Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2533
สุชาติ ธาดาธำรงเวช ผู้สร้างภาพพจน์ใหม่ของซีพี             
 

   
related stories

ทำไมซีพีกล้าลงทุน ฮัลโหลแสนห้า

   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
Agriculture




รศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช กับกลุ่มซีพีหรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ ดูจะเป็นชื่อคู่กันที่เริ่มคุ้นเคยของประชาชนทั่วไปแล้วสำหรับวันนี้ ในฐานะที่สุชาติเป็นประธานสถาบันที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกลุ่มซีพี

กลุ่มซีพีนั้นนับเป็นกลุ่มธุรกิจด้านเกษตร โดยเฉพาะปศุสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของไทยและได้ขยายข่ายธุรกิจออกไปในสาขาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งธุรกิจอาหารสัตว์ ฟาร์มหมู ไก่ กุ้ง โรงเชือดไก่ รวมถึงพืชไร่ หรือธุรกิจสายอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเน้นสินค้าที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ หรือโรงงานของซีพีในนามของเจียไต๋ที่ชักชวนนักธุรกิจจีนมาลงทุนในไทย เช่น โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยมีบริษัทซีพี.อินเตอร์เทรด จำกัดเป็นผู้ดำเนินการ สายค้าปลีกส่งและจำหน่ายสินค้า ซึ่งเน้นธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตขายส่งขนาดใหญ่ อาทิ แมคโครและซูเปอร์มาร์เก็ตแบบคอนวีเนียนสโตร์ สายก่อสร้างและที่ดินซึ่งเน้นธุรกิจออฟฟิศให้เช่า สายปิโตรเคมีเน้นด้านอุตสาหกรรมพลาสติกประเภทพีวีซี รวมถึงสายงานโทรคมนาคม ด้วยการประมูลโทรศัพท์สามล้านเลขหมายทั่วประเทศ

กลุ่มซีพีได้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ติดอันดับท้อปเท็นของโลก มีมูลค่ายอดขายรวมมากถึงแสนล้านบาทจากการพัฒนาธุรกิจมาเพียง 20 กว่าเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนซึ่งเป็นเถ้าแก่อย่างธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานของกลุ่มซีพีนั้น สุชาติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "คุณธนินทร์เป็นคนที่สนใจเศรษฐกิจและการเมือง มีความเป็นนักวิชาการพอสมควร"

จากสายตาอย่างนี้นี่เอง เมื่อสุชาติได้รับการทาบทามจากธนินทร์ในฐานะเพื่อนักเรียน วปอ.ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 ด้วยกัน จึงทำให้สุชาติตอบรับที่จะทำงานร่วมกับธนินทร์ ในตำแหน่งใหม่ดังกล่าว โดยยังควบงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่

ตอนนั้นมีนักเศรษฐศาสตร์ร่วมรุ่นอยู่เพียงสองคน คนแรกคือสุชาติ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนี้

สุชาติเป็นนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในกลุ่มธุรกิจใหญ่อย่างซีพี หลังจากที่ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ นักวิชาการที่ได้ก้าวมาเป็นกรรมการ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้เป็นที่รู้จักและกว้างขวางในสังคมวิชาการเกษตรด้านปศุสัตว์

หากดูถึงประสบการณ์ของสุชาติ ถือได้ว่าเขาผ่านเวทีของเศรษฐศาสตร์โลกและงานวางแผนนโยบายมาแล้วระดับหนึ่ง….!

หลังจากสุชาติจบเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2518 แล้ว ก็ไปต่อปริญญาโทที่ The London School of Economics and Political School จากอังกฤษ และปริญญาเอกจาก McMaster University แห่งแคนาดาแล้ว ก็เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมถึงอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ นิด้า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ วปอ. ตลอดจนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลกช่วงปี 2527-2532

ปัจจุบัน นอกจากสุชาติจะเป็นที่ปรึกษาของซีพีแล้ว เขายังเป็นที่ปรึกษาของสำนักงบประมาณของธนาคารโลก และของ Asian Development Bank

ในช่วงที่สุชาติเรียน วปอ.อยู่นั้น เขาได้เสนอโครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคต และจากความเป็นนักเศรษฐศาสตร์นี่เองที่ทำให้สุชาติกล้าเสนอความเห็นอย่างตรงไปตรงมา

สุชาติมองว่า การบริหารทั้งธุรกิจและประเทศจะต้องดูทิศทางภาวะเศรษฐกิจ แล้ววางแผนเป็นช่วงๆ ขณะที่การบริหารการเมืองจะต้องแยกและกระจายอำนาจปกครอง และเก็บภาษีจากประชาชน แล้วคืนสู่ท้องถิ่นนั้นอย่างเหมาะสม ส่วนรัฐบาลจะต้องดูนโยบายใหญ่ แล้วนำมาประยุกต์ใช้อย่างอเมริกา มิใช่การต่อรองผลประโยชน์เหมือนทุกวันนี้

การเสนอความเห็นครั้งนี้ดูจะเป็นที่ถูกใจธนินทร์ซึ่งสนใจวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่

ขณะเดียวกันสุชาติเห็นว่า การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นั่นก็ดีอยู่ แต่หากมีหนทางที่จะกระจายความรู้ออกไปให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้นก็ยิ่งดีกว่า

