|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศาลล้มละลายกลาง เห็นชอบการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ ยกเว้นเรื่องการเปลี่ยนคณะกรรมการบริษัท และการปลดภาระค้ำประกัน "ประชัย" พอใจคำตัดสินศาล จี้คลังจัดสรรขายหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน ยืนยันพร้อมซื้อหุ้นทั้งหมด ด้านคลังเร่งสรุปเรื่องพันธมิตรร่วมทุนภายใน พ.ย.นี้ ดึงผู้ร่วมทุนใหม่เป็นบอร์ดเพิ่มครบ 25 คน ก่อนเดินหน้า หาผู้บริหารแผนใหม่ หวังให้ ปตท.หาคนมีความสามารถในธุรกิจปิโตรเคมี "ขุนคลัง" ยันถึงไม่เปลี่ยนบอร์ดก็ไม่กระทบงานบริหาร เชื่อบอร์ดมีคุณวุฒิ ติงประชัยเลิกคิดเรื่องบริหาร
วานนี้ (10 พ.ย.) ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) ตามที่ตัวแทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯเสนอ เว้นแต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท และการปลดภาระค้ำประกันผู้บริหารลูกหนี้
การตัดสินชี้ขาดของศาลล้มละลายกลางครั้งนี้ได้มีพนักงานทีพีไอ จากจังหวัดระยองร่วมเดินทางมาให้กำลังใจคณะผู้บริหารแผนฯประมาณ 274 คน โดยไม่มีกลุ่มผู้สนับสนุนนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เดินทางมาคัดค้านที่หน้าศาลล้มละลายกลางเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาดูแลความสงบเรียบร้อยมีจำนวนมากถึง 400 คน
นายกมล ธีระเวชพลกุล รองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลล้มละลายกลาง กล่าวว่า ศาลได้พิจารณาข้อเสนอ การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฯมีข้อความที่ครบถ้วน ซึ่งกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอ น่าจะแก้ไขปัญหาของทีพีไอให้สำเร็จลุล่วงได้ เพราะมีการเสนอปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุน สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้มีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้ และสามารถฟื้นฟูกิจการได้จริง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังเป็นคนกลาง ได้ดำเนินการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ จนเป็นที่ยอมรับของเจ้าหนี้และพนักงาน แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริหารลูกหนี้ เพราะสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สิน
ส่วนประเด็นข้อโต้แย้งของผู้บริหารลูกหนี้นั้น ทางศาลได้พิจารณาเห็นสอดคล้องกับผู้บริหารลูกหนี้ใน 2 ประเด็น คือ เรื่องการขอปลดคณะกรรมการของลูกหนี้ และภาระค้ำประกันของลูกหนี้ โดยศาลฯ ได้ตัดสินใจยืนตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ลูกหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบริหารจัดการทรัพย์สินชั่วคราว โดยไม่สามารถปลดออกจากตำแหน่งกรรมการได้
อนึ่ง การแก้ไขแผนฟื้นฟูฯนี้จะทำให้เจ้าหนี้ได้หนี้คืน 72% ของมูลหนี้ทั้งหมด แต่หากเทียบกับวิธีการปล่อยให้ทีพีไอล้มละลาย แล้วนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้เพียง 44% ของมูลหนี้ทั้งหมด ดังนั้น ศาลล้มละลายจึงเห็นชอบการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ จี้คลังขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมก่อน
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอ ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ กล่าวว่า รู้สึกพอใจกับการตัดสินของศาลฯพอสมควร หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของกระทรวงการคลัง โดยศาลไว้วางใจว่ากระทรวงฯจะให้ความเป็นธรรมได้ โดยตนสงสัย ว่ากระทรวงฯจะรักษาความเป็นธรรมหรือไม่ เพราะตามข้อกฎหมายระบุว่า เมื่อออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว ทรัพย์สินต่างๆ จะต้องส่งคืนลูกหนี้
