Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มีนาคม 2545
ศุภลักษณ์หวังไทยศูนย์กลางช้อปปิ้ง             
 


   
search resources

สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก.
ศุภลักษณ์ อัมพุช




นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช ผู้บริหารเดอะมอลล์กรุ๊ป และเป็นรองประธาน บริษัท สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส จำกัด และกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอล บนเนื้อที่ 52 ไร่ เปิดเผยว่า โครงการสยามพารากอน นับได้ว่าเป็นโครงการที่จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากทางผู้บริหารโครงการมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาพื้นที่แปลงนี้ให้สมศักดิ์ศรีของการเป็นพื้นที่ของวังสระปทุม และยังถือเป็นที่ดินผืนงามใจกลางกรุงเทพฯเพียงแห่งเดียว ที่สมควรจะได้รับการพัฒนา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่ดีที่สุดของประเทศไทย

ซึ่งการตัดสินใจพัฒนาเป็นโครงการสยามพารากอนจะเกิดผลดีต่อประชาชนโดยส่วนรวม เพราะปัจจุบันที่ตั้งของโรงแรมสยามอินเตอร์ คอนติเนนตอล ซึ่งมีถึง 52 ไร่ ถูกใช้ประโยชน์เพียงชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในโรงแรมเท่านั้น แต่หลังจากที่ผู้บริหารนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการสยามพารากอน จะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นาวสาวศุภลักษณ์ มองว่าพื้นที่ในย่านสี่แยกปทุมวัน ราชประสงค์ เลยไปจนถึงเพลินจิตและสุขุมวิท นับเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีแหล่งช้องปปิ้งรวมกันอยู่มากมาย ซึ่งหากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่าแต่ละโครงการก็มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป และผู้บริหารแต่ละโครงการก็พยายามหาจุดเด่นเข้ามาเสริม เพื่อสร้างจุดขายให้แก่โครงการของตัวเอง

“ไม่อยากให้มองว่าเมื่อเกิดสยามพารากอนแล้วเราจะเป็นคู่แข่งขันกับคนอื่นที่ทำโครงการในย่านใกล้เคียงกัน แต่อยากให้มองเป็นภาพรวมว่าหากทุกโครงการสามารถร่วมมือกัน เพื่อช่วยพัฒนาพื้นที่ย่านใจกลางเมืองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งช้อปปิ้งที่ยิ่งใหญ่และมีศักยภาพได้ เชื่อว่ากรุงเทพฯน่าจะมีโอกาสได้เป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งแทน ญี่ปุ่น สิงคโปร์หรือฮ่องกงได้อย่างสบาย เพราะเรามีความเหนือกว่าด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงาม และวัฒนธรรมของประเทศที่มีคุณค่า”

แต่การจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางช้อปปิ้งของเอเชียได้นั้น นอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแล้ว รัฐบาลน่าจะช่วยเหลือภาคเอกชนด้วยการพิจารณาลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะปัจจุบันสินค้าแบรนด์เนมระดับโลกที่เข้ามาเปิดร้านในประเทศไทย ยังมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะไทยมีกำแพงภาษีนำเข้าสูง โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือแม้แต่มาเลเซียก็ลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยจนเหลือ 0% ซึ่งผลจากการลดภาษีทำให้สภาพการค้าขายของประเทศเพื่อนบ้านมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“เราไม่ได้หวังว่ารัฐบาลจะลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยเป็น 0% เพียงแค่ลดลงครึ่งหนึ่งของที่เก็บอยู่แล้วค่อยๆลดทีละส่วนจนเหลือ 0% ในที่สุดก็น่าพอใจแล้ว ซึ่งหากได้มีโอกาสได้พูดคุยกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็จะนำเรื่องนี้ไปหารือ”

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงโอกาสการเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งของเอเชียแล้ว จะเห็นได้ว่าพื้นที่ตั้งแต่ย่านปทุมวันไปจนถึงสุขุมวิท มีห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ดิสเคานต์สโตร์ และพื้นที่ค้าปลีกอื่นๆตั้งเรียงรายอยู่กว่า 10 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ค้าปลีกรวมกันกว่า 1 ล้านตารางเมตร นับเป็นแหล่งค้าปลีกที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย และแต่ละธุรกิจก็มีความแตกต่างกันไปทั้งรูปแบบการค้า สินค้าและบริการ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่มีแต่ระดับเศรษฐีลงมาจนถึงคนระดับล่าง

