Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545
เมื่อแบงก์ชาติต้องรับบทหลักในการฟื้นเศรษฐกิจ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ลำดับเหตุการณ์ การผ่อนคลายนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย




ตัวเลขงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2546 จำนวน 1 ล้านล้านบาท ที่มีการลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณลงมาเหลือ เพียง 175,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายปี 2545 จำนวน 1.023 ล้านล้านบาท และขาดดุล 2 แสนล้านบาท นอกจาก จะบ่งบอกถึงความวิตกกังวลต่อตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลแล้ว ยังมีความหมายว่าต่อไปนี้ นโยบายการคลังจะไม่ใช่ยาหลักที่จะนำมาฉีดให้คนไข้ในการฟื้นเศรษฐกิจอีกต่อไป

การลดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณลง แสดงให้เห็นว่าหลังจากนี้การอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐเพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่ง เริ่มกระทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประเทศเข้าสู่วิกฤติในปี 2540 กำลัง จะถูกลดบทบาทลงไป และนำไปสู่การทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต

ยาหลักในช่วงต่อจากนี้ จึงจำเป็นต้องใช้พลังจากภาคเอกชน ทั้งจากการลงทุน และการบริโภค ให้เป็นตัวขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจ ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง

แต่พลังจากภาคเอกชน จำเป็นต้องได้รับการเกื้อหนุนจากนโยบายการเงินที่จะต้องผ่อนคลายความเข้มงวดลง ดังนั้นตั้งแต่ช่วง ปลายปี 2544 เป็นต้นมา การดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติได้เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แตกต่างจากช่วงที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ามารับตำแหน่ง ผู้ว่าแบงก์ชาติใหม่ๆ มีนโยบายค่อน ข้างเข้มงวด เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทและ ทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามการใช้นโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผล

แม้ว่าที่ผ่านมากลไกภาครัฐทุกส่วนจะพยายามออกข่าวในแง่บวก เพื่อหวังผลทางจิตวิทยาให้คนเกิดความมั่นใจมากขึ้น แต่การที่ภาค เอกชนจะตัดสินใจเพิ่มการลงทุน จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายส่วนมาประกอบ

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการสอดประสานกันระหว่างแบงก์ชาติผู้กำกับนโยบายกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องทำหน้าที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบแทนรัฐบาล

การผ่อนคลายนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ ทั้งการลดอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรือการคลายกฎการตั้งสำรองสำหรับ หนี้จัดชั้น ดูเหมือนจะได้รับการตอบสนองจากธนาคารพาณิชย์ไม่มาก เท่าไรนัก

น่าเชื่อว่าอีกไม่นาน แบงก์ชาติคงจะมีมาตรการอื่นๆ ที่จะนำ ออกมาใช้อีก

บทบาทของแบงก์ชาติช่วงหลังจากนี้ เป็นเรื่องน่าติดตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us