Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 พฤศจิกายน 2547
บอร์ดทศทประเคน 5.6 แสนให้ซีเมนส์ อิตัลไทยจัสมินเตรียมฟ้องศาลปกครอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ซีเมนส์ (ประเทศไทย), บจก.
อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
Telephone




แฉพฤติกรรมสุดฉาวบอร์ดทศท ล็อกให้ซีเมนส์เพียงรายเดียว โครงการโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมาย เปิดราคา 7,500 ล้านบาท ไร้คู่แข่ง ทั้งๆที่กลุ่มอิตัลไทย จัสมิน เสนอเพียง 6,600 ล้านบาท แต่หมดสิทธิเปิดซองราคา เพราะถูกทำให้ตกจากการทดสอบด้านเทคนิคด้วยฝีมือเจ้าหน้าที่ทศทที่เดินทางไปไต้หวันดูโรงงาน OPNET ที่ซีเมนส์ใช้ในการประมูล ด้านอิตัลไทยเตรียมฟ้องศาลปกครองพร้อมเปิดเอกสารซีเมนส์เซ็นยอมรับข้อผิดพลาดด้าน เทคนิค ถามหาส่วนต่างเงิน 1 พันล้านเข้ากระเป๋าใคร ด้านหมอเลี้ยบย้ำหากไม่โปร่งใสโดนศาลปกครองเล่นงานแน่ ส่วนราคาหากไม่ได้เท่ากับที่มีอยู่ในตลาด ต้องล้มแล้วเปิดประมูลใหม่

พล.ต.ท.บุญฤทธิ์ รัตนะพร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการทศท คอร์ปอเรชั่น (บอร์ดทศท) เปิดเผยหลังการประชุมวานนี้ (10 พ.ย.) ว่า หลังจากมีการนำข้อมูลจากคณะกรรมการชุดต่างๆ มาพิจารณาแล้ว ที่ประชุมเห็นว่ามีกลุ่มกิจการร่วมค้าที่ผ่านเงื่อนไขทางเทคนิคพาณิชย์ และทดสอบมีเพียงรายเดียวคือกลุ่มบริษัทซีเมนส์ ที่จับมือกับไทยมาร์ก เทคโนโลยี เนื่องจากรายอื่นไม่ผ่านตามเงื่อนไขทีโออาร์ และมีมติให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ เหลือเพียงการต่อรองราคาที่กลุ่มซีเมนส์เสนอมาที่ 7,509.42 ล้านบาท เท่านั้น

แต่การชี้แจงต่อสื่อมวลชนของบอร์ดทศทไม่ได้ให้รายละเอียดชัดเจนว่า รายไหนไม่ผ่านเทคนิคอย่างไร หรือไม่ผ่านพาณิชย์ ที่ระบุว่าเคยดำเนินโครงการอื่นมาก่อนเป็น มูลค่าไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

"คณะกรรมการทุกชุดได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว แม้ผ่านรายเดียวก็ดำเนินการได้ เพราะช่วงแรกที่มีการยื่นซองมา 10 ราย ทศทก็มีการจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี และแม้จะผ่านเพียงรายเดียว ถ้าราคายังสูงทศทมีอำนาจต่อรองราคาได้ จากนั้นค่อยนำเข้าบอร์ดอีกครั้ง ถ้าผ่านก็คืออนุมัติ ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะมีคำครหา เพราะเราทำตามเงื่อนไขทุกอย่าง ถ้าไม่ตรงกับทีโออาร์กำหนดก็คือไม่ผ่าน"

บอร์ดทศทยืนยันว่า เรื่องของเทคโนโลยีทศทก็ได้นำแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไปพิจารณาในการตัดสินเรื่องราคาด้วย

ด้านน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอซีที กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ผู้ที่ผ่านและไม่ผ่านตามเงื่อนไขก็ต้องตรวจสอบกันว่าผ่านจริง หรือไม่ผ่านจริง ถ้าผ่านจริงก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากราคาที่กลุ่มที่ผ่านเสนอมาหลังมีการต่อรองราคาแล้วยังสูงกว่าที่มีอยู่ในตลาดต้องเปิดประมูลใหม่ เพราะราคาในตลาดก็มีผู้ดำเนินการอยู่แล้ว 2 ราย

"เรื่องนี้สามารถตรวจสอบย้อน หลังได้ว่าผ่านจริงหรือไม่ หรือถ้ามีรายอื่นผ่านแต่ไปแกล้งให้เขาตกก็ซวยไป ต้องโดนศาลปกครองแน่"

สำหรับโครงการโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมาย คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2546 ด้วยงบประมาณ 8,045 ล้านบาท โดยมีจุดประสงค์เพื่อขยายให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนทั้งในเขตนคร หลวงและภูมิภาค โดยให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือนโครงการนี้มีเอกชน ร่วมยื่นข้อเสนอรวม 10 รายประกอบ ด้วย 1.บริษัท ทราฟฟิก คอนเนอร์ โฮลดิ้ง ร่วมกับบริษัท ซิสเตมส์ แอดไวเซอร์ กรุ๊ป และอิมพีเรียล เจเนอรัล เอ็นเตอร์ไพรส์ 2.บริษัท เทลินตัส 3.กลุ่มคอนซอร์เตี้ยมยูทีสตาร์คอมกับยูเทล 4.บริษัท อัลคาเทล 5.กลุ่มคอนซอร์เตี้ยมRWA 6.กลุ่มคอนซอร์เตี้ยมอิตัล ไทย จัสมิน เทเลคอมซิสเตมส์ และบริษัท ฟรีอินเทอร์เน็ต 7.กลุ่มคอนซอร์เตี้ยม เอ.เอส.แอสโซซิเอต เอ็นจิเนียริ่ง บริษัท อีริคสันและบริษัท เทคโนโลยี อินโนเวชั่น 8.บริษัท เจวี ทีเอฟวี ร่วมกับกลุ่มคอนซอร์เตี้ยมสากล 9.บริษัท ซีเมนส์ กับบริษัท ไทยมาร์ก เทคโนโลยีและ 10.บริษัท มารูเบนี (ประเทศ ไทย)

ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่มอิตัลไทยกล่าวว่ากลุ่มอิตัลไทยเสนอราคา ประมาณ 6,600 ล้านบาทหรือ ต่ำกว่าซีเมนส์ถึง 1 พันล้านบาท และกลุ่มอิตัลไทยเชื่อว่าผ่านการทดสอบด้านเทคนิค หากเจ้าหน้าที่ทศทไม่กลั่นแกล้ง ซึ่งในเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้โดยให้หน่วยงานกลางที่มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ มาเป็นผู้ทดสอบ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของ ทศทที่เดินทางไปไต้หวันชมโรงงาน OPNET

"กลุ่มเราเตรียมแฉเอกสาร ที่ถูกกลั่นแกล้ง รวมทั้งข้อมูลที่บริษัทซีเมนส์เองเซ็นยอมรับว่าไม่ผ่านการทดสอบด้านเทคนิค"

แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มอิตัลไทยยังไม่ยอมรับซองราคาและเอกสารคืนจากทศท พร้อมกันนี้ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสมพล สันติบุตร ผู้จัดการส่วนจัดหากลางที่ 1 เพื่อขอคัดค้านการพิจารณาการประกวดราคาครั้งนี้ โดยขอสงวนสิทธิ์ในการร้องขอความเป็นธรรมต่อไป

"เป็นไปได้อย่างไร ประมูล 7 พันกว่าล้านบาท แต่ไม่มีการเปิดซองเปรียบเทียบราคากัน ผมถามว่าแค่เฉพาะกลุ่มอิตัลไทยราคายังต่ำกว่าซีเมนส์เกือบ 1 พันล้านบาท แล้วเงิน 1 พันล้านบาทหายไปเข้ากระเป๋าใครกัน"

สำหรับโครงการนี้งบในส่วนการก่อสร้างจริงๆเพียง 7,200 ล้านบาท โดยในการยื่นซองประกวดราคา ต้องใช้แบงการันตี 5% หรือ 360 ล้านบาท ส่วนอีก 800 กว่าล้านบาทเป็นเงินที่ใช้ในการบริหารโครงการของทศท การที่ซีเมนส์เสนอราคา 7,500 ล้านบาทเท่ากับสูงเกินงบ 300 ล้านบาทด้วยซ้ำ

สรรหาซีอีโอขอรายละเอียดเพิ่ม

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดทศท กล่าวถึงการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือซีอีโอว่า ทางคณะกรรมการสรรหาได้ส่งรายชื่อมาทั้งหมด 6 คน จากที่สมัครทั้งหมด 10 คน แต่บอร์ดยังไม่มีการพิจารณาคัดเลือก เพราะขาดรายละเอียดเรื่องประวัติ การศึกษา วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ การทำงาน ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ต้องมาประกอบกับการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการสรรหายังได้แนะนำให้กับบอร์ด ทศทด้วยว่า ควรเป็นใคร แต่มีการแนะนำมากกว่า 1 คน

"การตัดสินใจคัดเลือกซีอีโอ มี 2 แนวทาง คือต้องเป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมา อีกทางคือไม่พิจารณาตาม โดยเริ่มกระบวนการใหม่ หากบอร์ดไม่พอใจ"

สำหรับการสรรหาซีอีโอนี้ บอร์ดทศทยืนยันว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในการประชุมครั้งต่อไปคือวันที่ 30 พ.ย.นี้ ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างของซีอีโอต้องเป็นไปตามกรอบและยุทธศาสตร์ของทศทที่วางไว้ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่า ภายใน 6 เดือนหากซีอีโอไม่สามารถ ดำนินงานให้เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ได้ก็ต้องสรรหาใหม่

น.พ.สุรพงษ์กล่าวในเรื่องนี้ว่า ยังแปลกใจกับการทำงานของคณะกรรมการสรรหา อย่างการเสนอ ชื่อผู้สมัครครั้งแรกมีเพียงคนเดียว แต่ครั้งนี้มี 6 คนแต่ไม่ส่งรายละเอียดให้ประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม เรื่องของการสรรหา ซีอีโอสิ้นเดือนนี้ต้องเสร็จ

"ผมก็แปลกใจกับการทำงานของคณะกรรมการสรรหาเหมือนกันทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่มีรายละเอียดว่าใครมีจุดแข็งจุดด้อยตรงไหน หรือประวัติการทำงานเป็นอย่างไร แต่เรื่องนี้แม้เขาจะทำงานกันอย่างนี้แต่ก็ไม่มีใครสามารถปลด คณะกรรมการชุดนี้ได้ ต้องรอให้ได้ ตัวซีอีโอก่อน คณะกรรมการสรรหา นี้จึงจะสลายไป"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us