หากกระทรวงฯจะให้ความเป็นธรรมจริง ควรให้สิทธิลูกหนี้หรือผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนพันธมิตรรายอื่น เว้นแต่ว่าลูกหนี้หรือผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีความสามารถในการซื้อหุ้น ซึ่งตนในฐานะผู้บริหาร ลูกหนี้มีความพร้อมที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงฯไม่ดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม ตนก็จะดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาต่อไป "ช่วงเวลา 1 ปีนี้คงต้องทนดูเขาปล้นเราต่อไป" นายประชัย กล่าว
ก.คลังลั่นโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เสร็จทันพ.ย.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่ศาลล้มละลาย กลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ ของทีพีไอแล้ว คณะกรรมการจัดสรรหุ้นทีพีไอให้แก่ผู้ร่วมทุนรายใหม่ ที่มีนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล เป็นประธาน จะเดินหน้า ในการหาพันธมิตรร่วมทุน และพิจารณาโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ซึ่งจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 นี้ อย่างแน่นอน โดยต่อไปจะเดินหน้าหาทีมผู้บริหารเข้ามาทำหน้าที่บริหารบริษัทให้ดีขึ้นต่อไป
โดยความคืบหน้าในส่วนของพันธมิตรรายใหม่ ที่เคยเจรจากันก่อนหน้านี้ อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จะมีการจัดสรรหุ้นให้ในสัดส่วนเท่าใดนั้น จะต้องรอให้นายศุภรัตน์ เป็นผู้ให้คำตอบในรายละเอียด หลังจากได้ข้อสรุปดังกล่าวแล้ว
สำหรับกรณีที่ศาลฯ ยกเว้นเรื่องการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีพีไอนั้น นายสมคิด กล่าวว่า จะไม่มีผลต่อการบริหารงาน เพราะบอร์ดจะทำหน้าที่ในการสรรหาทีมผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารชุดใหม่จะมีหน้าที่ในการบริหารให้บริษัทให้มีความก้าวหน้า นอกจากหนี้ ศาลฯ เพียงแต่ยังไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงบอร์ดทั้ง 15 คนเดิมในขณะนี้ แต่สามารถเพิ่มจำนวนบอร์ดเข้าไปได้อีก 10 คน ซึ่งในส่วนของบอร์ดทั้ง 10 คนใหม่ที่จะส่งเข้าไปเพิ่มนั้น จะมาจากตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายใหม่ด้วยอย่างแน่นอน และกระทรวงการคลังต้องการให้ตัวแทนจาก ปตท. สรรหาทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจ ปิโตรเคมีเข้ามาร่วมบริหารงานด้วย
ส่วนจะให้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นประธานคณะกรรมบริหารหรือไม่ เป็นเรื่องที่ถือว่าเร็วเกินไปที่จะตอบในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ทีมผู้บริหารเดิมควรเลิกคิดที่จะกลับมาบริหารกิจการของทีพีไอได้แล้ว แต่ควรหันกลับมาช่วยกันดูแลและบริหารกิจการของบริษัทให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวที่ว่า การเพิ่มบอร์ดเป็น 25 คน แต่ไม่มีการเปลี่ยนตัวบอร์ดเดิมที่มีอยู่ จะส่งผลให้การโหวตเลือกตัวผู้บริหารทีพีไอ มีปัญหาเรื่องจำนวนเสียงหรือไม่ เนื่องจากเท่ากับว่า มีบอร์ด ฝ่ายเดิม 15 คน และฝ่ายของบอร์ดใหม่เพียง 10 คนเท่านั้น นายสมคิด กล่าวว่า "โดยส่วนตัวไม่มองว่าเป็นปัญหา และหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลล้มละลายกลาง มีความเห็นชอบไปในทางเดียวกันกับแผนฟื้นฟูฯฉบับผู้บริหารแผน แสดงให้เห็นว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาของกระทรวงการคลัง มีความเป็นธรรม
ทำไมต้องคิดว่าบอร์ด 15 คน จะไม่เห็นด้วย ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ อย่าไปคิดแทนเขา ตอนนี้ศาลเพียงแต่เห็นว่ายังไม่ควรเปลี่ยนตัวบอร์ดในขณะนี้ ซึ่งผมไม่เคยคิดว่าจะเป็นอุปสรรค และมาถึงขั้นนี้ผมยังไม่เห็นอุปสรรค สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (KfW) เจ้าหนี้รายใหญ่ของทีพีไอ ยังบอกว่าจะลืมความหลังที่ผ่านมา แต่จะมองไปที่อนาคต ขณะที่กระแสสังคมทั้งในและต่างประเทศก็เห็นด้วยกับแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้อง ดำเนินการต่อไป คือ กระทรวงการคลังจะพยายามหาผู้บริหารที่มีความสามารถเข้ามาบริหารงานต่อไป"
