คราวที่แล้วผมได้เล่าถึงแบ็กกราวด์ ของระบบโฮมเธียเตอร์โดยรวม
เพื่อเป็น การเรียกน้ำย่อย คราวนี้ผมขอเจาะลึกอีก นิด ถึงเรื่องราวของอุปกรณ์โฮมเธียเตอร์
เพื่อให้ท่านได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่กำลังเป็นแนวโน้มของผลิตภัณฑ์โฮมเธียเตอร์
ที่กำลังจะผุดออกมา เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
ผมขอเริ่มเรื่อง ดังที่ได้กล่าวไว้ตอนที่แล้ว เทคโนโลยีอุปกรณ์แสดงภาพหรือ
Video Display Monitor ที่ทั่วโลกใช้กันมาตั้งแต่มีทีวีเครื่องแรกคือ จอภาพ
ที่ เรียกว่า CRT หรือ Cathode Ray Tube หลักการคือใช้ลำอิเล็กตรอน (Electron
Beam) ที่โฟกัสให้เป็นลำเล็กๆ วาดภาพบนจอกระจกที่เคลือบไว้ด้วยสารเรืองแสง
สารที่ว่านี้จะเรืองแสงเมื่อมีอิเล็กตรอนวิ่งมากระทบและจะสว่างอยู่เสี้ยวเวลาหนึ่งแล้วจึงดับ
แต่เดิมเครื่องรับโทรทัศน์เป็นระบบขาวดำ สารเรืองแสงจึงมีสีขาวสีเดียว ปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์เป็นระบบ
สี สารเรืองแสงจึงมีสามสีคือ สีแดง สี เขียว และสีน้ำเงินซึ่งเป็นแม่สีที่สามารถผสมเป็นสีใดๆ
ก็ได้ สารเรืองแสงทั้งสามสีจะถูกจัด เรียงเป็นกลุ่มหรือแถบในแนวตั้งสลับสีกันไปกระจายทั่วจอภาพ
การวาดภาพบนจอภาพ CRT มีวิธี การคือ ให้กลุ่มของลำอิเล็กตรอน (3 ลำ ลำละสี)
กวาดไปทั่วจอภาพอย่างเป็นระเบียบด้วยวิธีที่เรียกว่า Raster Scan โดย เริ่มจากมุมบนซ้ายสุดของจอภาพ
กลุ่มลำอิเล็กตรอนจะกวาด (Scan หรือ สแกน) จากซ้ายไปขวาจนถึงขอบจอด้านขวาสุด
ระหว่างทางของการกวาดถ้าต้องการให้บริเวณใดมีสีใดสว่างขึ้น ก็ให้ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในลำอิเล็กตรอนประจำสีนั้นๆ
มีความหนาแน่นขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้จุดกระทบ ที่เป็นสารเรืองแสงสีนั้นๆ มีความสว่างขึ้น
เมื่อถึงขอบจอขวาสุดลำอิเล็กตรอนก็จะลดความหนาแน่นลงและจะวิ่งกลับมาที่ซ้ายสุดของขอบจออย่างรวดเร็ว
(โดยไม่มีการวาดภาพ) เพื่อเริ่มกวาดเส้นถัดลงมาจากซ้ายไปขวาอีก เป็นเช่นนี้จนถึงส่วนล่างสุดของจอ
ภาพ ถึงตรงนี้จุดสีทั้งสามสีที่กระจายอยู่ทั่วจอภาพ ที่มีความสว่างมากน้อยผสมกันไประหว่างที่กลุ่มของลำอิเล็กตรอนกวาดผ่านจะประกอบเป็นภาพเต็มจอภาพ
จากนั้นกลุ่มของลำอิเล็กตรอนก็จะวิ่งวกกลับไปเริ่มต้น "กวาดเพื่อสร้างภาพใหม่"
ที่มุมบนซ้ายสุดของจอภาพด้วยกระบวนการที่กล่าวมาอีกรอบ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปกลายเป็นภาพต่อเนื่องจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ตาม
ที่กล่าวมาคือ หลักการทำงานของ Raster Sc ก็เหมือนกับการฉายภาพยนตร์ ภาพที่เราเห็นเคลื่อนไหวได้
เกิดจากภาพนิ่งจำนวนมากมีการเปลี่ยน แปลงทีละน้อย เมื่อนำมาฉายต่อเนื่องกันในอัตรา
24 ภาพต่อวินาทีก็จะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ในระบบทีวี ใช้การสร้างภาพจากวิธี
Raster Scan แทน การฉายภาพจากฟิล์ม สร้างเป็นภาพ 25 ภาพต่อวินาที ในระบบ
PAL หรือ 30 ภาพ ต่อวินาทีในระบบ NTSC แม้ความเร็วในการฉายภาพยนตร์จากฟิล์ม
24 ภาพต่อวินาทีนั้นเพียงพอต่อการรับชมโดยไม่รู้สึกสะดุดหรือเห็นภาพกะพริบ
แต่การสร้างภาพบนจอโทรทัศน์ด้วยวิธี Raster Scan ในอัตราความเร็ว 25 ถึง
