|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"โพลีเพล็กซ์ฯ" งัดปันผลล่อนักลงทุน หลังหุ้นน้องใหม่พ่นพิษราคาต่ำกว่าจอง เล็งเสนอขายหุ้น IPO ปลายสัปดาห์นี้ ที่ปรึกษาเล็งเพิ่มสัดส่วนขายหุ้นให้กับนักลงทุนสถาบัน หวั่นรายย่อยแห่ขายทำกำไรระยะสั้นฉุดราคาหลุดจอง ขณะที่ผู้บริหารมั่นใจพื้นฐานบริษัทแกร่งหลังเปิดตัวโรงงานในตุรกี ดันยอดขายกระฉูด
นายซันจีฟ ซาราฟ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PTL) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) จำนวน 140-240 ล้านหุ้น คิดเป็น 20-30% ของทุนจดทะเบียนเดิมที่มีจำนวน 560 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยตั้งเป้าระดมทุนประมาณ 1 พันล้านบาท เพื่อนำเงินไปใช้ในการขยายการดำเนินธุรกิจและคืนหนี้ให้กับสถาบันการเงิน หลังการระดมทุนจะทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 700-800 ล้านบาท
สำหรับเงินที่ได้จากระดมทุนในส่วนแรกจะนำลงทุนเพื่อทำฟิล์มเคลือบอะลูมิเนียมประมาณ 100 ล้านบาท ลงทุนในเครื่องจักร เครื่องตัดชิ้นส่วน 100-125 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 300-400 เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และส่วนที่เหลือนำไปคืนหนี้กับสถาบันการเงิน เพื่อลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนจากปัจจุบันมีสัดส่วน 1:1.1 เท่า ให้ต่ำกว่าระดับ 1 เท่า
"แม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวน แต่บริษัทก็มีความมั่นใจว่าหุ้นที่กระจายจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมีความแข็งแกร่ง อยากให้นักลงทุนมองหุ้นในระยะยาวมากกว่าการเข้าลงทุนระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร"
นายซาราฟ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำการผลิตและจำหน่าย แผ่นฟิล์ม PET ประเภทฟิล์มบาง ซึ่งใช้เป็นผลิตภัณฑ์ในงานอุตสาหกรรม ประเภทบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศประมาณ 30% แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทจะเน้นการจำหน่ายต่างประเทศถึง 90% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย อเมริกาและยุโรป
โดยปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นฟิล์ม PET ติดอันดับ 5 ของโลก มีจำนวนการผลิตมากที่สุดถึง 3.9 หมื่นตันต่อปี และถือเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย โดยคู่แข่งรองลงมาคือ บริษัท เอ.เจ.พลัส มีกำลังการผลิต 8.5 ตันต่อปี และบริษัท ไทยฟิล์ม อินดัสตรี ที่มีกำลังการผลิต 3.5 พันตันต่อปี และบริษัทมีแผนขยายกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้นเป็น 48,000 ตันต่อปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
นอกจากนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า ของบริษัท โดยจะเปิดดำเนินการผลิต ให้ได้ 52,500 ตันต่อปี ภายในเดือนธันวาคมนี้
บริษัท โพลีเพล็กซ์ ประเทศไทย เป็นบริษัทในเครือบริษัท โพลีเพล็กซ์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่ชำนาญการผลิตและจำหน่ายแผ่นฟิล์ม PET โดยขณะนี้กลุ่มโพลีเพล็กซ์ถือเป็นผู้นำการผลิตอันดับ 5 ของโลก ที่มีกำลังการผลิต 5.9 หมื่นตันในปี 2547 และหากการขยายกำลังการผลิต ซึ่งได้รับอนุญาตจาก BOI จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มเป็น 8.3 หมื่นตันต่อปีในปี 2548 ซึ่งถือเป็นอันดับ 4 ของโลก
นายซาราฟ กล่าวว่า บริษัทยังมีแผนเข้าลงทุนในประเทศตุรกี ซึ่งประกอบธุรกิจแผ่นฟิล์ม PET เช่นเดียวกัน โดยใช้เงินลงทุน 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกู้ยืมมาจากธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารทหารไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานซึ่งมีกำลังการผลิต 2.4 หมื่นตันต่อปี โดยคาดว่าประมาณเดือนตุลาคมปี 2548 จะแล้วเสร็จ และจะรับรู้รายได้ทันทีช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 ทำให้การรับรู้รายได้ของบริษัท มากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น สำหรับงบการเงินสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งจะทำให้นักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นที่กระจายให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ครั้งนี้ โดยสัดส่วนการจ่ายเงินปันผลจะอยู่ที่ 40% ของกำไรสุทธิ ซึ่งคาดว่าจะสามารถจ่ายให้กับนักลงทุนได้ในช่วงเดือนเมษายน 2548
นายสันทัด สงวนดีกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในตุรกี เป็นแผนช่องทางในการขนส่งสินค้า (ลอจิสติกส์) ของ PTL ที่จะเข้าไปเจาะตลาดยุโรป รัสเซีย และประเทศเกิดใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขาย
ส่วนแผนกระจายหุ้นให้กับประชาชนครั้งแรก บริษัทเตรียมที่จะจัดสรรหุ้นให้กับนักลงทุนสถาบันเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบจากแรงเทขายทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้หุ้นน้องใหม่ราคาต่ำกว่าจอง
|
|
|
|
|