Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
ชุมพล ณ ลำเลียง อิทธิพลความคิด             
 

   
related stories

50 ผู้จัดการ (2543)

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ชุมพล ณ ลำเลียง
Cement




อิทธิพลความคิดเขาเป็นคนหนึ่งในฐานะมืออาชีพจำนวนไม่กี่คน ที่เติบโตเข้าสู่สังคมวงในสังคมไทย ทั้งๆ ที่เขามาจากครอบครัวธรรมดา ท่ามกลางผู้คนที่ทรงอิทธิพลในสังคมยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งมาถึงรุ่นที่สอง ยิ่งไปกว่านั้น เขากลายเป็นนักบริหารมืออาชีพคนแรก สำหรับองค์กรรากฐานสังคมที่ไม่ค่อยได้เปิดให้สามัญชนทั่วไปขึ้นมาเป็นผู้นำมาก่อน

บริษัทปูนซิเมนต์ไทยก่อตั้งมา 90 ปี แต่อยู่ภายใต้การบริหารของฝรั่งมา 60 ปี คนไทยเพิ่งบริหารเมื่อ 30 ปีมานี้เอง โดยเขาเป็นคนไทยคนที่ 5 หลังจากที่สองคนแรกเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และเป็นนักการเมืองระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอีก 2 คนต่อมา ก็คือ คนในวงศ์ตระกูลชั้นนำของสังคมไทย

ชุมพล ณ ลำเลียง ไม่เพียงเป็นสามัญชนธรรมดาคนหนึ่งที่ไต่เต้าในองค์กรใหญ่ และรากฐานมากในสังคมธุรกิจไทยเท่านั้น หากยังมีบทบาทอย่างสำคัญต่อเนื่องในยุค 30 ปี ของเครือซิเมนต์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีมานี้ ในยามวิกฤติการณ์อย่างสำคัญด้วย ทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนยุทธศาสตร์สำคัญของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

คำว่า "บรรษัทภิบาล" (Corporate Good Governance) กำลังเป็นสโลแกนสำคัญในช่วงนี้ของเครือซิเมนต์ไทย โดยทำโฆษณาทางโทรทัศน์ตลอดเดือนที่ผ่านมานี้ มีความหมายเชื่อมโยงมาถึงบุคลิกของชุมพล ณ ลำเลียง ด้วยอย่างมิพักสงสัย

ปูนซิเมนต์ไทยปรับมาตรฐานทางบัญชีครั้งสำคัญ เมื่อกู้เงินจากหน่วยงานของธนาคารโลกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในยุคของผู้จัดการใหญ่ชาวเดนมาร์กคนสุดท้าย ซึ่งมีความรู้ทางบัญชีที่ดี จากนั้นก็คือจุดเริ่มต้นของการขยายตัวต่อเนื่องอย่างสำคัญของเครือซิเมนต์ไทยที่เติบโต 10 เท่า และขยายแขนงธุรกิจอย่างมากมาย โดยเฉพาะทศวรรษที่ 2530

เครือซิเมนต์ไทยมีมาตรฐานการบริหาร มีระบบข้อมูลที่เปิดเผยต่อนักลงทุนและสาธารณชนที่ดีและต่อเนื่อง จากนั้นในฐานะองค์กรธุรกิจที่มีมืออาชีพบริหารตั้งแต่แรกตั้ง มิใช่ธุรกิจครอบครัวไทย ที่ถูกตั้งคำถามเสมอในเรื่องความตรงไปตรงมาของการบริหาร และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาดเลย เมื่อนักลงทุนต่างประเทศนิยมเข้าร่วมทุนกับเครือซิเมนต์ไทย นอกจากจะเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อผู้คนในสังคมนี้แล้ว การบริหารโดยมืออาชีพ ก็มีค่าเป็นจริงที่สัมผัสได้

ชุมพล ณ ลำเลียง ไม่เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญทางการเงินและบัญชีเท่านั้น ยังนับว่าเขาเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาธุรกิจยุคใหม่ของเครือซิเมนต์ไทยในช่วงเกือบ 30 ปีมานี้ ในฐานะนักวางแผนวางกลยุทธ์อย่างสำคัญในระดับธุรกิจย่อยๆ ต่อเนื่องมาเป็นภาพรวม เมื่อเขาก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ในปี 2536 ก็นับว่าเป็นผู้บริหารที่เข้ามาในช่วงองค์กรกำลังดำเนินไปในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยและภูมิภาค

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับยุทธศาสตร์องค์กรสำคัญเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่กระทบมาสู่เครือซิเมนต์ไทยอย่างหนักทีเดียว

- การปรับตัวเข้าสู่ระดับพัฒนาคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณที่มุ่งขยายกิจการ โดยเฉพาะความชำนาญของบุคคลของเครือซิเมนต์ไทย ที่ไม่สามารถแสวงหาจากภายนอก นอกจากการพัฒนาภายในอย่างยาวนาน

- ปรับตัวทางยุทธศาสตร์ว่าด้วยการใช้เงิน จากการใช้เงินกู้เป็นหลักในการขยายกิจการหรือลงทุนต่างๆ ไปสู่ความพยายามเข้าสู่ตลาดเงินโลก ด้วยการระดมทุนโดยตรงจากนักลงทุนต่างๆ แม้ว่าแนวคิดจะยังไม่บรรลุ โดยเฉพาะการเพิ่มทุนครั้งแรกในรอบ 25 ปีก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของเครือซิเมนต์ไทย

ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในแนวคิดว่าด้วยความพยายามรักษาสัดส่วนการลงทุนในเครือซิเมนต์ไทยไว้ในอดีต อิทธิพลทางความคิดของ ชุมพล ณ ลำเลียง ส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปรับตัวเข้าสู่ยุคของการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนมากกว่าการรักษาสัดส่วนการถือหุ้น หรืออำนาจในการบริหาร ทั้งนี้สำนักงานฯ ได้เรียนรู้โลกการเงินอันกว้างขวางและประจักษ์ว่า พลังการลงทุนของสถาบันหลักของประเทศไทยเล็กเกินไป

อีกมิติหนึ่งของ "บรรษัทภิบาล" ก็คือ ภาพสะท้อนของมืออาชีพที่มีความสามารถในการจัดการ

ชุมพล ณ ลำเลียง มาจากครอบครัวค้าขาย นำสินค้าจากต่างประเทศมาขายในเมืองไทย เขาจึงมีโอกาสเรียนหนังสือในต่างประเทศตั้งแต่เล็ก โดยผ่านการศึกษาอย่างดีจากสหรัฐฯ ในยุคที่วิชาการบริหารธุรกิจกำลังเริ่มต้นขับเคลื่อนสังคมอเมริกันให้เข้มแข็งขึ้น ก่อนจะเข้าสู่การสร้างอิทธิพลต่อโลกในระยะต่อมา

เขาเป็นตัวแทนบุคคลในเครือซิเมนต์ไทย ที่พัฒนาความสามารถอย่างแท้จริงในการบริหาร จนสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสังคมวงในมาก่อน แนวทางนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในเครือซิเมนต์ไทย ที่กำลังสร้างนักบริหารที่มีจุดเริ่มต้นจากสามัญชน เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมโดยรวมในระยะต่อไป

บรรษัทภิบาล ที่แท้ก็คือ คุณภาพของบุคคล ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยเป็นตัวอย่างดีที่สุดในการสร้าง และพัฒนาบรรษัทภิบาล โดยมี ชุมพล ณ ลำเลียง เป็นผลิตผลที่จับต้องได้มากที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us