Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2534
หากินกับราชการต้องรอบคอบ             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT
Telephone




ประเด็นเรื่องเงินประกันหนี้สิน 9,000 ล้านบาท เป็นเรื่องที่สามารถอธิบายได้ในหลายแง่มุม และหาจะจับโยงใยเข้าสู่ปัญหาทางหลักการก็ยังสามารถทำได้ด้วย

มิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมทราบว่าทางคณะกรรมการ ทศท.ลงมติแล้วว่า เงินนี้เป็นของ ทศท. เงินจำนวนนี้เรียกว่า เงินประกันหนี้สิน ถ้ามองในระยะยาวซีพีควรให้เงินก้อนนี้กับ ทศท."

เงิน 9,000 ล้านบาท คือ เงินที่ผู้ขอติดตั้งโทรศัพท์ต้องจ่ายเป็นเงินประกันไว้กับองค์การฯ ปรากฏว่า เมื่อทำตัวเลข cash flow projection นั้น กลุ่มซีพีนำตัวเลข 9,000 ล้านบาทรวมไว้ในรายการ Inflow อันหนึ่ง ประภัศร์กล่าวว่า "ตัวเลขนี้เป็นหัวข้อใหญ่เหมือนกัน แต่ไม่ใช่รายรับ อันที่จริงผมคิดว่า มันไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของใคร เพียงแต่เอามาใช้ หากซีพีไม่ได้ตัวนี้ก็ต้องลง equity มากขึ้น เพราะว่ามันเป็นส่วนที่ไม่มีดอกเบี้ย มันก็ต้องลงทุนมากขึ้นเท่านั้นเอง"

มิตรไม่ได้อธิบายว่า หาก ทศท.ได้เงินจำนวนนี้มาแล้วจะนำไปใช้อะไรหรือไม่ เพียงแต่กล่าวว่า "พนักงานทั้งหมด 18,000 คนเห็นพ้องต้องกันว่า เงินก้อนนี้ควรจะอยู่กับ ทศท. รัฐบาลไม่ให้ ทศท.กู้และไม่ให้เงินช่วยเหลือใดๆ ถึงแม้ซีพีจะยังไม่มีท่าทีในเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่าเราต้องทำงานร่วมกัน 25 ปี ไม่น่าให้มีเรื่องนี้มาทำให้การทำงานร่วมกันมีอุปสรรค"

มิตรให้ความเห็นด้วยว่า "ผมคิดว่าเรื่องนี้คงเป็นความเห็นมาจากทางแบงก์มากกว่า พวกเขาคงเห็นว่า ซีพีไม่มีหลักประกันใดๆ กับแบงก์ และคาดว่า แบงก์คงจะเข้ามาถือหุ้นบริษัทในภายหลังด้วย"

เรื่องเงินจำนวนนี้ณรงค์ยืนยันว่า "มันไม่ได้มีการพูดกันไว้เมื่อเริ่มต้น แต่ซีพีรวมตัวเลขนี้ไว้ใน cash flow ผมคิดว่าเมื่อทางการอ่านรายละเอียดโครงการที่ซีพีเสนอ ก็คงทราบว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ซีพีได้คิดเอาไว้แต่เริ่ม และเงินประกันนี้เป็นเงินที่จะเอามาใช้ในโครงการ แต่ในแง่ของทางราชการ ไม่มีโครงการอะไรทั้งสิ้น หากได้ ผมเข้าใจว่าก็เป็นเงินได้เข้าไปเฉยๆ"

ณรงค์สะท้อนปัญหาหลักการให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "ผมคิดว่าในเมื่อทางราชการไม่ได้ลงทุน เงินประกันก้อนนี้หรือผลประโยชน์อันนี้ ราชการควรจะได้หรือ เทียบกับผู้ซึ่งจะต้องเอาเงินนี้ไปลงทุน เงินนี้จะถูกใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการช่วยลดต้นทุนของเอกชน"

"ผมคิดว่า ที่ถูกที่ควรมันก็ควรจะไปอยู่กับผู้ใช้เงินเพื่อกิจการนี้" ณรงค์สรุปในที่สุด