30 ภาพต่อวินาที ผู้ชมยังเห็นภาพมีการกะพริบ เมื่อพบปัญหานี้วิศวกรหัวใสผู้พัฒนาระบบโทรทัศน์จึงคิดค้นระบบที่เรียกว่า
Interlaced Scan คือจะแบ่งการสร้างภาพบนจอเป็น 2 ภาพสลับกัน ท่านลอง นึกถึงการทำงานของ
Raster Scan ที่กล่าวมาแต่สแกนเส้นเว้นเส้น เที่ยวแรกสแกนเฉพาะ "เส้นคี่"
จนเต็มจอ จากนั้น จึงสแกน "เส้นคู่" (สแกนเส้นเว้นเส้น จากบนมาล่าง) จนเต็มจอก็จะได้ภาพที่มีรายละเอียดเต็มภาพเหมือนการสแกนทั้งภาพในครั้งเดียว
การสร้างภาพด้วยวิธีนี้จะความถี่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคือ 50 ภาพต่อวินาทีในระบบ
PAL และ 60 ภาพต่อวินาที แน่นอนความพอใจของมนุษย์ไม่ได้หยุดอยู่ที่แค่ยอมรับได้โดยเฉพาะสายตาหาเรื่องของพวกวิดีโอ
ไฟล์ทั้งหลาย ข้อดีของ Interlaced Scan คือ ลดการกะพริบของภาพ แต่มีข้อเสียคือ
การที่ภาพถูกแบ่งเป็นการสแกนสองครั้งทำให้รายละเอียดของภาพลดลง เพราะการสลับสแกนเส้นคู่และคี่ของภาพไม่สามารถประสานให้เป็นเนี้อเดียวกันได้สมบูรณ์
เนื่องจากเป็นการสแกนคนละครั้ง ไม่นานมานี้มีการนำเทคนิคที่เรียกว่า Scan
Line Double ช่วยในการสร้างภาพบนจอโทรทัศน์ร่วมกับการนำภาพระบบ Interlaced
(ในรูปของสัญญาณวิดีโอ) มาประมวลผลด้วย ระบบดิจิตอลเพื่อสร้างภาพให้เติมภาพแทนการสแกนเส้นคี่หรือเส้นคู่
ผลคือระบบที่เรียกว่า Progressive Scan ด้วยอัตรา 50 ภาพ ต่อวินาทีในระบบ
PAL หรือ 60 ภาพต่อวินาที ในระบบ NTSC ความจริงวิธีการสร้างภาพแบบ Progressive
Scan หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Non-Interlace มีใช้กันทั่วไปในจอ ภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์มานานแล้ว
ด้วยเหตุที่จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง
เทคนิค Progressive Scan เป็นวิธีการง่ายๆ ในการเพิ่มคุณภาพของภาพให้ดูดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถลดริ้วรอยของเส้นสแกนในแนวนอนบนจอขนาดใหญ่อย่างได้ผล
โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของระบบสัญญาณวิดีโอ และยังสามารถประยุกต์ ใช้กับสัญญาณทีวีปกติได้ด้วย
นอกจากนั้นระบบ Progressive Scan ยังมีส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อไปสู่เทคโนโลยีระบบ
HDTV (High Definition TV) ในอนาคตได้ด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างโรงภาพยนตร์ส่วนตัวระดับวิดีโอไฟล์ ผมขอ แนะนำว่าท่านควรหาเครื่องเล่น
DVD ที่สามารถสร้างภาพในระบบ Progressive Scan ซึ่งก็ต้องใช้งานร่วมกับจอภาพที่รองรับระบบ
Progressive Scan ด้วย ปัจจุบันระบบ Progressive Scan ยังคงเป็น "ของแพง"
ที่จะบรรจุอยู่ในเครื่อง DVD หรืออุปกรณ์แสดงภาพรุ่นสูงราคา แต่คาดว่าในไม่ช้าระบบ
Progressive Scan จะกลายเป็น "มุก" มาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องเล่น DVD และอุปกรณ์แสดงภาพที่จะผลิตออกมาในราคาที่ถูกลง
ความจริงผมไม่ได้เจตนาจะเขียนตำรา แต่ด้วยเหตุที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลายได้เห็นเบื้องหลังการทำงานของเทคโนโลยี
ที่จะเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้ออุปกรณ์มาสร้างโรงภาพยนตร์ในฝันของท่านและของผม
คราวหน้าผมจะคุยถึงเรื่องของเสียงของระบบโฮมเธียเตอร์ แล้วพบกันครับ