Women hold up half the sky" นี่คือ คำประกาศของประธานเหมาเจอตุงที่ยอมรับว่า
สตรีค้ำจุนโลกครึ่งหนึ่ง
5 มีนาคม ถือเป็นวันสตรีสากล ธรรม ชาติไม่มีกฎแบ่งแยกชายหญิง แต่คนโง่มักอยู่ใต้ภาพลวงของกฎเกณฑ์สังคม
ไม่มีเหตุผลตายตัวว่า ทำไมผู้หญิงจึงเลือกทำสิ่งนั้นแทนสิ่งนี้ไม่ได้ ถ้าเธอมีศักยภาพและมีวิญญาณ
ขบถ อย่างเช่น จินตนา กองแก้ว แกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด
แต่ในโลกของอำนาจและเงินทุกวันนี้ ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์ฝัน ทุกฝันมีราคาที่ต้องจ่าย
การดิ้นรนของสตรีชั้นสูงบางคนในสังคมไทยอาจจะมีเกียรติและมีความน่านับถือน้อยกว่าโสเภณีเสียอีก
หรือในความสำเร็จของผู้ชายบางคน ผู้หญิงที่อยู่เบื้องหลังมักเป็นสตรีหมาย
เลขหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่อย่างผู้บงการ อยากเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นั้น
โดยสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวคนมากเท่ากับความขัดแย้งทางชนชั้น
เมื่อสำรวจสภาวะผู้นำสตรีไทยในนิตยสารผู้จัดการ ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า
ปริมาณประสบการณ์ของผู้หญิงเก่งที่ขึ้นปก มีน้อยมากๆ นับไม่ถึงห้า ท่ามกลางนักธุรกิจสตรีผู้มีชื่อเสียงนับสิบที่มีตระกูลดังต่อท้าย
แต่พวกเธอต่างเป็นได้แค่ตัวประกอบฉากธุรกิจที่ส่วนใหญ่อยู่ในมือของสามีหรือบิดา
สตรีคนแรกที่ขึ้นปกนิตยสาร ผู้จัดการ คือ "ชม้อย ทิพย์โส วีรสตรีหรือ
ซาตาน" เขียนโดย อภิชาติ ชอบชื่นชม และสนธิ ลิ้มทองกุล (ฉบับที่ 24
สิงหาคม ปี 2528) ที่เจาะลึกเบื้องหลังของเจ้าแม่แชร์ผู้ฉ้อโกงระดับชาติที่ยิ่งใหญ่
ที่สุดในเวลา 1 ปี 9 เดือนแห่งมรสุมและความตอแหลชนิดไม่อายฟ้าอายดินตั้งแต่ปี
2526
น่าสังเกตว่า สภาวะผู้นำสตรีไทยส่วนใหญ่ต้องมีบทบาทในเชิง "เจ้าแม่" ที่รู้จักใช้
ผู้หลักผู้ใหญ่ สร้างบารมีและอิทธิพลคุ้มครองธุรกิจ ส่วนใหญ่ยังอิงการดำเนินธุรกิจในโมเดลระบบอุปถัมภ์แบบเก่าๆ
มีน้อยคนนักที่จะกล้าขบถหรือมีความรู้สึกเชิงทำลายสิ่งเก่า สร้างสิ่งใหม่
เพื่อต้องการพิสูจน์ชัยชนะ
ในฉบับที่ 55 เดือนเมษายน 2531 ถือเป็นฉบับที่เขียนถึงผู้นำสตรีธุรกิจมากที่สุด
ตั้งแต่เรื่องปก "สมบัติพรประภา คนนอกห้ามยุ่ง" ซึ่งเกี่ยวกับคุณหญิงพรทิพย์
ณรงค์เดช ส่วนในฉบับ เรื่อง "สริยา-ประภา-ชนัตถ์ ม่ายเหล็กพันล้าน" เขียนโดย
ธนธรณ จันทรนิมิ
ชีวิตของท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย เริ่มต้นด้วยโรงแรมและนี่คือ ที่ที่เธอจะจบลง
นั่นคือ อยู่ท่ามกลางธุรกิจโรงแรม มันเป็นทางออกเดียวของความใฝ่ฝันของเธอที่ทุ่มเทชีวิตให้
ขณะที่ชีวิตและงานของประภา วิริยะประไพกิจ เป็นสตรีเหล็กแห่งสหวิริยากรุ๊ปที่ถีบตัวเองจากสะใภ้ร้านขายเหล็กเลี่ยงเซ่งฮวด
มาเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจในเครือกว่า 25 บริษัท ซึ่งต้องประสบปัญหาเข้าแผนฟื้นฟูขณะนี้
ส่วนชีวิตของม่ายสาวพราวเสน่ห์อย่าง สริยา ภริยาของซอ สิวายุ เจ้าของผลิตภัณฑ์นมตรามะลิ
ได้รับมรดกธุรกิจนับพันล้านบาท เช่น บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย
ม่ายเศรษฐีนีพันล้านข้างต้นนี้ เป็นคนที่รู้จักค่าของตัวเองได้ดี และทนไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าตัวเอง
ทำได้แค่ "เมีย" และ "แม่" ทั้งๆที่เธอมีศักยภาพทำได้มากกว่านั้น ด้วยการเหวี่ยงตัวเองเข้ามาต่อสู้แข่งขันในโลกของผู้ชายที่วัดขนาดของหัวใจกันด้วยเงินและอำนาจ
ผู้หญิงเจ้าปัญญาเหล่านี้แหกคอกชะตากรรมที่เธอไม่ได้เลือกไว้ได้อย่างชาญฉลาด
แต่บางคนโชคร้ายที่ใช้ปัญญาไปทางเสื่อม เช่นเดียวกับปกเรื่อง "นิตยา วัชรพันธุ์"
(ฉบับที่ 152 พฤษภาคม 2539) เจ้าแม่ไพรเวทแบงกิ้งของแบงก์กรุงเทพ ซึ่งติดคุกในข้อหาฉ้อโกงเงิน
266 ล้านบาท ในปี 2539
นานมากแล้วที่สังคมธุรกิจไทยขาดผู้นำ สตรีประเภท Newcomer ที่มีบทบาทชี้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังสร้างสรรค์
สไตล์ และสิ่งที่สตรีส่วนใหญ่ค้นหาที่ล้วนแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงจากสตรีรุ่นเก่า
ตื่นเถิด..สังคมยังต้อง การ woman on the top มากกว่านี้ !