Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536
นอร์ธปาร์คกับแบงก์เอเชีย กรณีอัฐยายซื้อขนมยาย             
 

   
related stories

53 ปี ธนาคารเอเชีย Never Ending Story ของเอื้อชูเกียรติ
ตระกูลภัทรประสิทธิ์ในธนาคารเอเชียกับเข้ามาของเจริญ สิริวัฒนภักดี
เมื่อสหภาพแบงก์เอเชีย ไม่ใช่หุ่นยนต์

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอเชีย

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
Banking and Finance




จะมีโครสักกี่คนทราบว่า ครั้งหนึ่งที่ดินผืนงามนับร้อยๆ ไร่ ของ "โครงการนอร์ธปาร์ค" เคยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นที่ดินของ "ชินเขต" มาก่อน แต่หลังจากประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2525-2528 จนไม่สามารถผ่อนชำระหนี้สินจำนวนมากได้ จึงถูกทางธนาคารเอเชียยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันผืนงามนี้

ช่วงต่อของการเปลี่ยนมือจากเจ้าหนี้ธนาคารเอเชียกลายเป็นกลุ่มบริษัทนอร์ธปาร์ค เป็นความแยบยลของกลวิธีแบบอัฐยายซื้อขนมยาย โดยเริ่มต้นจากธนาคารเอเชียยึดที่ดินของชินเขตมาได้แล้วประกาศขายทรัพย์สินนี้ แต่แทนที่จะขายให้คนอื่น ทางกลุ่มเอื้อชูเกียรติกับกลุ่มผู้ถือหุ้นได้ตั้งบริษัทนอร์ธปาร์คซิตี้ขั้นมา เพื่อรับโอนหนี้ด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นมา 314 ล้านบาท ค้ำไว้กับแบงก์

บริษัทชินเขต ก่อตั้งขึ้นในปี 2514 โดยสองสามีภรรยา อรลาและสุจิต ธัญญะกิจ ทำธุรกิจซื้อขายที่ดินและสร้างบ้านจัดสรรขาย การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างดีในช่วงยุคนั้น มีการขยับขยายตั้งบริษัทในเครือ เช่น บริษัทชิดชน ซึ่งให้ อรรจนา ธัญญะกิจ ลูกสาวคนสุดท้องเป็นผู้ดูแลกิจการซื้อขายที่ดิน

บริษัทชิดชนนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทนอร์ธปาร์ค เรียลเอสเตท" เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 เนื่องจากชินเขตไม่มีความสามารถชำระหนี้สินที่กู้ยืมจากแบงก์ได้ ขณะที่ทางธนาคารเอเชียก็มีปัญหาต้องเร่งรัดหนี้เพื่อฟื้นฟูสภาพคล่อง ปัจจุบันบริษัทนี้มีทุนจดทะเบียนเป็น 100 ล้านบาท ในปี 2534 มีหนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่ที่เกิดจากเงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืมจากธนาคาร 1,214 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาว 330 ล้านบาท

ปี 2532 เอื้อชูเกียรติได้เข้ามาเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นในบริษัทนอร์ธปาร์ค เรียลเอสเตท พร้อมกับน้องสาววิไลพรรณ อนันต์ อัศวโภคิน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และอมร อัศวานนท์

ที่ดินนับร้อยๆ ไร่ที่ยึดมาได้นี้ถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าอยู่พอสมควร เนื่องจากเป็นที่ดิน land lock ที่ยังหาทางเข้า-ออกไม่ได้ จนกระทั่งในปี 2526 แนวความคิดการพัฒนาหนี้ให้มีมูลค่าผลตอบแทนสูง ก็เกิดขึ้นในสมองอันเฉียบแหลมของคนในครอบครัวเอื้อชูเกียรติ

"บริษัทนอร์ธปาร์คซิตี้" จึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 ทุนจดทะเบียนขณะนี้ 300 ล้านบาท โดยทางกลุ่มเอื้อชูเกียรติได้ดึงบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ถือหุ้น 40% เข้าร่วมในฐานะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เนื่องจากความเป็นมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบริหารที่ดิน ปัจจุบันมีวิไลพรรณ เอื้อชูเกียรติเป็นประธานบริหาร ขณะที่พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ เดี่ยวมือหนึ่งของแลนด์แอนด์เฮ้าส์เป็นกรรมการผู้จัดการ

