้ให้บริการกับลูกค้าทั่วไป ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการเอสซีบีเทรดจะสามารถโอนเงิน ดูยอดบัญชี เปิดแอลซีได้

อมฤตยังได้เล่าถึงรายละเอียดในการทำงานของ SCB Trade ว่าพัฒนาจากพื้นฐานอินเตอร์เน็ต โดยยึดหลักการเดียวกับระบบอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ไม่ได้เชื่อมโยง (Link) เข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าเอสซีบีเทรด ถือเป็นเสมือนระบบอินทราเน็ตเบื้องต้นที่นำมาใช้งานภายในธนาคารนั่นเอง

การพัฒนาระบบ SCB Trade เป็นการจำลองหลักการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ โดยให้บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ Web Server เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นต่างๆ ธนาคารจึงนำหลักการเดียวกันนี้มาใช้ในการคิดค้นพัฒนาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมดังกล่าวเป็นภาษามาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไปในระบบอินเตอร์เน็ต คือ Hyper Text Markup Language (HTML)

ในส่วนของบริการต่างๆ ของระบบ SCB Trade ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ลูกค้าในระยะแรก คือ การเปิดแอลซี (Letter of Credit) การโอนเงินชำระ (Trade Remittance) การสอบถามข้อมูลทุกประเภทที่ใช้บริการด้านการค้าต่างประเทศ การตอบโต้จดหมายระหว่างลูกค้ากับธนาคารโดยผ่านอี-เมล์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะให้บริการได้ต้นเดือนสิงหาคมนี้

สำหรับจุดเด่นของการให้บริการผ่านระบบ SCB Trade ประการแรกสุดก็คือ ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลที่ใช้บริการด้านการค้าต่างประเทศได้ตลอดเวลาแบบ Online Time

จุดเด่นอีกประการหนึ่งก็คือ ความสะดวกรวดเร็วที่ลูกค้าจะได้รับ เพราะสามารถเปิดแอลซีได้ด้วยตนเอง ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาติดต่อกับธนาคารเหมือนในอดีต ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีให้ลูกค้าเห็นว่า ธนาคารมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้บริการและสร้างเสริมให้ธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

"ทุกวันนี้ลูกค้าที่ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจจะยังไม่ได้ใช้บริการทางด้านต่างประเทศ ดังนั้นการที่ธนาคารมีการนำระบบงานที่อิงหลักการของอินเตอร์เน็ตมาใช้ จึงอาจทำให้ลูกค้าเหล่านั้นสนใจมาใช้บริการ SCB Trade กันมากขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งขณะนี้มีลูกค้ารายบุคคลอยู่ประมาณ 50 ราย ซึ่งถือว่ามาก น่าพอใจเพราะเราเพิ่งเปิดให้บริการ ไม่เหมือนกับอินโฟร์แบงกิ้งนั้นมีถึง 1,000 ราย เพราะเปิดมานานกว่า

อมฤตยังบอกอีกว่า โดยระบบ SCB Trade ยังสามารถติดตั้งที่ศูนย์บริการการค้าต่างประเทศทั้ง 15 แห่ง เพื่อให้ศูนย์ดังกล่าวทำหน้าที่ด้านการตลาดเป็นหลัก ส่วนธนาคารสำนักงานใหญ่จะทำหน้าที่สนับสนุนศูนย์ในขั้นตอนการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพเข้าสู่ระบบ FITAS

สำหรับงบประมาณในส่วนของสายเทคโนโลยีในแต่ละปีนั้น ทางผู้บริหารได้ตั้งสัดส่วนไว้ 8% ของรายจ่ายของธนาคาร หรือประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us