Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535
สมถวิล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมของเชลล์             
 

   
related stories

เชลล์ "เพียวร่า ดีเซล" จ่ายเพิ่มลิตรละ 1 บาท เพื่ออากาศสะอาดขึ้น

   
search resources

เชลล์แห่งประเทศไทย, บจก.
Environment
สมถวิล ปธานวนิช




สำหรับนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ ชื่อ สมถวิล ปธานวนิช เป็นชื่อที่จะได้ยินผ่านหูเห็นผ่านตาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งครั้ง

โดยเฉพาะผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของเนื้อหา และท่าทีของไทยในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกของสหประชาชาติ หรือที่เรียกกันว่า Earth Summit

เพราะเธอเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลและหานโยบายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อใช้พิจารณาในการกำหนดบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกให้ชัดเจนขึ้น

ในขณะนั้นเธอเป็นนักวิจัยของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI นำทีมวิจัยหัวข้อเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก หรือ Global Climate Change โดยศึกษาการใช้พลังงานในประเทศไทยว่า มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่งมีตัวหลักๆ ก็คือคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศในปริมาณจำนวนเท่าไร และส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น (Global Warming) มากหรือน้อยเพียงใด

ผลงานวิจัยทั้งหมดพิมพ์เสร็จเป็นเล่มเรียบร้อยแล้วก่อนที่การประชุม Earth Summit จะเริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ในระหว่างที่เอกสารเหล่านี้อยู่ในมือของผู้ร่วมประชุมที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เธอกำลังอยู่ในระหว่างเริ่มงานใหม่ในตำแหน่ง Business & Strategic Planning Manager ที่บริษัทเชลส์

เป็นการทำงานครั้งแรกในภาคธุรกิจเอกชน

"งานที่เชลส์ต่างจากงานเก่าตรงที่ เมื่อก่อนทำวิจัยทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อกำหนดแนวทางนโยบายเสนอต่อรัฐบาล แต่พอมาทำที่เชลส์งานวิจัยจะแคบลงเป็นระดับเอกชน ไม่ใช่ระดับประเทศ และบริษัทเป็นบริษัทใหญ่ ดิฉันเป็นเพียงผู้จัดการเท่านั้นเองที่พอใจได้ทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน งานตรงนี้เป็นงานวิเคราะห์และวางแผนข้อมูล และข้อเสนอแนะต่างๆ ก็จะเสนอผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปเท่านั้น" สมถวิลเปรียบเทียบงานใหม่กับที่เดิมซึ่งเคยร่วมงานอยู่นานถึง 3 ปีเศษให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

สำหรับเธอแล้วอาจจะเห็นว่าบทบาทการทำงานจำกัดวงแคบลงกว่าเดิม จากที่เคยร่วมประชุมระดับชาติหลายครั้ง เล็กลงสู่ระดับเอกชนเท่านั้น

แต่ถ้าหมุนมามองในด้านของบริษัทแล้ว การได้เธอมาร่วมงานนับว่าเป็นการเข้ามาในช่วงจังหวะที่เหมาะ ที่เอกชนจำต้องใส่ใจต่อข้อตกลงเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับโลกให้มากขึ้น

โดยเฉพาะบริษัทเชลส์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการถกเถียงในการประชุมEarth Summit จนมีผลสรุปและเขียนอยู่ในแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมโลกสำหรับศตวรรษที่ 21 (Agenda 21) ว่าน้ำมันและแก๊สเป็นตัวการอันดับหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ฉะนั้นจึงควรหาหนทางใช้พลังงานอื่นที่บริสุทธิ์กว่าทดแทน

รายละเอียดเกี่ยวกับข้อผูกพันเรื่องนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องคงต้องศึกษาให้กระจ่าง เพราะรัฐบาลไทยได้ลงนามเซ็นรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกแล้วในการประชุม Earth Summit ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป

ที่จริงแล้วปัญหาที่เกิดจากความไม่ลงตัวระหว่างสิ่งแวดล้อมกับธุรกิจ สำหรับบริษัทเชลส์เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้มาแล้วในอดีตเมื่อ 4 ปีก่อน ตอนนั้นเชลส์มีโครงการลงทุนปลูกป่ายูคาลิปตัส ชื่อว่า "โครงการสวนป่าวนาธร" ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติขุนซ่อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี บนพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 282,500 ไร่

แต่โครงการดังกล่าวมีเหตุต้องล้มเลิก เพราะมีเสียงคัดค้านแรงมากจากนักอนุรักษ์และประชาชนในแถบนั้น อีกทั้งในระยะเวลาไล่เลี่ยกันที่เชลส์กำลังจะเริ่มโครงการ ก็เกิดกรณีปัญหาสวนป่ายูคาลิปตัสของ กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ บุกรุกพ้นที่ในเขตของกรมป่าไม้ จนทำให้เกิดการทบทวนเรื่องการปลูกป่าประเภทนี้ว่า มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง เชลส์จึงตัดสินใจล็อกกุญแจปิดตายโครงการสวนป่า

จากปัญหาเรื่องจุดสมดุลยของสิ่งแวดล้อมกับธุรกิจของเชลส์ในอดีตและที่กำลังจะมีมาอีกในอนาคตอันใกล้นี้ การมีบุคลากรที่เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยเช่นนี้ นับว่าเป็นความฉลาดของเชลส์

ด้วยเหตุนี้เมื่อกลับมามองในมุมของสมถวิลแล้ว เธอมีประสบการณ์ด้านนี้มากทีเดียว นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพราะว่าทำวิจัยมากับมือ และเคยร่วมการเจรจาต่อรอง ก่อนการลงนามหลายครั้งหลายครา เธอยังเคยศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Energy management % Policy จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เคยทำารศึกษาเรื่องผลกระทบของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ลิกไนต์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เมื่อครั้งที่อยู่ TDRI

บวกด้วยปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเล จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความเป็นนักปฏิบัติที่ผ่านงานกิจกรรมสังคมมากพอควร เริ่มตั้งแต่เป็นประธานเชียร์รุ่นแรกของนักเรียนบดินทรเดชา

เป็นอาสาสมัครศูนย์ฝึกเยาวชนแบบผสมผสานที่อุทัยธานีหนึ่งปีเต็ม หลังจากจบชีวิตนิสิต ต่อด้วยเป็นผู้ช่วยวิจัยโครงการศึกษาประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า (Oral History Project) โดยมีหน้าที่สัมภาษณ์นักการเมืองและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเหตุการณ์การเมืองสำคัญ นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงวันมหาวิปโยค 6 ตุลาคม 2519 เพื่อค้นหาว่า อะไรเป็นปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย

จากประวัติการทำงานของเธอ ซึ่งครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม นับว่าเธอมีความพร้อมในด้านวิชาการเต็มที่ที่จะสามารถทำประโยชน์ให้กับบริษัทเชลส์ ส่วนทางเชลส์ก็มีโลกธุรกิจให้เธอเรียนรู้และฝึกปรือเพิ่มขึ้นไม่แพ้กัน

"บางคนพูดว่าเคยทำงานในองค์กรเพื่อส่วนรวม แล้วเปลี่ยนมาทำกับเอกชนจะกลายเป็นคนขายตัว เสียความคิดความอ่านของตัวเอง ดิฉันคิดว่ามันคนละเรื่องกัน เขาถึงมีคำพูดว่าทำธุรกิจต้องมีจริยธรรมด้วย คนเราถ้ามีคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็คงไม่เสียส่วนนี้ไปง่ายๆ" สมถวิลบอกเล่าความคิดกับ "ผู้จัดการ"

การประสานมือกันระหว่างธุรกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ในยุคสมัยนี้ การปรับทิศทางแนวบริหารงานและเตรียมบุคลากรตอบรับ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us