ด้านนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในขั้นตอนต่อไปกระทรวงการคลังจะเร่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น มา 1 ชุด เพื่อพิจารณาสรรหาผู้ร่วมทุน การจัดสรรหุ้น และการทำ โครงสร้างผู้บริหารหุ้นให้แล้วเสร็จ ซึ่ง คณะทำงานดังกล่าวจะต้องทำความเข้าใจแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเดินหน้าตามแผนต่อไป โดยเชื่อว่าจะสามารถดำเนิน งานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ศาลมีคำสั่ง ตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังได้เคยให้นโยบายไว้อย่างแน่นอน
หวั่นพันธมิตรร่วมทุนเมิน
นายอภิชาติ พันธุ์เกษร ที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการเจ้าหนี้ทีพีไอ กล่าวว่า การพิจารณาของศาลในครั้งนี้ ระบุชัดว่าไม่สามารถปลด บอร์ดทีพีไอเดิมทั้งหมดได้ ทำให้คณะกรรมการเจ้าหนี้และตัวแทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯต้องหารือกันปรับโครงสร้างกันใหม่ ซึ่งถือเป็น ประเด็นสำคัญในการสรรหาพันธมิตรร่วมทุน เพราะจะมีพันธมิตรรายใดใส่เงินเข้ามาก่อนแต่บริหารงานไม่ได้หรือไม่
"เมื่อศาลฯมีคำสั่งเช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาในการ สรรหาพันธมิตรใหม่ที่ต้องการเข้ามาบริหารทีพีไอ ซึ่งอาจดำเนินการแก้ไขโดยการตั้งบอร์ดใหม่เพิ่มเติมในจำนวนที่มากกว่าบอร์ดทีพีไอเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงาน โดยประเด็นการขายหุ้นให้พันธมิตรนั้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่การสรรหาผู้ร่วมทุน (TOR) ส่วนประชัยจะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ของกระทรวงฯว่าจะยอมหรือเปล่า"
ส่วนประเด็นการปลดภาระค้ำประกันนั้น ผู้บริหารแผนฯได้กำหนดเงื่อนไขการปลดภาระค้ำประกันไว้มาก ซึ่งศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ควรอยู่ในการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ แต่การปลดภาระค้ำประกันนั้นเป็นสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบเจ้าหนี้
"เดิมคิดว่าจะปลดผู้บอร์ดทีพีไอได้ เพราะก่อนหน้านี้ได้เราได้ศึกษาเคสของพญาไท 3 ซึ่งเราก็มองและศึกษาตัวอย่างคดีนี้ซึ่งผู้บริหารแผนฯได้ปลด บอร์ดเดิมของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่สามารถปลดบอร์ดทีพีไอเดิมได้ แต่การดำเนินการเรื่องเพิ่มทุน/ลดทุนทำได้เลย หากไม่สามารถหาพันธมิตรร่วมทุนได้ทันปี48 ก็จะยื่นแก้ไขแผนฯออก ไปอีกปีหนึ่ง ถ้าลากยาวต่อไป เมื่อครบกำหนดแล้วหาผู้ร่วมทุนไม่ได้ ก็ต้องออกจากการฟื้นฟูโดยแผนฯ ไม่สำเร็จ ซึ่งคลังในฐานะผู้บริหารแผนก็เสียชื่อ"
รายละเอียดการปรับโครงสร้างทุน ทีพีไอจะลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 78,489 ล้านบาท ด้วยการลดพาร์จากเดิมหุ้นละ 10 บาทเหลือ 1 บาท เหลือทุนจดทะเบียน 7,848 ล้านบาท หลังจากนั้นจะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 11,651 ล้านบาท รวมกับหุ้นที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงดอกเบี้ยค้างจ่ายเป็นทุนจำนวน 6 พันล้านหุ้น มาจัดสรรขายให้กับพันธมิตรใหม่ ซึ่งจะเป็นนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังโดยคาดว่าจะได้เงินมาชำระหนี้ 650 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการลดทุนครั้งนี้จะนำไปล้างขาดทุนสะสม ทำให้บริษัทฯสามารถจ่ายเงินปันผลได้ภายใน2-3ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ ทีพีไอจะดำเนินการขายหุ้นทีพีไอโพลีนที่ถืออยู่ 249 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ มาชำระหนี้ด้วย ทำให้บริษัทคงเหลือหนี้เงินต้นเพียง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งบริษัทฯ จะนำเงินจากการดำเนินงานมาชำระหนี้ภายในระยะเวลา 12 ปี
|
|
 |
|
|