"การแก้ปัญหาควรมองระยะยาว ประสบการณ์งานระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ทำให้เห็นภาพกว้างได้ชัดเจนว่า โลกแคบลงและแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมากขึ้น สำหรับส่วนตัว อายุก็มากขึ้นทุกที แต่ละวันจะหายไปเรื่อย จึงควรหาทางสร้างประโยชน์ให้มากที่สุด" สุชาติเล่าถึงเหตุจูงในที่ตกลงมาสร้างสถาบันที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกลุ่มซีพี

ยิ่งกว่านั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนโครงการใดโครงการหนึ่ง หากรู้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมย่อมจะทำให้เลือกตัดสินใจได้เหมาะสมกว่า

ความเข้าใจต่อภาวะเศรษฐกิจและวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารทุนของนักธุรกิจ

ดูเหมือนว่าที่ผ่านมา สุชาติพยายามที่จะใช้ภาษาง่ายๆ แบบชาวบ้านในการสื่อความหมายทางเศรษฐศาสตร์ เพราะเขาหวังว่าต่อไปนักลงทุนหรือคนที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจจะได้เข้าใจ จนไม่ต้องพึ่งนักเศรษฐศาสตร์ต่อไปในที่สุด

สำนักที่ปรึกษาฯ มีบทบาทในการเสนอภาวะและความเห็นเรื่องภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ประเทศอื่นหรือตลาดโลกในเชิงวิชาการ

ส่วนที่บางคนเข้าใจว่าสุชาติจะมีบทบาทซ้ำซ้อนกับอาชว์นั้น ความจริงเป็นคนละส่วนกัน สุชาตินั้นจะเน้นงานวิชาการเป็นหลัก ขณะที่อาชว์จะรับผิดชอบโครงสร้างการบริหารและการจัดระบบที่จะเข้ามารองรับองค์กร

สำหรับที่ซีพี สุชาติไม่เพียงแต่ต้องการสะท้อนภาพเศรษฐกิจรวมเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในโครงการของซีพี ไม่ว่าจะเป็นสายธุรกิจใดแล้ว แต่ยังมีความมุ่งมั่นอีกข้อหนึ่งก็คือ การสร้างภาพพจน์สถาบันที่ปรึกษาฯ

"เพราะฉะนั้น การทำงานของผมจึงทำในนามของสถาบันฯ และเราจะไม่ป้องกันผลประโยชน์ของกลุ่มซีพี แม้ว่าจะเป็นแง่ดีต่อประเทศก็ตาม แต่จะเน้นความเป็นกลางในการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจอย่างตรงไปตรงมา" สุชาติย้ำถึงหลักสำคัญของสถาบันที่ปรึกษาฯ

ระยะสั้น สุชาติในนามของสถาบันที่ปรึกษาฯ จะออกความเห็นด้านเศรษฐกิจในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศในอนาคต ส่วนระยะยาวจะพัฒนาให้สถาบันฯ เป็นออฟฟิศที่มีคุณค่าในภาพของการพูดเพื่อส่วนรวม อย่างน้อยก็เทียบเท่าสำนักวิชาการของธนาคารกรุงเทพ ที่พูดแล้วคนยอมรับ โดยจะเชื่อมกับ World Economics Forum

เฉพาะในองค์กรของซีพี ตำแหน่งของสุชาติจะบริหารงานโดยติดต่อกับธนินทร์โดยตรง ซึ่งนับว่ามีอิสระในการทำงานค่อนข้างสูง เนื่องจากงานของสุชาติเป็นงานภาพรวมของเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีลูกทีม ส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์จากรามคำแหงมาช่วยคนละไม้คนละมือ

กลุ่มซีพีภายใต้การนำของธนินทร์นั้น ด้านหนึ่งนั้นก็ดูเป็นสากล มีเครือข่าวธุรกิจอยู่ทั่วโลก ซึ่งจัดได้ว่าธนินทร์นั้นเป็นมือการตลาดและการค้าโดยตรงทีเดียว และอีกด้านหนึ่งก็ดูจะยังอยู่ในกรอบความคิดของเถ้าแก่คนจีนที่มุ่งความสัมพันธ์เฉพาะคู่ค้าเป็นหลัก และยังทำงานด้าน societal marketing อยู่

การที่ธนินทร์ดึงสุชาติเข้ามาช่วยงานซีพีด้วยการตั้งสถาบันที่ปรึกษาฯ ขึ้นมา ไม่เพียงแต่กลุ่มซีพีจะได้ประโยชน์จากการวิเคราะห์เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงภาพของความเป็นนักวิชาการของซีพี ซึ่งมิใช่เป็นแค่องค์กรธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อโกยกำไร ทว่ายังเป็นศูนย์กระจายข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศด้วย

กลุ่มซีพีนั้นมีข่ายธุรกิจโตขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างไกล จึงจำเป็นต้องสร้างองค์การที่เป็นข้อมูลกลางขึ้นมา ขณะที่สุชาตินั้นมีประสบการณ์และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรธุรกิจของโลก รวมถึงองค์กรเอกชน หน่วยราชการในไทยมาค่อนข้างหลากหลาย ทำให้สุชาติและธนินทร์มาพบกันครึ่งทางพอดี

สุชาติเลยกลายเป็นผู้สร้างภาพพจน์ใหม่ของกลุ่มซีพีไป ไม่ว่าสุชาติจะมีความตั้งใจอันนี้ก่อนหรือไม่ก็ตาม….!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us