ความฝันที่จะเนรมิตที่ดินผืนงามนับร้อยๆ ไร่แห่งนี้ได้กลายเป็นจริง เมื่อความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจได้ขยายตัวไปสู่ชานเมือง ราคาที่ดินริมถนนวิภาวดีรังสิตพุ่งทะยานโลดลิ่วอย่างรุนแรงจนจับไม่ติด ที่ดินนับร้อยๆ ไร่ของกลุ่มนอร์ธปาร์คที่ได้มาในราคาเพียง 300 กว่าล้าน จึงเป็นสินทรัพย์อันมีค่าเกินคาดมหาศาลในปัจจุบัน

ในปี 2532 บริษัทภาคีทรัพย์สินซึ่งต่อมาปี 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทนอร์ธปาร์ค พร็อบเพอร์ตี้" ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยปี 2532 สี่พี่น้องเอื้อชูเกียรติ ยศ-วิไลพรรณ-ศักดิ์-ลาวัณย์ ถือหุ้น 99%

ทั้งสามบริษัทในกลุ่ม "นอร์ธปาร์ค" ได้แก่ นอร์ธปาร์ค เรียลเอสเตท, นอร์ธปาร์ค ซิตี้ และนอร์ธปาร์ค พร็อบเพอร์ตี้ จึงเป็นผู้ดำเนินโครงการ "นอร์ธปาร์ค" มูลค่าก่อสร้างนับพันล้านที่อยู่ตรงข้ามโรงแรมรามาการ์เดน ถนนวิภาวดีรังสิตนั่นเอง

ความยิ่งใหญ่ของโครงการนี้เป็นโครงการเดียวริมถนนวิภาวดีรังสิตช่วงเจริญที่สุด ที่มีพื้นที่โครงการถึง 740 ไร่ กินอาณาบริเวณกว้างมากจรดถนนสามสายหลักๆ คือ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น (ทางเข้าเดียวกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) และถนนงามวงศ์วาน (ทางเข้าหมู่บ้านชินเขต)

โครงการสมบูรณ์แบบบนเนื้อที่ 740 ไร่ จะประกอบไปด้วย หนึ่ง - ออฟฟิศโซน 139 ไร่ สอง - สนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม 330 ไร่ ที่ออกแบบโดย JMP (J. Michael Poellot Golf Design Group) ซึ่งจะเสร็จราวสิงหาคมปีนี้ สาม - สปอร์ตคอมเพล็กซ์ 28 ไร่ ในระดับสปอร์ตสคลับและโปโลคลับ สี่ - โรงแรมและบิซิเนสเซนเตอร์ และห้า - บ้านจัดสรร 55 ไร่

แต่ปัญหาทางเข้า-ออกที่สำคัญของโครงการนี้ก็คือ ทางถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งกลุ่มนอร์ธปาร์คต้องจ่ายเงินถึง 10.5 ล้านบาท ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้ใช้ที่ดิน จำนวน 3,976 ตารางเมตร สร้างเป็นถนนลอดใต้ทางรถไฟและวางท่อระบายน้ำ

อายุสัญญาที่ทำไว้กับการรถไฟฯ คือ 30 ปี ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2533 ถึง 30 ตุลาคม 2563 เมื่อครบกำหนดเวลา ผู้ที่อยู่ในโครงการนี้ก็คงต้องเจรจาต่อรองกันองในปัญหาทางเข้า-ออกสำคัญนี้เอง

โครงการ "นอร์ธปาร์ค" คือการลงทุนสำคัญด้านเรียลเอสเตทของกลุ่มเอื้อชูเกียรติ ที่อาศัยพันธมิตรทางธุรกิจอย่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์เป็นผู้บริหารโครงการให้ โดยตนเองใช้ฐานเงินทุนจากธนาคารเอเชียเป็นตัวสนับสนุนส่วนหนึ่ง

ปัจจุบันธนาคารเอเชียได้ปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการนี้เป็นจำนวนรวม 460 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ที่กู้โดยนอร์ธปาร์ค พร็อบเพอร์ตี้ 45 ล้านบาท นอร์ธปาร์ค เรียลเอสเตท 123 ล้านบาท และนอร์ธปาร์ค ซิตี้มากที่สุดถึง 292 ล้านบาท โดยมีที่ดินจำนองไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

เงินทุนที่แบงก์อัดฉีดเข้าไปในโครงการนอร์ธปาร์คนี้ จะเป็นการพัฒนาหนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาต่อไป !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us