ประเด็นเงิน 9,000 ล้านบาทถูกส่งไปตีความที่กรมอัยการ ซึ่งณรงค์กล่าวว่า "อะไรก็ตามที่มันไม่ชัดเจนนี่ ราชการมักจะเป็นฝ่ายตีความ และเมื่อตีความแล้วมักจะเป็นฝ่ายขนทรายเข้าวัดเสมอ เงินอะไรก็ตามที่เกิดจากอันนี้ ในระหว่างที่มันไม่เกิดประโยชน์ จนกระทั่งมันเกิดเป็นกำไรแล้วนี่ สิ่งนั้นผู้ที่ดำเนินการควรเป็นผู้เอาเงินนี้ไปดำเนินการ ไม่ได้มีการเอาเข้ากระเป๋า แต่ทางราชการเอามานี่เข้ากระเป๋าเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร"

ณรงค์ไม่เพียงแต่แสดงความเห็นเรื่องเงินประกันหนี้สิน 9,000 ล้านบาทเท่านั้น เขาโยงใยประเด็นนี้เป็นตัวสะท้อนเรื่องที่ภาคราชการขาด project manager ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคเอกชนที่เสนอตัวรวมลงทุนในโครงการต่างๆ ของราชการ ต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการหลายแห่งจนวุ่นวายไปหมด

หน่วยราชการที่โครงการต่างๆ ต้องเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากแห่งหนึ่งคือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ซึ่งเป็นหน่วยงานทีมีสิทธิให้การยกเว้นภาษีได้ในบางรายการ

ภาษีสารพัดที่โครงการโทรศัพท์ฯ และโครงการสาธารณูปโภคในลักษณ์เดียวกันต้องเจอได้แก่ ภาษีเงินกู้จากต่างประเทศ ภาษีขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีรายได้

ประภัศร์เปิดเผยว่า "เรื่องการยกเว้นภาษีมีหลายรายการ ผมไม่คิดว่าจะไม่ได้หมด แต่รายการที่คิดว่าสำคัญสำหรับโครงการโทรศัพท์ฯ คือภาษีขาเข้า และภาษีการค้า"

ทั้งนี้ภาษีขาเข้ามีความหมายต่อซีพี เพราะส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้ว่าครึ่งหนึ่งให้ใช้อุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศก็ตาม ส่วนภาษีการค้านั้นก็มีความหมาย เพราะซีพีต้องการรับภาระขาดทุนอยู่ 5 ปีในช่วงดำเนินการติดตั้ง กว่าจะได้กำไรก็ย่างเข้าปีที่ 6

ความคืบหน้าเรื่องภาษียังอยู่ระหว่างการเจรจาของซีพีกับบีโอไอ ทั้งนี้ซีพีไม่ได้เสนอเงื่อนไขขอรับการยกเว้นภาษีและสิทธิพิเศษต่างๆ จากบีโอไอแต่ต้น ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องเกินขอบข่ายหน้าที่ของ ทศท.ที่จะพิจารณาให้ได้

สิ่งที่ ทศท.สามารถทำได้คือ ร่างสัญญาเฉพาะในส่วนที่หน่วยงานตนเกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ลงทุนต้องไปต่อสู้เอาเอง

เงินประกัน 9,000 ล้านบาทได้รับการพิจารณาจากกรมอัยการแล้วว่า เป็นส่วนที่ ทศท.จะได้ กลุ่มซีพีก็ต้องก้มหน้าหาเงินมาลงทุนต่อไป cash flow projection ที่เคยเสนอไว้ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่หมด

มันอาจจะไม่ใช่เรื่องยากลำบากสำหรับมืออาชีพ

แต่สิ่งที่ยังเป็นเรื่องกวนใจมือโปรเจค ไฟแนนซ์ต่อไปคือ คราวหน้า ผลประโยชน์ประเภทนี้ต้องตัดทิ้งออกจาก cash flow projection ด้วยหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us