Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 พฤศจิกายน 2547
กสิกรฯลุยลูกค้ารายย่อย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Retail Banking




เปิดแผนธุรกิจ "กสิกรไทย" ปีหน้า หันหัวเรือหากลุ่มลูกค้ารายย่อยเพิ่ม พร้อมตั้งบริษัทลีสซิ่งภายในไตรมาส 1 หวังผงาดเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (ยูนิเวอร์แซลแบงก์) สอดรับมาสเตอร์แพลนของ ธปท. ดันสัดส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการทำแผนธุรกิจในปี 2548 ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการให้บริการลูกค้ารายย่อย (รีเทล) มากขึ้น จากที่ก่อนหน้ายังไม่สามารถขยายฐานลูกค้ารีเทลได้มากนัก เมื่อเทียบกับศักยภาพของธนาคารที่สามารถขยายฐานลูกค้ารายย่อยได้อย่างครอบคลุม เพื่อสร้างรายได้ให้กับธนาคาร นอกเหนือจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากดอกเบี้ย "แม้หลายแบงก์จะหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้ารีเทล แต่เราเชื่อมั่นว่าศักยภาพของเราสามารถที่จะทำได้ และที่สำคัญกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก"

สำหรับการทำธุรกิจของธนาคารในช่วงต่อไป จะเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (ยูนิเวอร์แซล แบงก์) สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เปิดทางให้ธนาคารสามารถทำธุรกิจได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ในอนาคตการให้บริการของธนาคารจะมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายประกันผ่านธนาคาร (แบงก์แอสชัวร์รัน) การขายผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ ผ่านช่องทางของสาขา และธนาคารเตรียมที่จะตั้งบริษัทลีสซิ่ง ที่ธนาคารถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดยเป็นการตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อให้บริการลีสซิ่ง ซึ่งจะช่วยหนุนรายได้ให้กับธนาคารมากขึ้น โดยการให้บริการผ่านช่องทางเครือข่ายสาขาของธนาคาร โดยคาดว่าไตรมาสแรกของปี 2548 จะสามารถจัดตั้งขึ้นได้

"การที่ธนาคารมีแผนที่จะเปิดตัวบริษัทลีสซิ่ง ก็เนื่องจากมองเห็นโอกาสทำธุรกิจ หลังจากที่ธปท. เปิดทางให้สามารถทำได้ จากเดิมที่มีข้อจำกัดตามกฎหมายธปท.มาตรา 12 (5) ที่ห้ามธนาคารพาณิชย์ ถือหุ้นในธุรกิจอื่นเกิน 10%"

นายประสารกล่าวว่า ในปี 2548 ธนาคารจะให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อยมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ โดยปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้ารายย่อยประมาณ 50% เมื่อเทียบกับลูกค้ารายใหญ่ ขณะที่ที่มาของรายได้ของธนาคารในปัจจุบันมาจากรายได้จากดอกเบี้ย 50% และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย 50%

ทั้งนี้ ในส่วนของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่มีสัดส่วนสูงถึง 50% แบ่งออกเป็นกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุน กำไรที่เกิดขึ้นจากการค้าเงิน และรายได้จากค่าธรรมเนียม โดยในส่วนนี้กว่า 70% มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากค่าธรรมเนียมไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมต่างๆ การออกตราสารอนุพันธ์ หรือการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (อินเวสต์เมนต์ แบงก์)

"แผนในปีหน้าธนาคารตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากการหาค่าธรรมเนียมมากขึ้น เพราะแนวโน้มรายได้ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในปี 2548 มีแนวโน้มลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวลดลง"

สำหรับพอร์ตสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทย ในปัจจุบัน มีสินเชื่อประมาณ 5.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นลูกค้าขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่ามีการกระจายความเสี่ยงพอสมควร

นายประสารกล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2548 ว่า คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวลดลง เมื่อเทียบกับปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกของไทยจะขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีนี้ที่การส่งออกทั้งปีขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 20% โดยปีหน้าการส่งออกจะอยู่ที่ 8-9% เท่านั้น

ขณะที่การบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะขยายตัวลดลง เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ขณะเดียวกันการลงทุนของภาคเอกชนในปีหน้าคาดว่าจะชะลอตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีนี้

นายประสารกล่าวว่าคงต้องจับตาสัญญาณ การใช้กำลังการผลิตของภาคเอกชนให้ใกล้ชิด เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องจะทำให้เห็นชัดเจนว่าการลงทุน ของภาคเอกชนมีโอกาสลดลงในปีหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us