|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดีแทคจับมือเมโทรซิสเต็มส์ผนึกไมโครซอฟท์ ใช้ BPS พัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน กระตุ้นการใช้งานลูกค้าองค์กรด้านการส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโครงข่าย GPRS/EDGE หวังตอกย้ำภาพความเป็นผู้นำด้านบริการข้อมูลหรือนอนวอยซ์
นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคให้ความสำคัญกับ GPRS มาตั้งแต่ปี 2002 พอมาถึง ปี 2003 พัฒนาให้ดีขึ้นครอบคลุมทั่วประเทศ และมาถึงปีนี้ได้เพิ่มเทคโนโลยี EDGE ลงไป 550 สถานีฐานทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ชลบุรี ระยอง อีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งเมื่อเทียบกับโอเปอเรเตอร์อื่นแล้ว ดีแทคมีความพร้อม GPRS ทั่วประเทศมากกว่า
จุดประสงค์ตอนนี้มุ่งลูกค้าองค์กร ซึ่งจะต้องอาศัยเรื่องการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านโครงข่าย GPRS และเทคโนโลยี EDGE เพราะการใช้งานด้านเสียง ถือเป็นเรื่องเบสิกอยู่แล้ว การเพิ่มรายได้จากลูกค้าองค์กรจะต้องมีด้านข้อมูลหรือนอนวอยซ์ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าองค์กรมี 5,000 ราย เป็นลูกค้าใช้ EDGE ประมาณ 1,000 บริษัท หรือ 20% และที่เหลือ อีก 80% เป็นการใช้ GPRS ประมาณ 4,000 บริษัท
นอนวอยซ์มีรายได้ประมาณ 5% จากรายได้ทั้งหมด แต่ปีหน้าเพิ่มมากกว่านี้ เลยมาจับมือกับศูนย์ BPS (Business Productivity Centre) ซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาแอปพลิเคชันให้ลูกค้าองค์กรใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
"ส่วนเรื่อง 3G เร็วเกินไป เพราะอย่างยุโรปมีแค่วางเครือข่าย แต่ยังไม่มีเครื่องลูกข่ายออกมา ถ้าจะทำจริงๆในไทย โอเปอเรเตอร์ควรร่วมกันลงทุน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ และควรให้กทช.เป็นคนกลาง ในอีก 3-4 ปีข้างหน้าเมืองไทยจะเกิดหรือไม่ก็ไม่รู้"
นายธวิช จารุวจนะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าบทบาท ไมโครซอฟท์เกี่ยวกับด้านซอฟต์แวร์ และอินฟราสตรักเจอร์ เมโทรฯ เป็นคนโพรวายด้านโซลูชัน ส่วนดีแทคมีจุดแข็งในเรื่องเครือข่าย ที่ผ่านมาศูนย์ BPS เป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆบนพื้นฐานไมโครซอฟท์ให้ลูกค้าองค์กรใช้งาน ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีโซลูชันด้านโมบายล์ เลย ใช้ได้แค่บนพีซีตั้งโต๊ะ
การร่วมมือกับดีแทคทำให้เกิดการพัฒนาเป็น โมบายล์โปรดักทิวิตี้ ซึ่งเกิดเป็น 3 แอปพลิเคชันในช่วงแรก คือ 1.Sales Force Automation ซึ่งช่วยให้สามารถสั่งสินค้า ตรวจสอบข้อมูล และประวัติลูกค้า และตรวจสอบสินค้า คงคลัง เพื่อทำการสั่งสินค้าในขณะ ที่อยู่นอกออฟฟิศ ทำให้เร่งการดำเนินการและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า
2. Mobile Collaboration ช่วยให้ผู้บริหารสามารถอนุมัติหรือปฏิเสธข้อเสนอจากพนักงานขายได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ด้วยกลไกการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างปลอดภัย และ 3. Business Intelligence จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานต่างๆ ในรูปแบบของตารางหรือกราฟิกจากในออฟฟิศ เพื่อเปรียบเทียบยอดขายหรือข้อมูลอื่นๆ
แอปพลิเคชันทั้งหมดจะทำงานบนแพลตฟอร์ม Windows Mobile Platform โดยช่วยให้ พ็อกเกตพีซี และสมาร์ทโฟนติดต่อ สื่อสารและทำงานได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ แต่ยังเชื่อมต่อระหว่างบุคคลและข้อมูลอีกด้วย Windows Mobile Platform ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้า โปรแกรม Microsoft Outlook ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถเช็กอีเมล ปฏิทินออนไลน์ และการ ติดต่ออื่นๆ
นายธวิชกล่าวว่าเมโทรฯจะมีประสบการณ์ด้านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันให้โอเปอเรเตอร์รายอื่นได้อีก ส่วนดีแทคเมื่อมีลูกค้าองค์กร ก็จะส่งมาที่ศูนย์นี้ ซึ่งลูกค้าองค์กรจะรู้ว่ามีแอปพลิเคชัน อะไรที่สามารถใช้ได้บนโทรศัพท์มือถือของดีแทคด้วย GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการสร้างตลาดร่วมกันในอนาคตก็จะมีแอปพลิเคชันต่างๆเกิดบนโมบายล์โปร-ดักทิวิตี้ มากมาย
นายสันติ เมธาวิกุล ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจโพสต์เพด ดีแทคกล่าวว่าการบุกลูกค้าองค์กรเพราะต้องการขยายการใช้งานนอนวอยซ์ และมองว่าโครงการนี้ไม่ได้เป็น การขยายฐานลูกค้า แต่เป็นการขยายการใช้งานของลูกค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ผ่านมา มีการใช้โครงข่าย GPRS กับ EDGE เพียง 4-5% เท่านั้น ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานตรงนี้จะเป็นการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน
"โครงการนี้จะส่งผลให้ดีแทค เป็นผู้นำด้านดาต้า"
จุดแข็งของดีแทคในเรื่องนอนวอยซ์คือการใช้เทคโนโลยีโนเกียเพียงรายเดียว ซึ่งเมื่อต้องการพัฒนาอะไรก็สามารถทำได้ดีขึ้น ส่วน EDGE ปีหน้า จะขยายมากขึ้นโดยดูพื้นที่ซึ่งลูกค้ามีความต้องการเช่นเมืองใหญ่ อย่างเชียงใหม่ แต่ไม่ต้องครอบคลุม ทั่วประเทศ เน้นจุดใช้งานอย่างแหล่งท่องเที่ยว ส่วน GPRS ในปี 2548 จะอัปเกรดคาปาซิตี้เพิ่มขึ้นไปอีก เนื่องจาก GPRS มีการใช้งานเพิ่มเดือนละ 20% เพราะมีการส่งรูปภาพมากขึ้น
สำหรับความเร็วในการ ส่งข้อมูลของ GSM ประมาณ 9- 10 Kbps ส่วน GPRS มีความ เร็ว 30-40 Kbps, EDGE ความเร็ว 150-170 Kbps (เร็วกว่า GPRS ประมาณ 4 เท่า) ส่วนระบบ CDMA-2000 1X มีความเร็ว 80-90 Kbps
นายแอนดรู แม็คบีน กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่าปัจจุบันคนใช้พีซี 4 ล้านเครื่อง ขณะที่คนใช้อินเทอร์เน็ต 6 ล้าน คน 80% ของข้อมูลอยู่บนพีซี และเป็นการใช้งานที่ถูกกักอยู่ บนเครื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น โดยโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ไร้สายจะเข้ามาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหาร และพนักงานสามารถนำข้อมูล ที่เดิมเคยอยู่แต่บนพีซีมาใช้งานได้
|
|
|
|
|