"ชัยอนันต์ สมุทวณิช"วิพากษ์ ผลกระทบจากโลกการค้าเสรี
ระบุ 10 ปีของการเปิด เสรีอย่างสุดโต่งวันนี้พิสูจน์ถึงจุดจบโลกาภิวัตน์
ช่อง ว่างระหว่างคนรวย-คนจนยิ่งห่าง แฉรัฐบาลเสีย ดอกเบี้ยเงินกู้ต่างชาติอย่างที่ไม่ควรเสีย
ยิ่งกว่า "ค่าโง่ทางด่วน" ผู้กำหนดนโยบายมีแต่สุกๆดิบๆ แนะจะฟื้นประเทศต้องรักษาและรู้จักใช้ประ-
โยชน์จากทรัพยา กรธรรมชาติทุนทางปัญญาที่มีอยู่
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการวชิราวุธ วิทยาลัย ปาฐกถาเรื่อง "จุดจบโลกาภิวัฒน์
? " ซึ่งจัดโดยโครงการอาณาบริเวณศึกษา 4 ภูมิภาค ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
เมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) โดยศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวว่า โลกาภิวัตน์นั้นมีทั้งดีและไม่ดีซึ่งเคยเตือนตั้งแรกเริ่มแล้วว่า
กระแสโลกาภิวัตน์เมื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบจะอันตราย เมื่อมีการนำมาสร้างเป็นระบบก็มีการตีกรอบกติกาขึ้นมาโดยมีองค์กรมาบีบให้
คนเข้าสู่ระบบนี้ พยายามกดดันให้เกิดระเบียบโลกเช่น องค์การการค้าโลก ( WTO)
กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF)ไม่ได้อยู่ที่การ เปลี่ยนแปลงแบบโลกาภิวัตน์แต่เป็นเรื่องของการจัดการกับระบบมากกว่า
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาได้มีการเรียนรู้แล้วว่า การใช้แนวคิดเรื่องระบบการค้าเสรีแบบสุดโต่งเริ่มส่งผล
สถิติที่อ้างอิงได้คือ ระบบดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้ประเทศที่ยากจนดี ขึ้นมา
ช่องว่างระหว่างความร่ำรวยกับความยากจนเปรียบเทียบระหว่างปี ค.ศ. 1980 กับค.ศ.
1990 เพิ่ม ขึ้นจาก 77 เท่าเป็น 122 ซึ่งหากสูตรการค้าเสรีได้ผลช่องว่างดังกล่าวจะต้องลดลง
"โดยสรุปคือว่า จากกระแสโลกาภิวัฒน์มาสู่ระบบและเกิดการบีบบังคับให้เกิดนโยบายให้ทำอะไรตามที่องค์กรมหาอำนาจต้องการ
โลกาภิวัฒน์ให้ ประโยชน์น้อยกับคนจำนวนมากและให้ประโยชน์มาก กับคนจำนวนน้อย
10 ปีที่ผ่านมาประเมินผลแล้วประเทศที่ไม่ยอมตาม WTO IMF รอดตัว แต่ประเทศที่ยอมตามทั้งหมดแย่หมดเลย
"
ประเทศไทยเริ่มเปิดเสรีทางการเงิน-การค้าอย่างเต็มที่เมื่อปี 2536 ในสมัยรัฐบาลชวน
หลีกภัย โดยนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการล่ม สลายทางเศรษฐกิจของไทยในเวลาต่อมาเนื่องจากความไม่พร้อมของระบบเศรษฐกิจไทยที่จะรับเอาทุน
ข้ามชาติที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกันหลังการล่มสลายของเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 รัฐบาลได้ตัดสินใจเข้ารับการช่วยเหลือทาง
การเงินจากไอเอ็มเอฟซึ่งบีบบังคับให้ไทยต้องแก้ไขกฎหมาย และดำเนินการหลายอย่างตามไอเอ็มเอฟ
ที่ได้เขียนเอาไว้ในเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ แต่มาตรการของไอเอ็มเอฟกลับทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยแย่ลง
และซบเซามาถึงทุกวันนี้ ตรงกันข้ามกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเผชิญปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในเวลาใหล้เคียงกับของไทยแต่ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
เศรษฐกิจกลับฟื้นตัวก่อนประเทศไทย
ศ.ดร.ชัยอนันต์กล่าวว่า ปัจจุบันแม้แต่สหรัฐก็ ไม่เชื่อในเรื่องกลไกตลาดเพราะเอาเรื่องกรอบองค์กร
ต่างๆมาบีบบังคับประเทศที่ด้อยกว่า มีการเข้าแทรก แซง เช่นการใช้ไอเอ็มเอฟมาบีบรัฐบาลในเรื่องค่าใช้จ่ายทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องลำบาก
หรือแม้แต่การกู้เงินจากธนาคารโลกมาเพื่อการปฏิรูประบบราชการที่มีดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ
6.75 "ผมเคยแนะนำให้คืนไปและเสียค่าปรับดีกว่าที่จะจ่ายดอกเบี้ย แต่รัฐบาลก็ไม่ฟัง
เป็นการเสียค่าโง่ยิ่งกว่า ค่าโง่ทาง ด่วนเสียอีก เป็นค่าโง่ที่เกิดจากโลกาภิวัตน์
และล่าสุด เรื่องทุนทางปัญญาเรื่องสมุนไพรของไทย ซึ่งเหลืออยู่ ก็กำลังถูกรุกราน"
ศ.ดร.ชัยอนันต์กล่าว
สำหรับทางออกในเรื่องโลกาภิวัตน์นั้น ศ.ดร. ชัยอนันต์กล่าวว่า สังคมไทยมีฐานเรื่องความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิม
ทุนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ต้องพยายามรักษาไว้อย่าให้ระบบโลกาภิวัฒน์มาจัดการสิ่ง
เหล่านี้ โลกาภิวัตน์จัดการสถาบันการเงินไปแล้ว ถ้าเมื่อไหร่ที่มาจัดการทุนทางปัญญาทรัพยากรของเราแล้วจะสิ้นทุกอย่างและที่สำคัญคือ
ผู้นำผู้กำหนดนโยบายของประเทศจะต้องมีความเชื่อมั่นแต่ไม่ใช่อหังการ์
"ทุกวันนี้เรามีแต่พวกสุกๆดิบๆคนที่มีบทบาทกำหนดนโยบายเป็นพวกสุกๆดิบๆเยอะมาก
ปัญหาโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องใหญ่ทำให้เราพลาด แต่ถ้าจะไม่ให้พลาดอีกต้องส่งเสริมให้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริง
จัง และรู้เท่าทัน" ศ.ดร.ชัยอนันต์กล่าว