จุดช้อปปิ้งเริ่มตั้งแต่ย่านปทุมวัน ที่เทสโก้โลตัส เตรียมเปิดให้บริการบริเวณตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ และมาตรงสี่แยกปทุมวันก็มีศูนย์การค้ามาบุญครองซึ่งมีห้างโตคิวอยู่ภายในศูนย์การค้า ข้ามสี่แยกไปทางฝั่งซ้ายเป็นสยามเซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ และโครงการสยามพารากอนที่มีกำหนดก่อสร้างสิ้นปีนี้และจะเปิดให้บริการอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนฝั่งขวาเป็นศูนย์การค้าสยาม ที่มีร้านค้าขายสินค้าแฟชั่นประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ เป็นส่วนใหญ่

บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ฝั่งซ้ายเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งภายในศูนย์ฯมีห้างสรรพสินค้า 2 ห้าง คือ เซน และอิเซตัน ที่ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์นี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาหาผู้ร่วมทุนเพื่อเข้ามาพัฒนาโครงการให้เสร็จครบถ้วนสมบูรณ์แบบ ซึ่งโครงการนี้จะมีศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมือง พร้อมโรงแรมที่พัก และอาคารสำนักงานไว้รองรับด้วย ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาว่ากลุ่มที่มีความเป็นไปได้ในการเข้ามาบริหารโครงการนี้มากที่สุดก็คือ กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา

ส่วนฝั่งตรงข้ามเวิลด์เทรด มีบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ (กำลังก่อสร้าง) นารายณ์ภัณฑ์ และเกษรพลาซ่าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อทำเป็นศูนย์การค้าระดับหรูหรา โดยที่ผ่านมาได้เลื่อนการเปิดไปหลายครั้งและล่าสุดได้ปิดประกาศไว้หน้าศูนย์ฯว่าจะเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคมนี้

ส่วนฝั่งศาลพระพรหม ก็มีศูนย์การค้าเพนนินซูล่า ซึ่งเป็นศูนย์การค้าขนาดเล็กแต่มีกลุ่มเป้าหมายคือพวกไฮโซ ที่ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่นัดพบ ปรึกษาหารือกันเป็นประจำ และยังมีศูนย์การค้าโซโก้ 1 และ 2 อยู่ถัดมาบริเวณสี่แยก ซึ่งปัจจุบันโซโก้อยู่ระหว่างการหาผู้เข้ามาบริหารโครงการ โดยมีกระแสข่าวออกมาว่าได้มีการเจรจากับกลุ่มเซ็นทรัลให้เข้ามาบริหารพื้นที่ แต่กระแสข่าวล่าสุดมีออกมาว่าผลการเจรจาไม่บรรลุข้อตกลง

เลยขึ้นไปย่านเพลินจิต มีห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าประจำที่มีกำลังซื้อสูง ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานในย่านชิดลม หรือชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในย่านสุขุมวิท เลยเซ็นทรัลชิดลมเป็นอาคารเวฟเพลส ที่มีโฮมโปรพลัส เปิดจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านทุกชนิด

จากเพลินจิตผ่านขึ้นไปบนถนนสุขุมวิทก็มีศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่นับเป็นศูนย์การค้าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ด้วยการเป็นศูนย์รวมสินค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลก มาไว้ภายในศูนย์เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก

เมื่อพิจารณาถึงรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศไทย เมื่อปี 2543 พบว่ามีอัตรา 34.67% ของรายได้รวมจากการท่องเที่ยว 285,272 ล้านบาท หริอคิดเป็นเงินที่นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายซื้อสินค้าจะมีประมาณ 98,980 ล้านบาท

สำหรับปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า ยอดรายได้จากการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 40% จากรายได้รวมของการท่องเที่ยว หรือคิดเป็นเงินถึง 1 แสนล้านบาท แต่หากรัฐบาลสามารถสร้างสิ่งจูงใจ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลงเชื่อว่ารายได้จากการซื้อสินค้าน่าจะมีสูงกว่า 1 แสนล้านบาท

“สิ่งที่ประเทศชาติจะได้รับก็คือ เศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมจะดีขึ้น เพราะเมื่อมีการค้าขายก็มีการจ้างงานที่ต่อเนื่องกันเป็นระบบ และรัฐบาลก็สามารถเก็บภาษีการค้าที่จะเพิ่มขึ้นจากการค้าขายที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งชดเชยจากการลดภาษานำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยได้” นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวในตอนท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us